หาลูกค้า คนซื้อแฟรนไชส์ได้จากไหน?

เมื่อธุรกิจของคุณมีความพร้อมขายแฟรนไชส์ จะหาคนมาซื้อแฟรนไชส์ได้จากไหน ถ้าธุรกิจของคุณมีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สินค้าและบริการตอบโจทย์ตลาดและผู้บริโภค จะมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์และให้คุณเลือกมากมาย แต่ถ้าธุรกิจยังไม่ถึงกับทำให้คนต่อแถวซื้อแฟรนไชส์ หากต้องการคนสนใจซื้อแฟรนไชส์ มาดูช่องทางการหาลูกค้ากันได้เลย

1. ลูกค้าประจำ แฟนพันธุ์แท้

หาลูกค้า

วิธีแรกๆ ในการหาคนซื้อแฟรนไชส์ เพราะลูกค้าประจำ แฟนพันธุ์แท้ของร้าน จะรู้ดีว่าธุรกิจของคุณเป็นอย่างไร สินค้าดีแค่ไหน ซื้อไปเปิดแล้วจะขายได้หรือไม่ คนกลุ่มนี้เมื่อได้ลองชิม ได้ลองใช้บริการร้านของคุณแล้ว จนติดใจกลายเป็นลูกค้าประจำ พวกเขามีโอกาสมากที่สุดจะเป็นคนซื้อแฟรนไชส์ ยังเป็นวิธีหาลูกค้าแทบจะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เลย

2. เว็บไซต์ & Social Media

เป็นช่องทางหาคนซื้อแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยม มีค่าใช้จ่ายน้อย โดยเว็บไซต์สามารถรวบรวมข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ ที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องการนำเสนอและประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มลูกค้าและคนทั่วไปทราบ เช่น รูปภาพ บทความ วิดีโอ หรือเนื้อสาระความรู้ต่างๆ ไว้บนหน้าเว็บไซต์ผ่านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ช่วยให้ลูกค้าค้นหาข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง

ส่วนโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Page, Line, Instagram, Twitter, Youtube, TikTok สามารถนำเสนอเนื้อหาและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับแฟรนไชส์ได้ทั้งบทความ รูปภาพ คลิปวิดีโอ กิจกรรม โปรโมชั่น ข้อมูลลงทุน ช่วยให้แลกเปลี่ยนและติดต่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว เป็นช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า

3. ติดป้ายประกาศหน้าร้าน

เป็นวิธีหาคนซื้อแฟรนไชส์ที่ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นร้านเล็ก ร้านใหญ่ กลุ่มลูกค้าซื้อแฟรนไชส์อาจเป็นคนสัญจรผ่านไปมาแถวหน้าร้าน คนไปใช้บริการที่ร้าน คุณอาจจะปริ้นกระดาษ ระบุรายละเอียดแฟรนไชส์ เงินลงทุน เบอร์โทรติดต่อ หรือ ทำโบรชัวร์ นามบัตรวางไว้หน้าร้าน โต๊ะ เคาน์เตอร์ ให้คนไปใช้บริการหยิบดู

ไม่เพียงเท่านี้ยังสามารถสกรีนโลโก้ เบอร์โทร ลงบนแพ็คเกจจิ้งต่างๆ ของทางร้าน ไม่ว่าจะเป็น เสื้อ ถุง แก้ว ภาชนะต่างๆ ให้ลูกค้าได้เห็น ถ้าหากใครสนใจซื้อแฟรนไชส์อาจจะโทรติดต่อกลับมาที่ร้าน เพื่อสอบถามรายละเอียดการลงทุนแฟรนไชส์

4. ลงโฆษณาประชาสัมพันธ์

นอกจากคุณจะสร้างเว็บไซต์และใช้โซเชียลมีเดียทุกช่องทางเพื่อนำเสนอแฟรนไชส์ ยังสามารถซื้อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ได้ ปัจจุบันเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะนิยมลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ เพราะได้ผลตอบรับคุ้มค่า เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่สนใจซื้อแฟรนไชส์หลากหลาย บางสื่อออนไลน์ยังมีบริการรวบรวมรายชื่อเบอร์โทรคนสนใจแฟรนไชส์ให้กับเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ที่ลงโฆษณาประชาสัมพันธ์อีกด้วย เช่น www.ThaiFranchiseCenter.com

5. ออกบูธงานแฟรนไชส์

อีกหนึ่งวิธีในการหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ แต่มีค่าใช้จ่ายมากน้อยต่างกัน แล้วแต่ว่างานจัดอยู่สถานที่ใด การออกบูธตามห้างสรรพสินค้าเหมาะกับแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ได้กลุ่มลูกค้าน้อย ส่วนการออกบูธตามศูนย์แสดงสินค้าเหมาะกับแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ ได้ผลตอบรับดี เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มาก

ที่สำคัญการออกบูธถ้าเป็นแฟรนไชส์อาหารได้ทั้งขายและให้ลูกค้าชิมได้ด้วย ลูกค้าที่เข้าไปที่บูธสามารถพูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีการจัดงานแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่องตลอดปีทั้งในและต่างประเทศ เป็นอีกหนึ่งช่องทางหาคนซื้อแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยม เจ้าของแฟรนไชส์สามารถเลือกออกบูธงานแสดงสินค้าต่างๆ ได้ที่ https://www.thaifranchisecenter.com/event/

6. แฟรนไชส์ซี

เป็นอีกหนึ่งวิธีหาลูกค้าที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ โดยให้แต่ละสาขาแฟรนไชส์ซีช่วยแนะนำหรือรวบรวมรายชื่อกลุ่มลูกค้ารายใหม่ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ โดยมีค่าตอบแทนให้กับแฟรนไชส์ซี ยิ่งมีหลายสาขา ครอบคลุมหลายพื้นที่จะยิ่งหาคนสนใจซื้อแฟรนไชส์ได้เร็ว ลูกค้ากลุ่มนี้เมื่อไปซื้อหรือใช้บริการร้านสาขา ได้ลองชิม ลองใช้ อาจสนใจซื้อแฟรนไชส์ในภายหลัง

7. พาร์ทเนอร์

ให้เจ้าของทำเล เจ้าของพื้นที่ให้เช่าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ปั้มน้ำมัน ตลาด สำนักงาน โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา และอื่นๆ ช่วยหากลุ่มลูกค้าที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ ปัจจุบันส่วนใหญ่หลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์จะมีทำเลเป้าหมายสำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์รายใหม่ๆ ให้เลือกร่วมกับเจ้าของพื้นที่ เมื่อมีลูกค้าสนใจเปิดร้านในทำเลนั้น อาจสอบถามค่าเช่าไปที่พาร์ทเนอร์ของเรา หลังจากนั้นให้พาร์ทเนอร์ส่งรายชื่อคนที่สนใจซื้อแฟรนไชส์กลับมาให้เรา

8. จ้าง Sale Agency

เป็นอีกหนึ่งวิธีหาคนซื้อแฟรนไชส์ แม้จะมีคนช่วยหาลูกค้า มีความสะดวกสบาย แต่มีค่าคอมมิชชั่น และค่าใช้จ่ายสูงมาก อีกทั้งเอเจนซี่ไม่มีความผูกพันกับแบรนด์แฟรนไชส์ของเรา หาเปอร์เซ็นต์จากการขายอย่างเดียว เมื่อมีการขายให้หลายๆ แบรนด์ อาจไม่ตั้งใจหรือช่วยขายแฟรนไชส์ของเราก็ได้ หรืออาจได้คนซื้อแฟรนไชส์ที่ไม่มีคุณภาพ ส่งผลเสียหายต่อแบรนด์

9. Grand Opening

มีทั้งเปิดสาขาใหม่ของตัวเองและสาขาใหม่ของแฟรนไชส์ซี เป็นอีกวิธีช่วยหาผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ได้เป็นอย่างดี กลุ่มลูกค้าที่สนใจซื้อแฟรนไชส์จะมีทั้งญาติ คนสนิท แขกที่เชิญไปร่วมงาน คนทั่วไปที่ใช้บริการวันเปิดสาขา รวมถึงคนที่สัญจรผ่านไปมา เมื่อเห็นร้าน ได้ชิมและลองใช้บริการ รวมถึงได้เห็นความสำเร็จคนในงาน อาจเกิดความสนใจซื้อแฟรนไชส์ได้

10. สร้างร้าน Prototype

เจ้าของแฟรนไชส์อาจจะต้องหาทำเลในการเปิดร้านที่เป็นแลนด์มาร์ค หรือทำเลที่เหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและลูกค้าทั่วไปมาซื้อสินค้า เมื่อลูกค้าเดินผ่านไปมาและได้ใช้บริการอาจมาขอเป็นแฟรนไชส์ก็ได้

11. จัดแถลงข่าว

เป็นวิธีการหาลูกค้ามาซื้อแฟรนไชส์ ได้รับความนิยมจากหลายๆ แบรนด์ แต่อาจมีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะการจ้างออแกไนซ์จัดงานแถลงข่าว ถ้าเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ใหญ่อาจไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมีเงินทุนหนา แต่ถ้าเป็นบริษัทแฟรนไชส์เล็กๆ หากต้องจ้างออแกไนซ์จัดงานแถลงข่าวถือเป็นการลงทุนที่สูงพอสมควร อาจไม่คุ้มค่าเท่าไหร่นัก

12. ออกรายการทีวี

เป็นอีกหนึ่งวิธีในการคนซื้อแฟรนไชส์ เข้าถึงกลุ่มคนดูได้หลากหลาย แต่อย่าลืมว่าสมัยนี้คนดูทีวีน้อยลง อาจไม่ได้ผลตอบรับที่ดีตามที่คาดหวังเอาไว้ ที่สำคัญการออกรายการทีวีบางครั้ง บางรายการ อาจมีค่าใช้จ่ายสูง หากไม่มีคนดูก็ไม่คุ้มค่า ควรหาช่องทางอื่นๆ ข้างต้นที่ดีกว่าในการสื่อสารไปยังคนที่สนใจซื้อแฟรนไชส์จะมีความคุ้มค่ามากกว่า

13. Open House

สุดท้ายเมื่อได้รายชื่อคนสนใจซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว เป็นลูกค้าที่ตรงกับธุรกิจแฟรนไชส์มากที่สุด ให้จัดงาน Open House เชิญนักข่าว พาร์เนอร์ และลูกค้าที่มีรายชื่อสนใจซื้อแฟรนไชส์มาร่วมงาน เพื่อแนะนำธุรกิจ สาธิต ทดลอง ตลอดจนรูปแบบการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์อย่างใหล้ชิด โดยต้องเตรียมเอกสารนำเสนอแฟรนไชส์ ใบจอง พร้อมกับการปิดการขาย

สุดท้าย ไม่ว่าคุณจะใช้วิธีหรือช่องทางไหนในการหาคนซื้อแฟรนไชส์ หากอยากให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณเติบโตอย่างมั่นคง มีคนมาต่อคิวซื้อแฟรนไชส์ของคุณมากมาย อย่างแรกสินค้าและบริการต้องมีคุณภาพ มีระบบตรวจสอบที่เป็นมาตรฐาน มีระบบการบริหารจัดการดี มีระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีตลอดอายุสัญญา ที่สำคัญต้องไม่สร้างเงื่อนไขที่เอารัดเอาเปรียบแฟรนไชส์ซี ให้คำแนะนำและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้เติบโตไปพร้อมกับแฟรนไชส์ซี

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช