อยากนำสินค้าวางขายใน 7-Eleven ต้องทำอะไรบ้าง

การนำสินค้าที่เรามีไป วางขายใน 7-Eleven ที่ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 12,432 แห่งและมีแนวโน้มที่จะขยายสาขาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลระบุอีกว่ามีลูกค้าเดินเข้า 7-Eleven (รวมทุกสาขา) เฉลี่ยประมาณวันละ 11,800 ,000 คน ซึ่งหากคำนวณจากประชากรไทยที่มีอยู่ประมาณ 69 ล้านคน

นั่นหมายความว่าคนไทยที่ใช้บริการ 7-Eleven คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 17 จากประชากรทั้งหมด ซึ่งมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จเพิ่มพลังการขายเพราะได้นำสินค้า วางขายใน 7-Eleven

ดังนั้น www.ThaiSMEsCenter.com มั่นใจว่ามีผู้ประกอบการอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องการเพิ่มพลังการขายให้ธุรกิจตัวเองด้วยวิธีนี้ ลองมาดูว่าถ้า อยากนำสินค้าวางขายใน 7-Eleven มีขั้นตอนอะไรบ้าง

1.เตรียมสินค้าให้พร้อม

อยากนำสินค้าวางขายใน 7-Eleven

ภาพจาก https://bit.ly/3HFSLHz

ผู้ประกอบการที่ อยากนำสินค้าวางขายใน 7-Eleven ต้องมีสินค้าที่ตรงตามมาตรฐานของบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดหรือสอดคล้องกับความต้องการของพฤติกรรมผู้บริโภค ยิ่งเป็นสินค้าที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและเป็นเทรนด์ของตลาดในขณะนั้น ย่อมมีโอกาสที่สินค้าจะขายดีหรือได้รับความนิยม มากกว่าสินค้าประเภทอื่นๆ

และแน่นอนว่านอกจากความต้องการทางตลาดที่มีผลแล้ว คุณภาพมาตรฐานของสินค้าก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทาง 7-Eleven ให้ความสำคัญ โดยสินค้าทุกชิ้นจะต้องผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานของสินค้า มีเครื่องหมายรับรองของทางราชการเช่นเลขสารบบอาหารหรือ อย., เครื่องหมายรับรองมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือ มอก.

2.ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์

อยากนำสินค้าวางขายใน 7-Eleven

ภาพจาก https://bit.ly/3HFSLHz

ถ้ามั่นใจว่าสินค้ามีความพร้อมขั้นตอนต่อมาคือการลงทะเบียนผ่าน www.cpall.co.th ซึ่งต้องกรอกข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าให้ครบถ้วนหรือมากที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเข้ามากรอกรายละเอียด โดยการกด Login เพื่อเข้าสู่ระบบ สำหรับท่านใดที่ไม่ได้เป็นสมาชิกจะต้องทำการสมัครสมาชิกก่อนโดยการ กด Register จากนั้นจึงเข้าสู่ระบบ โดยการลงทะเบียนนี้ถือเป็นช่องทางแรกที่ 7-Eleven จะพิจารณาว่าสินค้าของเราน่าสนใจแค่ไน เหมาะสำหรับนำมาวางขายหรือไม่

รวมทั้งจะมีการพิจารณาว่าสินค้าได้ขัดต่อหลักเกณฑ์ของทางบริษัทหรือไม่อย่างไร ซึ่งประเด็นนี้ถือเป็นรายละเอียดในการพิจารณา เพราะหากได้รับความเห็นชอบจะถือว่าได้ผ่านการพิจารณาในรอบแรก

3.นำเสนอสินค้าอีกครั้งต่อคณะกรรมการคัดเลือกสินค้า

อยากนำสินค้าวางขายใน 7-Eleven

ภาพจาก https://bit.ly/3HFSLHz

ในขั้นตอนนี้หมายถึงผู้ประกอบการได้เดินผ่านเข้ามาก้าวแรก และนี่คือโอกาสในการนำเสนอสินค้าให้กับคณะกรรมการคัดเลือกสินค้าของบริษัทซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิในหลากหลายสาขามาร่วมพิจารณา โดยสิ่งสำคัญที่ 7-Eleven ต้องการคือสินค้าดังกล่าวต้องถูกหลักอาชีวอนามัยและมีความปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม รวมถึงผู้ประกอบการต้องมีศักยภาพในการผลิตและส่งมอบสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

