อยากนำสินค้าวางขายใน Tops ต้องทำอะไรบ้าง
ในบรรดา Modern Trade ต่างๆ ที่อยู่ในประเทศไทย ต้องยอมรับว่า Tops ถือเป็น Supermarket ชั้นนำอันดับ 1 ของประเทศที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี แนวทางการตลาดของ Tops เน้นการเป็นแฟลกชิปสโตร์ด้านผัก ผลไม้ อาหารสด โดยมีสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศให้เลือกเป็นจำนวนมาก
www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่ามีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ต้องการจะเป็นคู่ค้า ในการนำสินค้าตัวเองไป วางขายใน Tops ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีกฎระเบียบและขั้นตอนที่ค่อนข้างละเอียด เพราะ Tops ยึดถือนโยบายในการคัดสรรสินค้าที่ดีที่สุดก่อนจะนำมาวางจำหน่ายให้กับลูกค้า
นำสินค้าวางขายสินค้าใน Tops ดีอย่างไร?
ภาพจาก https://bit.ly/3Ea1zU9
ประการแรก Tops ให้ความสำคัญในการคัดสรรสินค้าเกษตรกรในหลายจังหวัดทั่วประเทศเพื่อนำมาจำหน่าย เรื่องของความสดใหม่ ปลอดสารพิษ สะอาด จึงเป็นเครื่องหมายการันตีให้กับลูกค้ามั่นใจแม้จะมีคู่แข่งในธุรกิจนี้บ้าง แต่ชื่อของ Tops ก็ยังเป็นหนึ่งในตลาดได้อย่างไม่สั่นคลอน และยิ่งการได้รวมกิจการกลับกลุ่มเซ็นทรัลยิ่งเป็นการยกระดับให้ Tops เติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งในด้านารขยายสาขา ระบบการบริหารจัดหาสินค้า ระบบจัดเก็บและประมวลผลฐานข้อมูลลูกค้า รวมไปถึงอำนาจการต่อรองกับ Supplier ผู้ผลิต
ภาพจาก https://bit.ly/3xoZnFu
และนอกจากนี้ Tops ยังใส่ใจในเรื่องบริการที่ดีให้ลูกค้ารู้สึกถึงความพรีเมี่ยมที่มากกว่าเป็นซุปเปอร์มาเก็ตธรรมดา รวมถึงการยกระดับในเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ ที่เอามาผสมผสานใช้กับการจำหน่ายสินค้า เช่นการเปิดตัวบัตร Sport Rewards Card เมื่อปี 2547 จนเมื่อปีที่แล้วได้ร่วมบัตรกับ The 1 Card ของกลุ่มเซ็นทรัล ทำให้ปัจจุบันมีฐานสมาชิกมากถึง 12 ล้านราย และที่ปฏิเสธไม่ได้แน่คือพลังด้านการตลาดที่มีการจัดโปรโมชั่น หรือแคมเปญต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าของบรรดาคู่ค้าได้มากยิ่งขึ้น
อยากนำสินค้าจำหน่ายใน Tops ต้องทำอย่างไร?
ภาพจาก https://bit.ly/3r8wR9Z
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าหลักการและแนวคิดในการจัดซื้อสินค้าของ Tops มีการวางระบบที่ชัดเจน ส่วนหนึ่งมีการดิวกับบรรดา Supplier ในหมวดหมู่สินค้าต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่ารายละเอียดในการจัดซื้อสินค้าเหล่านี้เป็นเงื่อนไขของทางบริษัทที่คู่ค้าเท่านั้นจะได้รับทราบ
อย่างไรก็ดีโดยหลักการแล้วการจำหน่ายสินค้าใดๆ ผ่าน Modern Trade สิ่งสำคัญคือต้องมี “การทำสัญญาฝากขาย” โดยรายละเอียดในสัญญาก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทที่จะกำหนดเงื่อนไขให้กับคู่ค้าที่สนใจในกรณีการติดต่อเพื่อวางจำหน่ายสินค้าร่วมกับ Tops เราสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้จากแผนกจัดซื้อที่สำนักงานใหญ่ ที่จะให้ข้อมูลได้อย่างครบถ้วนที่สุด
อย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญที่ต้องมีแน่ๆในการนำสินค้าวางจำหน่ายกับ Tops ในกรณีที่ต้องการเป็นคู่ค้า สิ่งนั่นคือเรื่องของต้นทุนและรายจ่ายซึ่งรายละเอียดย่อมจะระบุในสัญญา โดยปกติแล้วจะมี 4 ส่วนหลักคือ ค่าเปิด Account ครั้งแรก , ค่าบริการจัดการลิสต์สินค้า SKU , ค่าGrowth Profit (จีพี) , ค่าขนส่งและกระจายสินค้า (Distribution Center)ซึ่งการจะเจาะจงให้เห็นตัวเลขนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะเป็นข้อตกลงที่บริษัทมักจะแจ้งให้กับคนที่ต้องการเป็นคู่ค้าจริงๆ ได้พิจารณา
ภาพจาก https://bit.ly/3p5k6KC
ซึ่งการเป็นคู่ค้ากับ Tops นอกจากมีโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้น จุดเด่นที่น่าสนใจคือการมีโอกาสได้เติบโตร่วมกับ Tops ที่นับวันจะมีการขยายสาขาออกไปต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และแม้แต่ในประเทศไทย บริการของ Tops ก็ยังหลากหลาย
เช่น ท็อป ซุปเปอร์มาเก็ตส์ , ท็อปส์ ซูเปอร์สโตร์ , ท็อปส์ เดลี่ นอกจากนี้ยังมีบริการ Home Delivery รวมถึงบริการรับสั่งซื้อสินค้าทางโทรศัพท์และแฟ็กซ์ เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าและเป็นการเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้าได้มากยิ่งขึ้น
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3oVIcYa , https://bit.ly/2ZcWYB5 , https://bit.ly/3nKHoq1 , https://bit.ly/3xsi5fH
อ้างอิงจาก https://bit.ly/30V0RLz
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)