อยากซื้อแฟรนไชส์ “ออฟฟิศเมท พลัส” ร้านสะดวกซื้อเพื่อธุรกิจแห่งแรกของไทย
“ออฟฟิศเมท พลัส” แฟรนไชส์ ร้านสะดวกซื้อ เพื่อธุรกิจแห่งแรกของไทย ในเครือเซ็นทรัล รีเทล เจ้าของรางวัลสุดยอดแฟรนไชส์ไทยแห่งปี “Franchise of the Year 2022” และรางวัลแฟรนไชส์ไทยนวัตกรรมยอดเยี่ยม “Best Innovation Franchise” จากงาน Thailand Franchise Award จัดโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
เดินหน้าเปิดรับสมัครแฟรนไชส์ซีทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย เพื่อต่อยอดธุรกิจเดิมหรือธุรกิจครอบครัวด้วยโมเดลแฟรนไชส์ค้าปลีกที่ได้รับความนิยมและมีมาตรฐานระดับสากล มีสินค้าเพื่อธุรกิจให้เลือกกว่า 100,000 รายการ ทั้งหน้าร้านและระบบออนไลน์หลังร้าน ด้วยทีมงานมืออาชีพเคียงข้างตลอดการลงทุน #การันตีกำไร 1 แสนบาท/เดือน
จุดเด่นของแฟรนไชส์ “ออฟฟิศเมท พลัส” คือ การเดินหน้าพัฒนาสินค้าและช่องทางการขายหลากหลายครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้า ช่วยให้ผู้ลงทุนแฟรนไชส์ขายสินค้าได้อย่างต่อเนื่องแบบไม่สะดุด เพราะมีช่องทางการขายแบบ Omnichannel ขายได้จากหน้าร้าน และขายผ่านพนักงานขาย (B2B Direct Sales), ขายทางโทรศัพท์ และช่องทางออนไลน์ Social Commerce ผ่าน Line, Facebook Chat & Shop รวมถึงระบบจัดการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันแฟรนไชส์ออฟฟิศเมท พลัส มีสาขาทั้งหมด 42 สาขา ใน 36 จังหวัด (ณ เดือนสิงหาคม 2565) ตั้งเป้าภายในสิ้นปี 2565 ขยายสาขารวม 60 สาขา และในสิ้นปี 2566 ตั้งเป้ามี 100 สาขาครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้แฟรนไชส์ออฟฟิศเมท พลัส กำลังเปิดรับ SME ทั่วทุกภูมิภาคสมัครเป็นแฟรนไชส์ซีมาร่วมเติบโตไปด้วยกัน โดยเฉพาะจังหวัดที่มีศักยภาพสูง อาทิ เชียงใหม่ ลำพูน สระแก้ว อำนาจเจริญ ขอนแก่น หนองคาย กาญจนบุรี อยุธยา สงขลา ภูเก็ต และ กระบี่ เป็นต้น
ทำไมต้องลงทุนแฟรนไชส์ “ออฟฟิศเมท พลัส”
- เริ่มต้นกิจการได้เร็วทันใจภายใน 3 เดือน
- บริการจัดส่งฟรีถึงบ้านและออฟฟิศ (ตามกำหนด) ทำให้ร้านแฟรนไชส์มีรายได้ต่อเนื่อง
- คืนทุนใน 3-4 ปี จากการลงทุนเริ่มต้น 2.9 ล้านบาท
- ขายได้ต่อเนื่องแบบไม่สะดุดในทุกสถานการณ์ เพราะมีช่องทางขายแบบ Omnichannel ขายได้จากหน้าร้าน และขายผ่านพนักงานขาย (B2B Direct Sales), ขายทางโทรศัพท์ และช่องทางออนไลน์ Social Commerce ผ่าน Line, Facebook Chat & Shop
- ลักษณะสินค้าเป็นสินค้าพื้นฐานกว่า 11 หมวดสินค้า โตอบโจทย์คนทำธุรกิจจะต้องใช้ ซื้อง่ายขายคล่อง และซื้อต่อเนื่อง รวมถึงมีอายุการจัดเก็บและใช้งานระยะยาว ไม่มีต้นทุนการเน่าเสียรายวัน ทำให้บริหารจัดการได้ง่าย
- เพิ่มโอกาสในการขายด้วยสินค้ารายการใหม่ๆ ที่ออฟฟิศเมทคัดสรรเพิ่มขึ้นเป็นประจำทุกเดือนปัจจุบันมากกว่า 100,000 รายการ ขายได้ทุกรายการแม้มีพื้นที่ 1 คูหา
- มีความมั่นคงสูง อาจจะเข้ายากกว่าแฟรนไชส์ธุรกิจอื่นๆ แต่อัตราการสำเร็จสูงมาก
ภาพจาก แฟรนไชส์ออฟฟิศเมท พลัส
เปิดร้านแฟรนไชส์ “ออฟฟิศเมท พลัส” มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
- ขนาดพื้นที่ : 40-60 ตรม.
- ค่าแรกเข้าเพื่อรับสิทธิ์บริหารจัดการร้านออฟฟิศเมท พลัส (ระยะเวลาสัญญา 6 ปี) : 600,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และอุปกรณ์สนับสนุนการเปิดร้าน (ขึ้นอยู่กับขนาดและพื้นที่) : เริ่มต้น 1.3 ล้านบาท
- ค่าสินค้าหน้าร้าน (ขึ้นอยู่กับขนาดและพื้นที่) : 1-2 ล้านบาท #รวมเงินลงทุนทั้งหมด 2.9-3.9 ล้านบาท
ภาพจาก แฟรนไชส์ออฟฟิศเมท พลัส
สิ่งที่ได้รับจากการลงทุนแฟรนไชส์ “ออฟฟิศเมท พลัส”
- สิทธิพิเศษจากออฟฟิศเมท พลัส รวมกว่า 180,000 บาท
- สิทธิให้บริการส่งพัสดุผ่านเคาน์เตอร์ Kerry Express ภายในร้าน
- ค่าออกแบบและตกแต่งภายในร้าน
- การฝึกอบรมพนักงาน
- กิจกรรมเปิดตัวร้าน
- ให้คำแนะนำปรึกษาตลอดการดำเนินธุรกิจ
สำหรับ SME ที่ อยากซื้อแฟรนไชส์ อยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งและเติบโตอย่างมั่นคงไปพร้อมๆ กับแฟรนไชส์ออฟฟิศเมท พลัส ต้องมีเงินลงทุนเริ่มต้นตามที่บริษัทฯ กำหนด, มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ หรือมีความตั้งใจที่จะเป็นเจ้าของกิจการ, มีฐานลูกค้า SME บริษัทเอกชน หรือหน่วยงานราชการ และ มีทำเลใกล้ย่านธุรกิจ ชุมชน หรือสถานที่ราชการ การคมนาคมเดินทางสะดวก
ออฟฟิศเมท พลัส
สนใจลงทุน แฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3AS84dz
โทร. 099-1285000
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3x20LyZ
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)