อยากซื้อแฟรนไชส์ KFC ต้องทำไง กระทู้ Pantip

เชื่อว่าถ้าพูดถึงแบรนด์ไก่ทอดในเมืองไทย หลายคนคงจะนึกถึง KFC มาเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นแบรนด์ไก่ทอดชื่อดังมีต้นกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน (2564) มีจำนวนสาขาทั้งหมด 25,680 สาขาทั่วโลก แบ่งเป็นร้านแฟรนไชส์ในสหรัฐฯ 3,860 สาขา, นอกสหรัฐฯ 21,530 สาขา และบริษัท “Yum! Brands Inc.” บริหารเอง 290 สาขา

สำหรับในประเทศไทยมีร้านไก่ทอด KFC จำนวน 900 สาขา และมีมูลค่าตลาดไก่ทอดกว่า 20,000 ล้านบาท โดย KFC เป็นแบรนด์ไก่ทอดที่ครองส่วนแบ่งการตลาดมากสุด 90% โดยมีบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ ยัม! ประเทศไทย ทำหน้าที่บริหารแบรนด์ ทำการตลาด และโปรโมชั่น

ด้วยความนิยมไก่ทอด KFC ในเมืองไทย จึงไม่แปลกที่ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ KFC มากมาย และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ติดต่อใคร ต้องทำไง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแนะนำให้ทราบครับ

อยากซื้อแฟรนไชส์ KFC

ภาพจาก https://bit.ly/3meTwhQ

#ก่อนอื่นชี้แจงให้ทราบกันโดยทั่วว่า KFC ไม่ได้ขายแฟรนไชส์ให้นักลงทุนรายย่อย!!!

ในประเทศไทย บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด) ขายแฟรนไชส์หรือให้สิทธิ์การเป็นแฟรนไชน์ซีทั้งหมด 3 บริษัท คือ 1.เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป หรือ CRG เครือเซ็นทรัลกรุ๊ป กว่า 300 สาขา, 2.เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย (The QSR of Asia) เครือไทยเบฟกว่า 378 สาขา และ 3.เรสเทอรองส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) มีกว่า 200 สาขา

อยากซื้อแฟรนไชส์ KFC

ภาพจาก https://bit.ly/3meTwhQ

บริษัทฯ มีนโยบายขยายสาขาอย่างต่อเนื่องผ่านการลงทุนของแฟรนไชซีทั้ง 3 ราย ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล, เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย บริษัทในเครือไทยเบฟ และเรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ หรืออาร์ดี ที่ยังมีแผนลงทุนเปิดสาขาเพิ่มต่อเนื่อง จากปีที่ผ่านมาได้เปิดไปกว่า 60 สาขา เน้นเปิดร้านคอนเซ็ปต์ใหม่ๆ ในรูปแบบไดรฟ์ทรูและในพื้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ต

สำหรับหน้าที่หลักๆ ของบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ฯ ให้การสนับสนุนแฟรนไชส์และพันธมิตรในธุรกิจ ให้สามารถรักษามาตรฐานของแบรนด์ได้ หลักๆ จะเป็นเรื่องโอเปอเรชั่นจะมีไกด์ไลน์ให้ในการซัพพอร์ต และมีหลักการพิจารณาถึงความเหมาะสมของการเปิดสาขา

ควบคู่กับการทำหน้าที่สื่อสารการตลาดด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้าใหม่ นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในเรื่องการบริการให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค โดยหัวใจหลักในการทำงาน คือ แฟรนไชส์ซีทุกรายค่อนข้างสามัคคีกัน ทำงานร่วมกันเป็นทีมเวิร์ก และต้องเติบโตไปด้วยกัน

CRG แฟรนไชส์ซีรายแรกของ KFC

อยากซื้อแฟรนไชส์ KFC

ภาพจาก https://bit.ly/3GQJxHj

KFC เป็นแบรนด์ไก่ทอดที่มีการเติบโตต่อเนื่องในสหรัฐฯ ทำให้กลุ่ม CRG ตัดสินใจขอซื้อแฟรนไชส์จากบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ โดยเปิดสาขาแรกที่ เซ็นทรัล ลาดพร้าวในปี พ.ศ.2527 โดยในอดีตธุรกิจของ KFC ถูกบริหารแค่ 2 บริษัท คือ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ และ CRG แต่แล้วเมื่อ Yum Brands, Inc มีนโยบายพยายามลดการบริหารร้านอาหารที่มีอยู่ในมือตัวเองทั่วโลก พร้อมกับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ดูแลระบบแฟรนไชส์อย่างเต็มตัว

ทำให้บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ จึงได้ขายสาขาที่เหลือในมือตัวเองทั้งหมดให้แก่ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด ต่อมาก็ขายให้แก่ไทยเบฟเวอเรจ จนปัจจุบันบริษัทยัม เรสเทอรองตส์ ไม่มีสาขา KFC อยู่ในมือ

ค่าใช้จ่ายในการซื้อแฟรนไชส์ KFC ในสหรัฐอเมริกา

7

ภาพจาก https://bit.ly/3meTwhQ

  • ค่าแฟรนไชส์ 45,000 เหรียญสหรัฐ
  • เงินลงทุน 1,442,600-2,771,550 เหรียญสหรัฐ
  • รายได้สุทธิ 1,500,000 เหรียญสหรัฐ
  • เงินทุนหมุนเวียน 750,000 เหรียญสหรัฐ
  • Royalty Fee 4-5%
  • Ad Royalty Fee 5%
  • ระยะสัญญา 20 ปี (ต่อสัญญาได้)

สรุปก็คือ ปัจจุบัน KFC ในประเทศไทย มีแฟรนไชส์ซีรายใหญ่อยู่ 3 บริษัท ที่จะทำหน้าที่ในการขยายสาขา ทำการตลาด รวมถึงการบริหารจัดการภายในร้านทุกอย่าง ส่วนบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ทำหน้าที่เป็นเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ หรือ แฟรนไชส์ซอร์ ดูแลพัฒนาแบรนด์และแฟรนไชส์ซี

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3F56oOZhttps://bit.ly/3GNZZYThttps://bit.ly/3e2lWam

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3sDLXW3

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช