อยากนำสินค้าวางขายใน Watson ต้องทำอะไรบ้าง

Watson เริ่มต้นธุรกิจครั้งแรกในปี 841 ที่ฮ่องกง ปัจจุบันถือเป็นร้านเพื่อสุขภาพและความงามที่มีสาขากว่า 16,000 แห่งใน 27 ประเทศทั่วโลก ในประเทศไทย Watson เริ่มธุรกิจครั้งแรปี 2539 ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศกว่า 590 แห่ง

จำหน่ายสินค้าเพื่อความงามแบบครบวงจร พร้อมบริการที่ดีให้กับลูกค้า และด้วยความที่ Watson เป็นผู้นำในธุรกิจด้านนี้ คนที่ทำธุรกิจด้านสินค้าความงามหรือสุขภาพต่างมุ่งหวังที่จะได้วางสินค้าใน Watson เพราะเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าจะเพิ่มยอดขายได้อย่างมหาศาล

ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าในฐานะของผู้ประกอบการถ้ามั่นใจในสินค้าของตัวเองแล้วสิ่งที่ควรรู้คือขั้นตอนที่น่าสนใจในการนำสินค้าเข้าวางขายในโมเดิร์นเทรดนี้

Watson ถือเป็น “Specialty Stores” ใน Modern Trade

ต้องทำอะไรบ้าง

ภาพจาก https://bit.ly/3FGMgTe

Modern Trade หมายถึง การค้าขายสินค้าและบริการที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้

  • Hypermarket ไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือ ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น Tesco Lotus และ BigC
  • Supermarket ซูเปอร์มาร์เก็ตในปัจจุบัน ได้แก่ Tops, Home Fresh Mart, Villa, MaxValu เป็นต้น
  • Convenience Store ร้านสะดวกซื้อและมินิมาร์ท เช่น 7 –Eleven , Lotus Express, Family Mart เป็นต้น
  • Specialty Stores หรือร้านขายสินค้าเฉพาะทาง เช่น Watsons เป็นต้น
  • Cash and Carry ตลาดสดและร้านค้าส่ง เช่น Makro เป็นต้น

23

ภาพจาก https://bit.ly/3kXNpNZ

โดย Specialty Store ส่วนใหญ่จะไม่ได้มีพื้นที่มาก แต่เน้นขายสินค้าเฉพาะหมวดและเจาะลึกเท่านั้น ซึ่งสินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพความงามเหล่านี้หากได้จำหน่ายใน Watsons ย่อมมีโอกาสเข้าถึงลูกค้าได้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดูดีมีระดับ อย่างไรก็ดีการจำนำสินค้าไปวางจำหน่ายได้เราก็ต้องรู้เงื่อนไขและศึกษาข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจด้วย

ขั้นตอนเบื้องต้นในการนำสินค้าวางจำหน่ายในโมเดิร์นเทรด

โดยทั่วไปการนำสินค้าใดๆเข้าจำหน่ายในช่องทางของ Modern Trade จะมีขั้นตอนเบื้องต้นไม่ต่างกัน แตกต่างกันที่รายละเอียดของแต่ละช่องทาง โดยเบื้องต้นสิ่งที่ผ้ประกอบการต้องรู้และต้องเตรียมได้แก่

1.เตรียมเอกสารในการติดต่อ

22

ภาพจาก https://bit.ly/3HNF8WY

โดยทั่วไปการติดต่อขายสินค้าผ่าน Modern Trade จะอ้างอิง “การทำสัญญาฝากขาย” ซึ่ง Modern Trade จะเรียกเอกสารประกอบการทำสัญญาแตกต่างกันไปในแต่ละ Shop แต่สำหรับเอกสารหลักๆ ที่ทางผู้ประกอบการต้องเตรียมนั้นมีดังนี้

  • สำเนาหนังสือรับรองบริษัทที่รัฐออกให้ไม่เกิน 90 วัน
  • สำเนาหนังสือ ภพ. 20
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทผู้ส่งสินค้า
  • สำเนาบัตรประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจในการจัดส่งสินค้า
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารที่ต้องการรับชำระค่าสินค้า ที่มีชื่อบัญชีตรงตามชื่อที่ปรากฏในหนังสือรับรอง

2.เตรียมค่าใช้จ่ายประกอบสัญญาฝากขาย

21

ภาพจาก https://bit.ly/3HNF8WY

ผู้ประกอบการต้องเสียค่าวางสินค้าหรือค่า Open Account ให้กับทาง Modern Trade ซึ่งจะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ

  1. ค่าเปิด Account ครั้งแรก (เสียครั้งเดียว) เป็นเสมือนค่าแรกเข้า ซึ่งจ่ายครั้งเดียวในตอนแรก เพื่อแลกกับการรับบริการ จำหน่ายสินค้าบน Shop, สรุปรายงานการขายรายเดือน, ดูแลสินค้าและอื่นๆ
  2. ค่าบริการจัดการลิสต์สินค้า SKU (เสียรายปี) เป็นค่านำสินค้าเข้าตามรายการสินค้า ซึ่งแต่ละช่องทางที่เราต้องการนำสินค้าไปวางจำหน่ายจะมีค่าใช้จ่ายต่างกัน
  3. Growth Profit (จีพี) คือรายได้จากการขายสินค้าของแบรนด์ในโมเดิร์นเทรด ซึ่งทางแบรนด์จะต้องแบ่งรายได้ให้กับทางโมเดิร์นเทรดโดยปกติโมเดิร์นเทรดจะเป็นผู้กำหนดสัดส่วนจีพีไว้ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ จากรายได้จากการขายของแบรนด์
  4. ค่าขนส่งและกระจายสินค้า (Distribution Center)

Distribution Center (DC) มีคำเรียกหลากหลายที่ผู้ประกอบการแต่ละคนเรียกตามความเข้าใจ อันที่จริงแล้วมีความหมายเหมือนๆกัน คือเป็นค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า กระจายสินค้า ซึ่งในบางโมเดิร์นเทรดอาจจะหักค่าดีซีจากยอดขายสินค้าของแบรนด์ประมาณ 1-3 เปอร์เซ็นต์

20

ภาพจาก https://bit.ly/3HNF8WY

ทั้งนี้การนำสินค้าเข้า Modern Trade แต่ละแห่งก็จะมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ของแต่ละ Modern Trade , ทำเลในชั้นวางขายสินค้า และการบริหารจัดการของแต่ละ Modern Trade ซึ่งแน่นอนว่าในส่วนของ Watson เองก็มีหลักเกณฑ์พื้นฐานตามที่ได้กล่าวไป

แต่รายละเอียปลีกย่อยถือเป็นเงื่อนไขเฉพาะของ Modern Trade นั้นๆ ผู้ที่สนใจและต้องการนำสินค้าไปวางจำหน่ายในช่องทางของ Watson จึงควรสอบถามไปยังบริษัทโดยตรงเพื่อให้ได้รับทราบข้อมูลที่ส่วนใหญ่จะแจ้งให้เฉพาะคนที่ต้องการจะเป็นคู่ค้าด้วยเท่านั้น

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3CQUPZT , https://bit.ly/3FHnRwR , https://bit.ly/3qYPEo8

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3HRTmG8

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด