อยากมีรายได้เพิ่มยุค “เงินเฟ้อ” ทำอะไรได้บ้าง?

ท่ามกลางสถานการณ์ทั้งเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ปัญหาใหญ่คือคนไทยมีรายได้น้อยลงแต่มีรายจ่ายมากขึ้น และไม่รู้ว่าปัญหานี้จะลากยาวไปถึงเมื่อไหร่ คาดการณ์ว่าการกลับมาเหมือนเดิมคงเป็นเรื่องยาก

เท่ากับว่าการใช้ชีวิตของคนนับแต่นี้ต้องหาวิธีเอาตัวรอดและหาวิธีสร้างรายได้ชนิดที่ต้องปรับตัวกันใหม่ www.ThaiSMEsCenter.com เข้าใจความรู้สึกของคนไทยอย่างดีและต้องการหาวิธีสร้างรายได้ที่ดีที่สุดเพื่อเป็นทางออกให้กับคนไทย ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ก็ยังดี

เงินเฟ้อ” ปัญหาใหญ่! ของคนทั้งประเทศ

เงินเฟ้อ

เงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งยิ่งเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ส่งผลโดยตรงต่อประชาชนจำนวนมาก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาประเมินเฉลี่ยทั้งปี 2565 จะเร่งตัวขึ้นถึง 4.9% สูงที่สุดในรอบ 14 ปี จึงเป็นปัญหาต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่ต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น

แต่รายได้ยังเท่าเดิม เช่น พนักงานออฟฟิศเคยกินข้าวกลางวันเฉลี่ยมื้อละ 35 บาท แต่พอเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนของวัตถุดิบเช่น หมู ไก่ ข้าว น้ำมัน หรือการขนส่งปรับตัวสูงขึ้นจึงทำให้ข้าวกลางวันปรับสูงขึ้นเฉลี่ยมื้อละ 50 – 60 บาท เป็นต้น ในขณะที่รายได้ของพนักงานออฟฟิศยังเท่าเดิม จึงส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของกินของใช้ได้น้อยลง เป็นต้น

นอกจากนี้ข้อมูลยังระบุว่าสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของครัวเรือนไทยในกลุ่มที่มีรายได้รวม 25,000 -50,000 บาทต่อเดือนอยู่ประมาณ 75% ในปี 2565 และสำหรับครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 15,000 – 25,000 บาท จะมีรายจ่ายอยู่ประมาณ 87% และข้อมูลยังระบุต่ออีกว่ามีประชาชนมากกว่า 9 ล้านครัวเรือน (41% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด) ที่ไม่ได้มีความพร้อมในการรับมือปัญหาเงินเฟ้อครั้งนี้

อยากมีรายได้เพิ่มยุค “เงินเฟ้อ” ทำอะไรได้บ้าง?

6

ความเป็นจริงที่โหดร้ายสะท้อนชัดเจนว่าสังคมไทยยัง “รวยกระจุก จนกระจาย” ข้อมูลระบุว่าครัวเรือนไทยโดยรวมจะมีภาระผ่อนส่งหนี้สินราว 4,400 บาทต่อเดือน ขณะที่ครัวเรือนกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท มักมีรายได้ไม่เพียงพออยู่แล้ว ส่วนใหญ่จึงมักเป็นหนี้นอกระบบ ไม่ต้องพูดถึงเงินเก็บเงินออมยามฉุกเฉินที่มีน้อยมาก

โดยเฉพาะครัวเรือนกลุ่มรายได้รวมต่ำกว่า 25,000 บาทลงมาที่ส่วนใหญ่ไม่เหลือเงินเก็บแค่ให้พอใช้แบบเดือนชนเดือนก็ยังไม่ได้ด้วย สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดตอนนี้คือ “การหารายได้เพิ่ม” แบบที่ “ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม” คำถามคือเราจะทำอะไรได้บ้าง ลองไปดูกัน

1.ทำงานประจำ

5

ในกรณีของคนที่ยังมีงานประจำทำอยู่ให้ยึดงานประจำที่ทำเอาไว้ก่อน แม้เงินเดือนจะไม่สูงมาก แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย เช่นคนที่ทำงานบริษัทได้เงินต่อเดือนประมาณ 15,000 -20.000 แม้งานจะหนัก มีปัญหามาก แต่ก็ให้คิดซะว่ายังพอได้เงินมาประคับประคองสถานการณ์ในตอนนี้ ถ้าตัดสินใจลาออกหวังมาสร้างรายได้มากขึ้นอาจได้ไม่คุ้มเสียในช่วงนี้

2.เปลี่ยนวิธีการใช้เงิน

4

การเปลี่ยนวิธีใช้เงินก็คือการสร้างรายได้เพิ่มในอีกรูปแบบหนึ่ง ยุคนี้ต้องเน้นการรัดเข็มขัดให้มากขึ้นคือลดทั้งการบริโภค , เปลี่ยนไปซื้อของที่ราคาถูกลง รวมถึงชะลอการตัดสินใจซื้อ เพื่อให้สถานะการเงินที่มีนั้นได้รับผลกระทบน้อยที่สุดและเพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปในระยะยาวได้อย่างมีคุณภาพ

3.อย่าสร้างหนี้เพิ่ม

3

การไม่มีหนี้เพิ่มก็เท่ากับว่ารายจ่ายเราไม่เพิ่มแม้รายได้จะไม่เพิ่มแต่ก็พอจะทำให้สถานะการเงินเราคล่องตัวขึ้นได้ แม้คาดว่าเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อเช่นนี้จะยิ่งดันให้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นอีกมาก ในระยะยาวจะมีปัญหาการชำระคืนอย่างชัดเจน ดังนั้น ทางที่ดีควรวางแผนการใช้เงินให้ดีและหากเป็นไปได้ชะลอการก่อหนี้เพิ่มต่างๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น

4.ลงทุนสร้างรายได้เพิ่มที่ใช้งบน้อยที่สุด

2

สำหรับคนงบน้อยการสร้างรายได้เพิ่มด้วยการลงทุนมากย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ข้อดีของยุคนี้คือมีแฟรนไชส์หลายแบรนด์ที่ให้เราเลือกลงทุนได้ในราคาไม่แพง บางแฟรนไชส์ลงทุนเริ่มต้นไม่เกิน 5,000 ก็สามารถเปิดร้านได้ หรือบางที่ก็ไม่มีค่า แฟรนไชส์แค่สั่งวัตถุดิบมาเพื่อขาย อุปกรณ์มีอะไรก็หยิบมาใช้ได้ รวมไปถึงการลงทุนด้วยการขายของออนไลน์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้งบลงทุนมาก อาศัยการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ซึ่งในช่วงแรกอาจไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สร้างรายได้ในทันที แต่หากทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ ทำต่อไปเรื่อยๆ รายได้เพิ่มที่เราต้องการก็จะค่อยๆมากขึ้นได้เช่นกัน

5.ทำงานทุกอย่างที่ได้ “เงิน” + วางแผนการเงิน

1

สำหรับคนงบน้อย คนไม่มีทุน วิธีการที่ดีที่สุดคือ “ขยัน” แต่ความขยันก็ต้องให้ถูกที่ ขยันแบบมีเป้าหมาย คนส่วนใหญ่บอกว่าก็ทำงานแทบไม่มีเวลาพัก แต่รายได้ก็ยังไม่พอรายจ่าย การวางแผนการใช้เงินอาจไม่ทำให้เรารวยขึ้นทันทีแต่อย่างน้อยก็ช่วยให้การเงินเรามีเสถียรภาพมากขึ้น ในยุคเงินเฟ้อ การหาเงินควรมุ่งไปที่ความรู้สึกของคนที่ต้องการความมั่นคงในชีวิต

ดังนั้นอาชีพอย่างขายประกันก็ถือว่าน่าสนใจ การเป็นตัวแทนประกันในยุคนี้ก็มีเครื่องมือช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นมากแม้การขายจะยากเพราะคนส่วนใหญ่เน้นรัดเข็มขัด แต่ถ้าเจอลูกค้าที่ต้องการก็จะทำให้เรามีรายได้มากขึ้น ที่สำคัญไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ขอแค่ขยันและตั้งใจทำจริงเท่านั้น

ปัญหาเงินเฟ้อหรือเรียกว่าของแพงขึ้น สำหรับชาวบ้านธรรมดาคงไม่มีอะไรดีกว่าการพึ่งตัวเอง การรอความหวังจากภาครัฐมาช่วยเหลือก็เป็นไปได้ยาก เรื่องการวางแผน การหาไอเดียในการลงทุน การพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสคือสิ่งที่คนยุคนี้ต้องพยายามศึกษาและลงมือทำ เพราะเชื่อได้เลยว่าเราจะต้องอยู่กับวิกฤติแบบนี้ไปอีกยาวๆที่ไม่รู้ว่าจะหนักขึ้นยิ่งกว่านี้อีกหรือเปล่าในอนาคต


อ้างอิงจาก https://bit.ly/3QmINxO

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด