อยากขายแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ทำอย่างไรให้มีคนซื้อ

ในประเทศไทยมี แฟรนไชส์ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งแฟรนไชส์ขนาดกลางขึ้นไปจนเป็นแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่แล้วระบบแฟรนไชส์จะมีมาตรฐานมากกว่าแฟรนไชส์ขนาดเล็ก

นอกจากผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้าแล้ว ยังต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าตกแต่งร้าน ค่า Royalty Fee และ ค่าการค่าการตลาดประมาณ 3-5% ของยอดขายในแต่ละเดือน เพื่อให้แฟรนไชส์ซอร์นำไปสนับสนุนและพัฒนาระบบแฟรนไชส์ให้เติบโตต่อไป

ส่วนแฟรนไชส์ขนาดเล็กนั้นจะมีอยู่มากมาย เพราะสร้างระบบแฟรนไชส์ได้ง่าย อาจไม่ค่อยเป็นมาตรฐานมากนัก เจ้าของแฟรนไชส์จะไม่เรียกเก็บเปอร์เซ็นต์จากยอดขายรายเดือน แต่เก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้าครั้งเดียว ขายส่งอุปกรณ์วัตถุดิบ และสินค้า ลงทุนไม่มาก ระบบการอบรมไม่ยุ่งยาก อาทิ ก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้นทอด ชาเย็น ไก่ทอด เป็นต้น

หากเจ้าของกิจการร้านเล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร เครื่องดื่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของกิน ร้านแบบ (คีออส) อยากจะขายแฟรนไชส์แฟรนไชส์ ทำอย่างไรให้มีคนซื้อ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอเคล็ดลับให้ทราบ

1. รูปแบบของร้านมีความโดดเด่น

ทำอย่างไรให้มีคนซื้อ

แฟรนไชส์ขนาดเล็กส่วนใหญ่รูปแบบของร้านจะลักษณะของคีออส ซุ้ม รถเข็น เคลื่อนย้ายได้ง่าย ใช้พื้นที่ในการเปิดร้านน้อย หากใครจะขายแฟรนไชส์ขนาดเล็ก อย่างแรกต้องสร้างและออกแบบร้านให้มีความโดดเด่น สีสะดุดตา มีความเป็นเอกลักษณ์ ผู้บริโภคมองเห็นรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นร้านขายอะไร ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม อาหาร เบเกอรี่ ที่สำคัญโลโก้ต้องชัดเจน ดึงดูด จำง่าย

2. สินค้าและบริการตอบโจทย์วงกว้าง

5

แฟรนไชส์ขนาดเล็กส่วนมากจะเน้นการขายสินค้า ส่วนมาเป็นของกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย ชาเย็น กาแฟ สเต็ก เป็นต้น ซึ่งสินค้าเหล่านี้จะขายได้ง่าย เพราะผู้บริโภครู้จักกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะไปแห่งหนตำบลใด ก็ขายสินค้าเหล่านี้ ดังนั้น เมื่อคุณมาซื้อแฟรนไชส์จากคุณไปเปิดในจังหวัดของเขา สินค้าและบริการของคุณก็จะต้องขายได้ง่าย ทุกคนกินได้ สัมผัสได้

3. สินค้าและบริการขายราคาไม่แพง

4

เมื่อสินค้าและบริการของแบรนด์แฟรนไชส์คุณเป็นรู้จักในวงกว้างแล้ว หากจะให้แฟรนไชส์ขนาดเล็กของคุณขายง่าย มีคนอยากซื้อไปเปิด สินค้าและบริการจะต้องราคาไม่แพงด้วย เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปจะขายได้ง่าย เช่น ถ้าซื้อแฟรนไชส์ลูกชิ้นทอดไปเปิด ขายลูกค้าละ 5 บาท ก็จะทำให้ผู้บริโภคไม่อยากซื้อ อาจจะขายลูกละบาท ทำให้ผู้บริโภคสัมผัสได้ เป็นต้น

4. กระบวนการผลิตสินค้าไม่ยุ่งยาก

3

แฟรนไชส์ขนาดเล็กจะต้องมีกระบวนการผลิตสินค้าไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพราะอย่างที่บอกไป ร้านแฟรนไชส์จะใช้พื้นที่น้อย ใช้คนน้อย อาจจะ 1 หรือ 2 คน ถ้าใช้กระบวบการผลิตสินค้ายาก ถ่ายทอดยาก ก็จะไม่ค่อยมีคนซื้อไปเปิด ดังนั้น แฟรนไชส์สร้างอาชีพจะต้องไม่มีระบบกาบริหารจัดการร้านและการผลิตที่ยุ่งยากซับซ้อนเกินไป

5. ทำเลที่ตั้งตามแหล่งคนพลุกพล่าน

2

แฟรนไชส์ขนาดเล็กจะต้องสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย สถานที่ตั้งร้านจะต้องอยู่ตามตลาดทั่วไป แหล่งชุมชนที่อยู่อาศัย แหล่งคนพลุกพล่าน เพราะจะทำให้ขายสินค้าได้ง่าย คนเดินผ่านสามารถหยิบจับซื้อได้ทันที ไม่ใช่ทำเลอยู่ตามห้างที่ค่าเช่าแพงๆ

6. ใช้เงินลงทุนน้อย คืนทุนได้เร็ว

1

อย่างที่บอกข้างต้นว่า แฟรนไชส์ขนาดเล็กจะใช้เงินลงทุนไม่มาก เหมาะสำหรับคนที่อยากมีรายได้ คนที่อยากอาชีพ คนตกงาน ซึ่งคนเหล่านี้ไม่สามารถหาเงินหลักแสนมาลงทุนได้ ดังนั้น แฟรนไชส์ขนาดเล็กจะต้องใช้เงินลงทุนหลักพันไปจนถึงหลักหมื่นกว่าๆ จะทำให้ขายแฟรนไชส์ได้ง่าย คนอยากมีอาชีพจึงอยากซื้อไปเปิด เพราะคืนทุนได้เร็วภายใน 1-3 เดือน เป็นต้น

ทั้งหมดเป็น 6 เคล็ดลับในการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ให้คนอยากซื้อแฟรนไชส์ไปเปิด ใครที่เป็นเจ้ากิจการอยากขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว ไม่อยากสร้างระบบแฟรนไชส์ให้ยุ่งยากซับซ้อน ลองพิจารณาแฟรนไชส์สร้างอาชีพดู เพราะใช้เงินลงทุนไม่มาก คืนทุนเร็ว ยิ่งถ้าสินค้าและบริการขายดี เป็นที่นิยมในวงกว้าง ก็จะยิ่งมีคนอยากซื้อแฟรนไชส์ครับ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. รูปแบบของร้านมีความโดดเด่น
  2. สินค้าและบริการตอบโจทย์วงกว้าง
  3. สินค้าและบริการขายราคาไม่แพง
  4. กระบวนการผลิตสินค้าไม่ยุ่งยาก
  5. ทำเลที่ตั้งตามแหล่งคนพลุกพล่าน
  6. ใช้เงินลงทุนน้อย คืนทุนได้เร็ว

อ้างอิงจาก  https://bit.ly/309U2ms

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช