หายสงสัย! ใครถือสิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์ ไก่ทอดบอนชอน
หลายคนอาจสงสัยว่า ปัจจุบันร้าน ไก่ทอดบอนชอน (BonChon) ไก่ทอดสไตล์เกาหลีในประเทศไทยมีใครเป็นเจ้าของ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ จุดเริ่มต้นของร้านไก่ทอด BonChon เกิดขึ้นเมื่อปี 2545 ที่เมืองปูซานประเทศเกาหลีใต้ โดยชายที่ชื่อว่า จินดุ๊กเซ
ซึ่งตอนนั้นเขาเปิดร้านกาแฟและร้านไก่ย่างมาก่อน แต่พอเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เขาจึงต้องเลิกกิจการ แต่เขายังไม่ยอมแพ้ และเล็งหาสินค้าตัวใหม่เพื่อความอยู่รอด สุดท้ายมาจบที่ไก่ทอด เพราะเป็นเมนูที่คนทานได้ทั่วโลก
เขาลงมือศึกษาและคิดค้นสูตรที่แตกต่างจากร้านทั่วไป คือ การทอดซ้ำ 2 ครั้ง เพื่อรีดไขมันใต้หนังไก่ออก ทำให้หนังบางกรอบ เนื้อนุ่ม ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดี มีการบอกกันปากต่อปาก เขาจึงได้เริ่มขยายสาขาไปทั่วเกาหลี
ในเวลาต่อมา จินดุ๊กเซ อยากบริหารธุรกิจให้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงวางแผนขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ แต่ตลาดไก่ทอดในเกาหลีไม่เฟื่องฟูนัก จึงเล็งไปที่ต่างประเทศ โดยได้ไปเปิดสาขาที่อเมริกา ได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมาก มีคนเข้าคิวรอเป็นชั่วโมง
จนมีสื่อลงข่าวทำให้กระแสของ BonChon แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว โดยในตอนนั้น BonChon มีการขยายสาขาอย่างรวดเร็วถึง 88 สาขาในสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบัน BonChon มีมากกว่า 300 สาขาใน 10 ประเทศทั่วโลก ประเทศที่มีร้านเยอะที่สุด คือ ฟิลิปปินส์ มี 189 สาขา
สำหรับในประเทศไทยปัจจุบันมี 102 สาขา โดยร้านไก่ทอด BonChon ถูกนำเข้ามาโดยบริษัท มาชิสโสะ จำกัด จดทะเบียน 18 มิ.ย.2553 มีผู้ก่อตั้ง 2 คน คือ คุณธัญญา ศรีพัฒนาสกุล และ คุณพรพิมล วงศ์ศิริกุล ต่อมาในปี 2554 ได้เปิดร้านไก่ทอดสาขาแรกในไทยที่ทองหล่อ
จนกระทั่งถึงปี 2561 บริษัท มาชิสโสะ จำกัด ได้เลิกกิจการ ต่อมาได้มีบริษัท ชิคเก้น ไทม์ จํากัด เข้ามาเป็นเจ้าของ BonChon จนกระทั่งล่าสุดวันที่ 18 พ.ย.2562 บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) ได้จัดตั้งบริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด โฮลดิ้ง จํากัด ซื้อกิจการ BonChon ในสัดส่วน 100% มูลค่าลงทุน 2,000 ล้านบาท
ในช่วงแรกๆ นั้น ร้านไก่ทอด BonChon ได้วางตำแหน่งตัวเองเป็นร้านอาหารเกาหลีและไก่ทอด มุ่งเน้นการขยายสาขาในตัวเมืองเพื่อสร้างกระแสดึงดูดความสนใจให้แบรนด์เป็นที่จดจำ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีการพัฒนาเมนูให้เหมาะกับคนไทย โดยเพิ่มซุปและเครื่องเคียงเข้ามา เพราะมองว่าคนไทยไม่ได้ชอบทานไก่อย่างเดียว นอกจากนี้ ยังมีเมนูอาหารอื่นๆ มากกว่า 20 รายการ โดยเฉพาะเมนูข้าวเหนียวที่คนไทยชอบกินคู่กับเมนูไก่อยู่แล้ว
ทั้งนี้ไมเนอร์ ฟู้ดเป็นหนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยมีร้านอาหารกว่า 2,410 สาขา ใน 24 ประเทศ ภายใต้เครื่องหมายการค้า เดอะ พิซซ่า คอมปะนี, เดอะ คอฟฟี่ คลับ, ริเวอร์ไซด์, ไทย เอ็กซ์เพรส, เบนิฮานา, บอนชอน, สเวนเซ่นส์, ซิซซ์เลอร์, แดรี่ ควีน และเบอร์เกอร์ คิง ฯลฯ
ข้อมูลจาก https://bit.ly/3SreUOE , https://bit.ly/3LHlcHq
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3BKF6gh
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)