อยากเป็นเจ้าของ 4 แบรนด์ดัง ร้านสตรีทฟู้ด ตะหลิว , กระทะเหล็ก , เขียง ,อร่อยดี
ร้านสตรีทฟู้ด กลายเป็นโมเดลธุรกิจที่ธุรกิจใหญ่ต้องการเข้ามาแชร์ตลาดนี้ที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 3.4 แสนล้านบาท มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 5-6% ต่อปี จึงมีผู้เล่นรายใหญ่ในเวทีนี้มากมายทั้ง ZEN กับร้านเขียง , CRG กับร้านอร่อยดี และยังมี ตะหลิว ของ เชสเตอร์ฟู้ด (ในเครือCPF)
รวมถึง กระทะเหล็ก ในเครือธุรกิจห้าดาว ของบริษัท ซีพีเอฟเรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน จำกัด มองในแง่ของผู้บริโภคการแข่งขันเช่นนี้ผลดีคือคุณภาพและบริการ รวมถึงสินค้าที่หลากหลาย แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือในแง่ของการแข่งขันด้านการขยายตลาดที่เน้นรูปแบบแฟรนไชส์เป็นหลัก
ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com มั่นใจว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังตัดสินใจไม่ถูกว่าแบรนด์สตรีทฟู้ดเหล่านี้มีจุดดี จุดเด่นที่น่าสนใจอย่างไร และหากต้องการเป็นเจ้าของกิจการจะเลือกแบรนด์ไหนมาลงทุนดี
1.เขียง
ภาพจาก https://bit.ly/3HTIO97
บริหารงานโดยบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ Zen Group จุดเริ่มของ “เขียง” มาจากความต้องการแตกไลน์ให้หลากหลายยิ่งกว่าเดิม เพราะร้านกว่า 95% ของ Zen Group อยู่ในห้างสรรพสินค้า ทำให้เจอปัญหาด้านการลงทุนที่ค่อนข้างสูงในแต่ละแบรนด์ ค่าเช่าที่ค่อนข้างสูงในทุกทำเล การสร้างแบรนด์ “เขียง” จึงมุ่งเน้นที่จะลดเงินลงทุน ลดต้นทุนค่าเช่า และที่สำคัญคือต้องการเพิ่มรายได้จาก เดลิเวอรีให้มากขึ้น เริ่มขายแฟรนไชส์ครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2561
ความน่าสนใจของ “เขียง” คือชูความเป็นแบรนด์สตรีทฟู้ดที่จับเอาเมนูง่ายๆ มาทำใหม่ให้น่าสนใจ เป็นเมนูใกล้ชิดคนไทยที่เข้าถึงได้ง่าย เช่นข้าวผัดกระเพรา , ข้าวผัด , ซีอิ๊ว เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าศักยภาพของ Zen Group คือเครื่องหมายการันตีถึงความเป็นมืออาชีพดึงดูดให้นักลงทุนสนใจได้อย่างดี เพราะมีประสิทธิภาพอย่างครบวงจรทั้งเรื่องทำเลที่ตั้ง การฝึกอบรมสำหรับพนักงาน ทีมงานที่พัฒนาสินค้าและการตลาด
ภาพจาก https://bit.ly/3HTIO97
ผู้ลงทุนมีหน้าที่ในการดูแลร้านเป็นสำคัญ จึงทำให้แบรนด์เขียง แม้เพิ่งเปิดตัวไม่นานแต่ก็ได้รับความนิยมสูงมาก และในการแพร่ระบาดโควิดที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ “เขียง” ได้อย่างดีโดยผู้ลงทุนแทบจะไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วยความที่ร้านตั้งอยู่นอกห้าง ไม่ว่าจะเป็นปั๊มน้ำมัน ศูนย์อาหาร และอาคารพาณิชย์หน้าหมู่บ้านต่างๆ ทำให้ยังคงมียอดขายที่สม่ำเสมอจากเดลิเวอรี ที่เป็นหัวใจหลักในการทำตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้ลงทุนมากขึ้น
ปัจจุบันเขียงมีสาขาทั่วประเทศกว่า 105 แห่ง ( ณ ตุลาคม 2564) ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 600,000 บาท งบลงทุนประมาณ 1-2 ล้านบาท
2.ตะหลิว
ภาพจาก www.facebook.com/TALIEWTH/
แบรนด์แฟรนไชส์สตรีทฟู้ดที่บริหารงานโดยบริษัท เชสเตอร์ฟู้ด จำกัด ในกลุ่มบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดขายแฟรนไชส์ครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 โดยตะหลิวได้วางจุดยืนเน้นที่เมนูอาหารตามสั่ง เมนูอาหารไทยยอดนิยมอย่างข้าวผัดกะเพรา ผัดมาม่า ต้มยำ และเมนูเส้น เพื่อเน้นให้เข้าถึงไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ได้มากขึ้น
ความน่าสนใจของตะหลิวคือการคิดค้นสูตรเฉพาะ ใช้วัตถุดิบหลักคุณภาพพรีเมียม สด สะอาด ได้มาตรฐาน และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้มีการลงทุนใน 3 รูปแบบคือ ร้านขนาดเล็กในฟู้ดคอร์ท เช่นโรงพยาบาลศิริราช และคลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา , ร้านแบบมีที่นั่ง เช่นศูนย์การค้าอิมพีเรียล สำโรง และโลตัส สาขาพระราม 4
ภาพจาก www.facebook.com/TALIEWTH/
และที่สำคัญคือการลงทุนในระบบ Cloud Kitchen ที่เน้นทำอาหารเพื่อส่ง Delivery โดยเฉพาะ ถือเป็นการรุกตลาดร้านสตรีทฟู้ดขึ้นห้าง อย่างจริงจังด้านราคาของร้านตะหลิวจะเริ่มต้น 60 บาท และมีโปรโมชั่นตามเวลาที่เหมาะสมโดยแผนภายใน 2-5 ปีตั้งเป้าจะขยายสาขาให้ครบ 300 แห่งทั่วประเทศ
ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศกว่า 8 แห่ง (ณ กุมภาพันธ์ 2565) ใครที่สนใจเรื่องค่าแฟรนไชส์หรืองบในการลงทุนสามารถติดต่อสอบถามกับทางแฟรนไชส์ได้โดยตรง
3.กระทะเหล็ก
ภาพจาก www.facebook.com/ironpanofficial/
ธุรกิจในเครือธุรกิจห้าดาว ของบริษัท ซีพีเอฟเรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน จำกัด เริ่มขายแฟรนไชส์ครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฏาคม 2562 ที่ ชั้น G อาคาร CP Tower 3 จุดเริ่มต้นของกระทะเหล็กคือต้องการตอบโจทย์กลุ่มคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เป็นการพัฒนาธุรกิจเพื่อสร้างอาชีพให้กับคนไทย ยิ่งในยุคนี้หลายคนต้องการเป็นนายตัวเอง อยากมีกิจการ ซึ่งอาหารสตรีทฟู้ดคือสินค้าขายง่าย ขายดี ยิ่งมีระบบบริหารจัดการที่ดีโอกาสคืนทุนไว กำไรเร็วก็ยิ่งมากขึ้น
ความน่าสนใจของกระทะเหล็กคือประสบการณ์ในการบริหารงานของบริษัทที่นานกว่า 30 ปีมีความเป็นมืออาชีพ มีฐานลูกค้าของตัวเองจำนวนมาก จึงทำให้มีความพร้อมในการสนับสนุนด้านการบริหารจัดการร้าน การจัดส่งสินค้าและวัตถุดิบ พัฒนาเมนูใหม่ๆ รวมทั้งการสื่อสารกับผู้บริโภค และการส่งเสริมและพัฒนาการขายบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ
ภาพจาก www.facebook.com/ironpanofficial/
โดยตัวร้านเป็นรูปแบบนั่งรับประทาน สั่งซื้อกลับบ้าน และเดลิเวอรี่จุดเด่นของร้านกระทะเหล็ก คือ เป็นรูปแบบ Restaurant นั่งรับประทาน เน้นพื้นที่หลัก เช่น อาคารออฟฟิศ สถานที่ชุมชน และโรงพยาบาล ยกระดับสตรีทฟู้ดให้เป็นมีความพรีเมี่ยมในราคาอาหารตามสั่งเมนูน่าสนใจเช่น ข้าวกะเพราเอ็นฮ่องเต้, ข้าวกะเพราเป็ดย่าง, ข้าวผัดฉ่าปลากะพง, ข้าวปลากะพงคั่วพริกเกลือ เป็นต้น
ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศกว่า 12 แห่ง (ณ กุมภาพันธ์ 65) ใครที่สนใจเรื่องค่าแฟรนไชส์หรืองบในการลงทุนสามารถติดต่อสอบถามกับทางแฟรนไชส์ได้โดยตรง
4.อร่อยดี
ภาพจาก www.facebook.com/CRGAroiDeeRestaurant/
อีกหนึ่งธุรกิจในเครือของ CRG บริษัทเซ็นทรัลเรสเตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด ที่มีแนวคิดต้องการส่งมอบสินค้าคืออาหารสตรีทฟู้ดให้คนไทยรับประทานในรสชาติอร่อย อิ่มครบ จบทุกความต้องการ เริ่มขายแฟรนไชส์ครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม 2562 เมนูน่าสนใจเช่น ผัดกระเพรา , ข้าวผัดรถไฟ , โจ๊ก และมีการดึงสตรีทฟู้ดแบรนด์อื่นมาร่วมขายด้วย คือโจ๊กกองปราบ , โตเกียวโบวล์ , เจ๊เกียงหมูทอด เพิ่มความหลากหลายให้น่าสนใจมากขึ้น
ภาพจาก www.facebook.com/CRGAroiDeeRestaurant/
ความน่าสนใจของอร่อยดีแฟรนไชส์ที่เน้นความสะดวก สะอาด รวดเร็ว และราคาเข้าถึงมีระบบบริหารจัดการโดยทีมงานมืออาชีพที่เป็นจุดแข็งให้ผู้ลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการตลาดออนไลน์เพื่อโอกาสในการเพิ่มรายได้ของผู้ลงทุน
และที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือความแข็งแกร่งของเหล่าพันธมิตรที่เอื้อประโยชน์ในการขนส่ง และมีเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ ที่ช่วยแฟรนไชส์ซีสามารถแข่งขันกับแบรนด์อื่นได้ ยังไม่นับรวมเรื่องฐานลูกค้าของเครือ CRG ที่มีจำนวนมาก ทีมงานการตลาดที่กระตุ้นยอดขายได้ตลอดเวลา ถือเป็นแบรนด์ที่ฮิตและอยู่ในภาพจำของคนไทย ทำให้การลงทุนกับอร่อยดีมีโอกาสเติบโตได้มาก
ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศกว่า 33 แห่ง (ณ สิงหาคม 64)
ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 400,000 บาท งบลงทุนประมาณ 1.3 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า 4 ร้านสตรีทฟู้ด ต่างก็มีจุดเด่นในตัวเองที่น่าสนใจ และทุกแบรน์ต่างมีฐานลูกค้า มีทีมงานมืออาชีพ มีประสบการณ์ที่พร้อมดูแลผู้ลงทุนเป็นอย่างดี สำหรับคนที่มองหาโอกาสและช่องทางในการลงทุน ควรเลือกแบรนด์ที่เหมาะสมกับตัวเอง สิ่งสำคัญคือการทำธุรกิจอย่างขยันและตั้งใจ รวมถึงควรมีการพัฒนาช่องทางออนไลน์ร่วมด้วยจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3oC31bW , https://bit.ly/3Bb7CHf , https://bit.ly/3rJ4vD2 , https://bit.ly/3GJZ4YO
อ้างอิงจาก https://bit.ly/34WYsCf
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)