อยากซื้อแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้นแชมป์-นายฮั้งเพ้ง
เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักแบรนด์ร้านก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้นแชมป์-นายฮั้งเพ้ง ปัจจุบันมีจำนวนสาขามากกว่า 3,000 แห่งทั่งประเทศ หากดูจำนวนสาขาแล้วเรียกได้ว่าเป็นรองเพียงแค่ “ชายสี่บะหมี่เกี้ยว” ที่มี 4,500 สาขา ซึ่งมีจุดเด่นของร้านในรูปแบบแฟรนไชส์ “รถเข็น” ริมทาง
สำหรับใครที่อยากซื้อแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้นแชมป์ – นายฮั้งเพ้ง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ
ภาพจาก https://bit.ly/3dnbyNf
ลูกชิ้นแชมป์-นายฮั้งเพ้ง ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 หรือเมื่อ 38 ปีก่อน โดยคุณบดินทร์ ฉัตรมาลีรัตน์ “นายฮั้งเพ้ง” แต่หลายคนอาจจะไม่เคยรู้ที่มาที่ไป ของแบรนด์ที่คุ้นหูคุ้นตานี้ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร จนสามารถขยายแฟรนไชส์ได้กว่า 3,000 สาขาในปัจจุบัน คุณบดินทร์เป็นคนจังหวัดระนองโดยกำเนิด เป็นลูกคนที่ 4 จากพี่น้องทั้งหมด 12 คน ในครอบครัวคนจีน พ่อแม่เป็นชาวสวน เคยทำงานเป็นคนขายเครื่องสำอางของห้าง “เพียงใจเภสัช” เจ้าของแป้งยี่ห้อสปริงซอง
ขณะเดียวกันเขาได้เปิดร้านอาหารตามสั่ง มีลูกค้าสั่งให้เขาทำข้าวผัด ผลปรากฏว่าผัดออกมาดำ ลูกค้าก็ซื้อไปแล้วบอกว่า “ซื้อไปคนคงกินไม่ได้ จะเอาไปให้หมากิน” หลังจากเหตุการณ์นั้นที่โดนสบประมาท ทำให้นายฮั้งเพ้งตัดสินใจหันมาเอาดีในอาชีพเกี่ยวกับอาหารการกินในทันที และทำราดหน้าขาย โดยได้ซื้อสูตร “ราดหน้านายฮั้ง” จุดเริ่มตำนานอาหารอร่อย
ภาพจาก https://bit.ly/3dnbyNf
หลังจากที่มีชื่อเสียงได้ไม่นานก็ต้องปิดกิจการลง เพราะมีปัญหาทางด้านครอบครัว ไม่มีเวลาว่าง และยุ่งยากมาก ดังนั้น จึงทำให้ต้องมองหาธุรกิจใหม่ที่ไม่ยุ่งยากเหมือนเดิม ในที่สุดจึงตัดสินใจทำลูกชิ้น ช่วงแรกใช้เงินขอซื้อสูตร และอุปกรณ์ ไปจำนวนมาก แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ล้มเหลวไม่เป็นท่า เนื่องจากสูตรที่ไปขอซื้อมาเป็นสูตรที่ไม่ใส่สารกันบูด ทำให้ไม่สามารถเก็บค้างคืน จนล้มละลาย ชีวิตตอนนั้นลำบากมาก ไปขอความช่วยเหลือจากใครก็ถูกปฏิเสธ
พอแม่ของนายฮั้งเพ้งตาย เขาได้ตั้งต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง ใช้เวลาเรียนรู้หาประสบการณ์เกี่ยวกับการทำลูกชิ้น จนได้เป็นสูตรเฉพาะตัว หลังจากนั้นก็ออกมาทำกิจการของตัวเอง โดยตั้งชื่อว่า “ลูกชิ้นเพ็ญจันทร์” ในช่วงแรกกิจการไปได้ดี แต่ต้องประสบปัญหาเมื่อมีคนงานเก่านำความรู้เรื่องลูกชิ้นออกไปตั้งกิจการเอง ทำให้กิจการลูกชิ้นเพ็ญจันทร์แย่ลงเรื่อยๆ
ภาพจาก https://bit.ly/3dnbyNf
หลังจากนั้น นายฮั้งเพ้งได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนที่ทำกิจการลูกชิ้นด้วยกัน จึงทำให้การขยายกิจการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ กำไรที่ได้ก็เอามาซื้ออุปกรณ์ จนกระทั่งในปี 2526 เมื่อนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ อดีตนักการเมืองได้มาเปิดโรงเนื้อย่านลาดพร้าว ใกล้กับโรงงานลูกชิ้นของนายฮั้งเพ้ง ซึ่งทางโรงเนื้อให้เครดิตกับนายฮั้งเพ้งอย่างมาก และจุดนี้เองที่ทำให้อาณาจักรลูกชิ้นของนายฮั้งเพ้งขยายตัวรวดเร็ว จนก่อให้เกิดจุดเริ่มต้น “รถเข็นขายลูกชิ้นแบบเงินผ่อน”
ปัจจุบันแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้นแชมป์-นายฮั้งเพ้ง มีการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ รวมถึงเปิดรับสมัครตัวแทนในการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นแชมป์และลูกชิ้นหมูนายฮั้งเพ้ง ในส่วนของประชาชนนั้นสามารถหาซื้อลูกชิ้นแชมป์และลูกชิ้นหมูนายฮั้งเพ้งได้ที่ร้าน MaxValu ทุกสาขา
ภาพจาก https://bit.ly/3dnbyNf
รายได้บริษัท อุตสาหกรรมแชมป์ จำกัด
- ปี 62 รายได้ 45.8 ล้านบาท กำไร 2.8 ล้านบาท
- ปี 63 รายได้ 23.2 ล้านบาท ขาดทุน 5.7 ล้านบาท
- ปี 64 รายได้ 33.7 ล้านบาท กำไร 2.1 ล้านบาท
งบลงทุนแฟรนไชส์ร้านก๋วยเตี๋ยว “ลูกชิ้นแชมป์-นายฮั้งเพ้ง”
ภาพจาก https://bit.ly/3dnbyNf
#รถเข็น
- เริ่มต้น 19,800 บาท
#เคาน์เตอร์
- เริ่มต้น 9,900 บาท (ป้าย 3 แผ่น)
- ไม่รวมอุปกรณ์อื่นๆ และค่าขนส่ง
- เหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดเล็ก ขนาดกะทัดรัด ราคากะทัดรัด
ทั้งนี้ไม่รวมค่าขนส่งสำหรับลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัด ขึ้นอยู่กับระยะทาง
โทร. 02-0394185
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3AnMz5D , https://bit.ly/3dp8WOT , https://bit.ly/3SIm01P
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3bMaNwF
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)