นอกเหนือจากนั้นคือข้อมูลทางการตลาดว่าเหตุใดเราถึงได้คิดและผลิตสินค้าชนิดนี้ขึ้นมา สิ่งที่ทางบริษัทต้องการทราบคือความจำเป็นของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า และทิศทางของการตลาดว่าจะมีแนวโน้มไปในทิศทางใดยิ่งเป็นสินค้าใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนจะเป็นสินค้าที่ 7-Eleven ให้ความสนใจอย่างมาก สุดท้ายคือข้อมูลของกลุ่มผู้บริโภคโดยผู้ประกอบการต้องมีตัวเลขที่น่าสนใจของกลุ่มเป้าหมายว่าคือใคร จำนวนมากน้อยแค่ไหน และมีโอกาสเพิ่มเติมมากขึ้นในอนาคตได้หรือไม่อย่างไร

4.ตรวจสอนมาตรฐานสินค้าและโรงงานการผลิต

อยากนำสินค้าวางขายใน 7-Eleven

ภาพจาก https://bit.ly/3HFSLHz

เนื่องจาก7-Eleven เป็นธุรกิจที่มีฐานลูกค้าจำนวนมากดังนั้นสินค้าทุกชนิดที่จำหน่ายผ่าน 7-Eleven ต้องถูกคัดสรรอย่างดี โดยเริ่มต้นตั้งแต่ต้นทางคือกระบวนการผลิต ซึ่งผู้ประกอบการที่ผ่านการพิจารณาในด้านความน่าสนใจของสินค้าและเป้าหมายทางการตลาดก็จะต้องมีการตรวจมาตรฐานของสินค้าว่าปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

โดยไม่มีส่วนผสมของสิ่งที่เป็นโทษต่อร่างการตามที่กฏหมายกำหนดและเป็นวัตถุดิบที่เหมาะสมถูกต้องรวมถึงกระบวนการผลิตในตัวโรงงานก็ต้องถูกหลักของกฏหมายตามที่ระบุไว้ รวมถึงต้องประเมินศักยภาพในการผลิตว่าจะสามารถทำสินค้าได้ตามออร์เดอร์ที่ 7-Eleven ต้องการหรือไม่

5.กำหนดวันจำหน่ายสินค้าและกำหนดยอดสั่งผลิตในล็อตแรก

อยากนำสินค้าวางขายใน 7-Eleven

ภาพจาก https://bit.ly/3HKUbAq

เมื่อผ่านมาตรฐานในเรื่องการผลิตและโรงงานทางบริษัทก็จะทำการกำหนดวันจำหน่ายสินค้าและกำหนดยอดสั่งผลิตในล็อตแรกซึ่งการระบุสัญญาระหว่างผู้ประกอบการกับทางเซเว่นนั้นก็เป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องมากำหนดกันอีกทีว่ามีความต้องการกระจายสินค้าในลักษณะใด ให้ครอบคลุมทุกสาขาหรือว่าต้องการเจาะจงพื้นที่ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลในส่วนนี้ต้องตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกันระหว่างเซเว่นและผู้ประกอบการสินค้า

และเมื่อใดก็ตามที่ผู้ประกอบการได้นำสินค้าวางจำหน่ายใน 7-Eleven สิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องคือพัฒนาสินค้าให้มีความทันสมัยและก้าวตามกระแสอยู่ตลอดเวลาเนื่องจาก 7-Eleven มีกระบวนการตรวจสอบสินค้าในเรื่องยอดขายว่าน่าพึงพอใจในระดับไหนกับการทำธุรกิจร่วมกันโดยจะเป็นการประเมินเบื้องต้นใน 3 เดือนแรก

ซึ่งข้อมูลชี้วัดนี้ก็เป็นบรรทัดฐานของทาง 7-Eleven ที่ต้องการให้ผู้ประกอบการได้มีแนวทางในการพัฒนาสินค้าให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไปรวมถึงในกรณีที่มีปัญหาเรื่องยอดขายก็จะได้พิจารณาร่วมกันเพื่อหาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมต่อไป


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3qWe0ii , https://bit.ly/3nDgznz , https://bit.ly/3xalcbQ , https://bit.ly/3HIaaPL

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3nFoKjc


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด