หลังบ้านทรงพลัง ตั้ง FIFO แบบ 7-Eleven

ความสำเร็จของร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven มีหลายกลยุทธ์ที่นำมาปรับใช้กับธุรกิจของเราได้โดยเฉพาะในแง่ของการบริหารจัดการวัตถุดิบและการจัดผังร้านที่ดูจะเป็นจุดเด่นมากที่สุด สังเกตว่าเวลาเดินเข้า 7-Eleven นั่นเราหาสินค้าที่ต้องการได้ไม่ยาก

เป็นวิธีการจัดผังร้านแบบ “Grid” ที่มีลักษณะการจัดวางที่เป็นแบบล็อกๆ และเดินเชื่อมต่อถึงกันได้หมด และหากสังเกตให้ลึกลงไปอีกจะพบว่า 7-Eleven ทุกสาขา จะวางตู้น้ำดื่มซึ่งเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง ไว้บริเวณข้างในสุด ก่อนที่ลูกค้าจะเดินเข้าไปถึงด้านในก็ต้องผ่านสินค้าอื่นๆที่จัดเรียงไว้เป็นหมวดหมู่ เพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้นด้วย

ตั้ง FIFO

อย่างไรก็ดีเคล็ดลับในการบริหารจัดการของ 7-Eleven ไม่ได้มีแค่นั้น อีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจมาก คือ “First In First Out” หรือ FIFO ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ใช้จัดการด้านวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักการของแนวคิดนี้ก็ง่ายๆ คือ “เข้าก่อน ออกก่อน” สินค้าล็อตไหน ที่ได้สั่งซื้อเข้ามาก่อน ให้นำออกไปจำหน่ายก่อน เห็นภาพชัดเจนที่สุดคือ “ตู้แช่เครื่องดื่ม”

ใน 7-Eleven ทุกครั้งที่มีลูกค้าหยิบเอาสินค้าออกไป สินค้าตัวใหม่ก็จะเลื่อนมาแทนที่ โดยวิธีการนี้ออกแบบให้พนักงานคอยเติมสินค้าใหม่อยู่ด้านหลังตู้อย่างต่อเนื่อง

ตั้ง FIFO

ถามว่าวิธีนี้มีข้อดีอย่างไร?

  • ทำให้บริการจัดการสต็อคได้ง่ายรู้ว่าสินค้าชิ้นไหนมาก่อนมาหลัง ลูกค้าจะได้สินค้าที่ไม่ค้างสต็อค
  • จัดเก็บสินค้าได้อย่างเป็นระบบ เพิ่มความสะดวกในการหยิบสินค้า และเช็กสต็อกสินค้า
  • ทราบมูลค่าของสินค้าคงคลังได้ง่ายขึ้น โดยสังเกตจากจำนวนเงินที่ถูกหักออกไปจากคลังสินค้า เทียบกับจำนวนที่ได้รับเข้ามา ซึ่งทั้งสองจะแปรผันตรงกัน ง่ายต่อการนำข้อมูลมาทำบัญชี

และยิ่งไปกว่านั้น ตั้ง FIFO ยังนำไปใช้คิด “ต้นทุนเฉลี่ยต่อชิ้น” ของสินค้าและวัตถุดิบ ในช่วงเวลาต่าง ๆ ได้

ตั้ง FIFO

ยกตัวอย่างเช่น สินค้าล็อตแรกสั่งมา 100 ชิ้น ต้นทุนชิ้นละ 20 บาท สินค้าล็อตที่ 2 สั่งมา 100 ชิ้นต้นทุนชิ้นละ 50 บาท

  • ถ้าขายสินค้าล็อตที่ 1 และ 2 หมด
  • ต้นทุนคือ 100 x 20 = 2,000 บาท บวกกับ 100 x 50 = 5,000 บาท
  • จะเป็นต้นทุนรวม 7,000 บาท
  • หารด้วยจำนวนสินค้า 200 ชิ้น เฉลี่ยแล้วต้นทุนชิ้นละ 35 บาท

ซึ่งการคิดต้นทุนเฉลี่ยต่อชิ้นแบบ ตั้ง FIFO ในแต่ละช่วงเวลา ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย จะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับจำนวนการขาย ปริมาณการขายในแต่ละวัน ก็มีผลต่อการคิดคำนวณต้นทุนกำไร สามารถนำไปปรับใช้กับร้านอาหารที่มีการเข้าออกของวัตถุดิบอย่าง เนื้อหมู ,เนื้อปลา ,ไข่ไก่ , ผักสด อยู่ตลอดเวลา

ตั้ง FIFO

และหากเป็นการค้าปลีกในชุมชนหรือร้านโชห่วยนอกจากจะเอากลยุทธ์ ตั้ง FIFO ไปปรับใช้ ยังมีอีกวิธีที่ควรนำไปใช้คู่กันคือ กฎ 80/20 ของ Pareto ที่ให้แบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่มคือ สินค้าขายดี สินค้าขายได้ปานกลาง และสินค้าขายได้น้อย หลังจากแบ่งประเภทสินค้าได้แล้วให้เรียงบนชั้นวางสินค้า จากบนลงล่าง โดยให้สินค้าขายดีอยู่บนชั้นวางสินค้ามากที่สุด

ตามมาด้วยสินค้าขายได้ปานกลาง และวางสินค้าขายได้น้อยในจำนวนที่น้อยที่สุด และในที่สุดสินค้าที่ขายไม่ดี สุดท้ายก็จะถูกเอาออกไปจากชั้นวาง และทางร้านมีหน้าที่ในการหาสินค้าใหม่ที่ลูกค้าสนใจมากกว่าเข้ามาทดแทน วิธีนี้จะทำให้ มีสินค้าที่ตรงกับความต้องการผู้บริโภคได้มากที่สุด

ในยุคที่การแข่งขันนั้นสูง ยิ่งมีกลุ่มทุนจีนเข้ามาทำธุรกิจในไทย ก็ทำให้เราต้องยิ่งปรับตัวและพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า การได้เรียนรู้โมเดลความสำเร็จจากแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จก็เป็นอีกทางลัดที่ทำให้ธุรกิจเราพร้อมจะเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด