อยากมีเงินเก็บ มันยาก! ออมเงินแบบไหน ถึงจะพอใช้จริงๆ!
คำว่า “พอใช้” ของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนอยู่ตัวคนเดียวไม่ต้องรับภาระอะไรรายจ่ายก็น้อย แต่บางคนครอบครัวใหญ่ค่าใช้จ่ายก็มาก แต่สิ่งที่ www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าทุกคนในยุคนี้มีเหมือนกันคือปัญหาเรื่อง “การออม” มีทฤษฏีการออมมากมายที่ให้เราศึกษา
แต่สุดท้ายมันก็กลายเป็นแค่ตำราเพราะบางทีเอามาใช้จริงไม่ได้ ยิ่งยุคเงินเฟ้อแบบนี้ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่นอกจากเก็บออมเพิ่มไม่ได้ ยังต้องเอาเงินที่เก็บไว้ออกมาใช้อีกด้วย คำที่ว่าเก็บเงินมันเรื่องยาก จึงสมเหตุสมผลและทุกคนก็เข้าใจ แต่เราก็เชื่อว่าทุกคนก็ยังอยากรู้เหมือนกันว่าจะมีการออมเงินแบบไหนไหม ที่นำมาใช้ได้จริงและพอใช้จริงๆ ในยุคนี้
ตั้งเป้ากับตัวเองก่อนว่ามีเงินแค่ไหนถึงจะเรียกว่า “พอใช้”
ก่อนจะไปคิดเก็บเงินต้องตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่าสำหรับเราเงินแค่ไหน “ถึงจะพอใช้” บางคนครอบครัวรายได้รวมของสามีภรรยาประมาณ 30,000 บาท แต่มีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเรียนลูก ค่าน้ำมันในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในครอบครัว รวมๆ แล้วไม่ต่ำกว่า 30,000 ต่อเดือน
นั่นเท่ากับว่าไม่ต้องพูดถึงเงินออม เพราะแค่ใช้ให้พอเดือนก็ยากเต็มที หรือใครที่อาจมีรายได้ที่สูงกว่านี้ แต่บางทีก็มีรายจ่ายที่สูงตามด้วย หรือในบางกลุ่มที่รายได้น้อยกว่านี้แต่มีค่าใช้จ่ายมาก ก็เรียกว่าเดือนชนเดือนเหมือนกัน เพราะฉะนั้นไม่ต้องคิดถึงเรื่อง “เงินเก็บ” เพราะมันยากจริงๆ
จึงเป็นที่มาของการตั้งเป้าหมายให้กับตัวเองว่าอยากมีเงินแค่ไหนเมื่อถึงช่วงอายุหนึ่ง ที่จะทำให้ “พอใช้” บางคนตั้งเป้าฉันต้องมีเงินล้านก่อนอายุ 30 บางคนบอกว่าสมัยนี้ถ้าอยู่จนถึงอายุ 60 ต้องมีเงินเก็บสัก 10 ล้านจึงจะเรียกว่าพอใช้ เป็นต้น
ตั้งเป้าแล้วตั้งทำยังไง ให้เก็บเงินได้จริง!
แค่ตั้งเป้าใครก็ทำได้ปัญหาคือ ทำยังไงให้เป็นจริง และไม่ใช่ทุกคนที่ตั้งเป้าแล้วจะทำได้ คนส่วนใหญ่เรียนจบเริ่มทำงานอายุประมาณ 22 ปี สมมุติอยากมีเงินเก็บ 10 ล้านก่อนอายุ 30 จะมีเวลาเก็บเงินแค่ 8 ปี เฉลี่ยต้องเก็บให้ได้ปีละ 1,250,000 บาท หรือเดือนละ 104,166 บาท ซึ่งบอกได้เลยว่ายาก หรือถ้าตัดตัวเลข “ก่อน 30” ออกไป แล้วคิดแค่ว่าต้องมีเงินให้ถึง 10 ล้าน สิ่งที่ต้องทำก็มี 2 เรื่องคือ การเพิ่มเงินเก็บของเราต่อเดือนให้มากขึ้น หรือเพิ่มผลตอบแทนของเงินเก็บเราให้มากขึ้น
เช่นเก็บเงินเดือนละ 10,000 บาท ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 70 ปีกว่าจะถึง 10 ล้าน ถ้าอยากลดเวลาให้น้อยกว่าก็ต้องเพิ่มเงินเก็บ เช่นเก็บเดือนละ 50,000 จะใช้เวลาประมาณ 17 ปี เป็นต้น แต่ปัญหาก็คือทฤษฏีพูดได้ แต่ในทางปฏิบัติก็ยังเป็นได้ยาก ดังนั้นอีกวิธีที่จะทำให้มีเงิน 10 ล้านได้คือการเพิ่มผลตอบแทน หมายถึงการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ เช่นกองทุน พันธบัตร หรือหุ้นต่างๆ ยกตัวอย่างถ้าเราทำผลตอบแทนจากเงินเก็บได้ 5% ต่อปี โดยที่เราเก็บเงินเดือนละ 10,000 บาท เราจะลดเวลาจาก 70 ปี เป็น 33 ปี ในการแตะเงิน 10 ล้าน เป็นต้น
เก็บเงินตามทฤษฏี การเกลี่ยการบริโภค (consumption smoothing)
บอกให้เก็บเดือนละ 10,000 หรือบอกว่าให้เอาเงินไปลงทุนต่างๆ มันก็ยังเป็นเรื่องยากที่คนส่วนใหญ่ทำตามไม่ได้เพราะข้อมูลระบุชัดว่า บัญชีเงินฝากในประเทศไทยรวม 109.31 ล้านบัญชีในจำนวนนี้ 95.25 ล้านบัญชี มีเงินไม่เกิน 50,000 บาทและน่าตกใจยิ่งกว่าคือคนกว่า 12.2 ล้านคน มีเงินติดบัญชีไม่ถึง 500 บาท วิธีเก็บเงินที่เป็นไปได้มากที่สุดในยุคนี้คือ
ทฤษฏีการเกลี่ยการบริโภค (consumption smoothing)
เป็นแนวคิดที่ย้อนแย้งกับสิ่งที่เคยรู้หัวใจของทฤษฏีนี้คืออย่าไปกังวลเรื่องการออม มีเท่าไหร่ก็ใช้ไปก่อนหรือกระทั่งจะก่อหนี้บ้างก็ไม่เป็นไร เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคตก็ค่อยเริ่มเก็บออมเงินก้อนใหญ่แล้วใช้หนี้ให้หมดถ้าเราใช้แนวคิดนี้ในการเก็บเงินวิธีการคร่าวๆ คือ
- ในช่วงหลังเรียนจบ หรือกำลังก่อร่างสร้างตัว เราไม่ต้องกังวลเรื่องการเก็บเงิน พยายามนำเงินมาใช้อย่างสมเหตุผล ทั้งนำไปลงทุน นำไปใช้อาจเหลือเก็บบ้าง แต่ต้องมีเป้าหมายว่าต้องการอะไร
- เมื่อถึงช่วงอายุหนึ่งเช่นถึงวัย 30 ที่เรียกว่าเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวยิ่งต้องมีการวางแผนอนาคตที่ชัดเจนมีการแบ่งเงินสำหรับการออมมากขึ้นเช่นทำประกันสุขภาพ ประกันชีวิต หรือการลงทุนตามสมควรเป็นต้น
- สิ่งสำคัญของทฤษฏีการเกลี่ยการบริโภค ไม่ได้ทำให้เราขาดวินัยในการใช้เงิน แต่ฝึกให้เรามีแผนในระยะยาว เริ่มต้นอาจไม่มีเงินเก็บ เงินเหลือ แต่เงินที่ใช้ไป จะต้องมีหวังงอกเงยหรือเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยที่เราไม่ต้องกระเสือกกระสนบีบบังคับตัวเองว่าต้องเก็บเงินเท่านั้นเท่านี้ต่อเดือน
ทั้งนี้ความสามารถในการเก็บออมของแต่ละคนก็ไม่เท่ากันอีกคนที่มีความรู้ ความสามารถ จะใช้หาเงินเพิ่มได้ไม่ยาก เช่น ใครมีความสามารถในการถ่ายภาพก็สามารถรับงานถ่ายภาพตามงานต่างๆ อย่างงานรับปริญญาได้ หรือใครมีฝีมือในการทำขนมก็สามารถทำขนมมาขาย
โดยใช้ Social Media ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นช่องทางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้ หากอาชีพเสริมที่เราทำนั้นรุ่ง รับรองว่าจะมีรายได้เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย เมื่อมีรายได้มากขึ้นที่มากกว่ารายจ่าย ก็อาจทำให้เราเก็บเงินได้มากขึ้นหรือวางแผนการใช้เงินได้ง่ายขึ้นด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3dn5dl4 , https://bit.ly/3RPeulc
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)