อยากทำแฟรนไชส์ให้โต ทุกสาขาต้องมี Q S C ที่ดี!

หากพูดถึง Q S C ที่ดี เชื่อว่าคนทั่วไปหลายๆ คนอาจจะไม่รู้จักมักคุ้นเท่าไรนัก แต่ถ้าเป็นคนในแวดวงธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มคิดว่าน่าจะรู้จักหรือคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และถ้าถามว่า Q S C คืออะไร ทำไมธุรกิจแฟรนไชส์ที่ต้องการขยายสาขาให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง

จำเป็นจะต้องมีและสร้าง Q S C ให้มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

Q S C ที่ดี

Q S C คือ อะไร

  • Q (Quality) = คุณภาพ
  • S (Service) = บริการ
  • C (Cleanliness) = ความสะอาด

สำหรับธุรกิจร้านอาหาร หรือแฟรนไชส์ร้านอาหาร จะต้องให้ความสำคัญกับ Q S C อันดับต้นๆ เพราะเปรียบเสมือนเป็นหัวใจของร้านอาหาร เพราะเป็นองค์ประกอบในการดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้มาใช้บริการเป็นประจำได้

Q (Quality) = คุณภาพ

4

ต้องยอมรับว่าสิ่งที่ลูกค้าเข้าไปใช้บริการในร้านอาหารของคุณ สิ่งที่พวกเขาคาดหวัง ก็คือ รสชาติอาหารอร่อย ดังนั้น จะต้องดูแลคุณภาพอาหารให้ดีเยี่ยมทุกครั้งที่ลูกค้าเข้าไปใช้บริการ ที่สำคัญมาตรฐานของรสชาติ ปริมาณ สีสัน หน้าตาของอาหารทุกๆ เมนู หรือทุกจานจะต้องเหมือนกันทุกๆ สาขา เช่น ถ้าลูกค้าไปกินข้าวที่สาขาหนึ่งรสชาติอร่อย แต่พอวันหลังไปกินข้าวอีกสาขาหนึ่งปรากฏว่าได้น้อย ไม่อร่อย หากเป็นเช่นนี้มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียลูกค้าไป

ดังนั้น การที่แบรนด์แฟรนไชส์ร้านอาหารจะรักษา Q เอาไว้ได้ จะต้องทำในเรื่องดังต่อไปนี้

  • การคัดสรรวัตถุดิบ ต้องเลือกใช้วัตถุดิบที่สุดใหม่และมีคุณภาพดี
  • การเก็บรักษา เมื่อได้วัตถุดิบมาแล้วต้องเก็บรักษาอย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ
  • การปรุง ต้องทำตามสูตร ตรวจสอบทั้งรสชาติ และรูปลักษณ์ภายนอกให้ตรงตามมาตรฐาน
  • การจัดจาน / บรรจุภัณฑ์ โดยบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ต้องมีคุณภาพมาตรฐาน สะอาด มีการจัดเมนูอาหารให้เป็นมาตรฐาน และตกแต่งสวยงาม
  • การเสิร์ฟ ต้องตรวจสอบก่อนให้มั่นใจว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมตกลงไปในอาหาร หรือติดอยู่ตามภาชนะหรือถุงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ
  • การส่งมอบให้ลูกค้า จะต้องได้รับสินค้าที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน เหมือนกันทุกครั้งที่มาใช้บริการ

S (Service) = บริการ

6

เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะถ้าร้านอาหารของคุณทำอาหารอร่อยและมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าการให้บริการลูกค้าภายในร้านไม่ดี ก็อาจสูญเสียลูกค้าไปได้ ดังนั้น การให้บริการต้องมีมาตรฐานเช่นเดียวกัน โดยสิ่งที่เจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหารจะต้องทำ ก็คือ

  • อบรมพนักงานให้สื่อสารหรือพูดคุยกับลูกค้าด้วยความสุภาพ ทั้งการรับรายการอาหาร การสอบถามข้อมูลของเมนูอาหาร ตลอดจนการนำเสนอหรือแนะนำเมนูอาหารใหม่ๆ ให้ลูกค้า
  • สีหน้าเป็นมิตรและคอยช่วยเหลือลูกค้าเมื่อลูกค้าต้องการ ตลอดจนการเปิด-ปิดประตูหน้าร้านเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า นอกจากนั้นอาจจะมีบริการโบกรถให้ลูกค้า รวมถึงการสร้างร้านให้มีพื้นที่จอดรถได้หลายคัน เป็นต้น

C (Cleanliness) = ความสะอาด

8

ถ้าเปรียบเทียบระหว่างร้านอาหารที่อยู่ในตลาดสด พื้นเปียกแฉะ บางครั้งมีหนูวิ่งไปมาในร้านหรือรอบร้าน หรือร้านอาหารตั้งอยู่ในทำเลติดริมคลองน้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็น กับร้านอาหารที่อยู่ในทำเลดีๆ ติดแอร์ หรือบรรยากาศดีๆ สะอาดร่มรื่น คุณคิดว่าลูกค้าจะเข้าไปใช้บริการร้านอาหารแบบไหน ซึ่งลูกค้าก็ต้องเลือกร้านอาหารที่ดูสะอาด บรรยากาศดี

ดังนั้น องค์ประกอบสุดท้ายของร้านอาหารที่จะช่วยดึงดูดลูกค้าใช้บริการได้ นั่นคือ ความสะอาดของวัตถุดิบอาหาร พนักงาน และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในร้าน เช่น โต๊ะ ถ้วย ช้อน จาน ตลอดจนชุดของพนักงาน เป็นต้น ต่อให้ร้านนั้นจะอร่อยสักแค่ไหน แต่ถ้าสัมผัสได้ว่าไม่สะอาด เสี่ยงต่อการท้องเสีย ลูกค้าก็คงตัดสินใจยากที่จะไปใช้บริการ

นั่นคือ เหตุผลที่ว่าทำไมธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ต้องการขยายสาขาให้เติบโตโตอย่างมั่นคง จำเป็นต้องมี Q S C ที่ดี

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3LSv3KS , https://bit.ly/3E1l8AC

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3UIIaSO


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช