หมัดต่อหมัด! แฟรนไชส์ไหนน่าลงทุน คาเฟ่ อเมซอน VS อินทนิล

หากพูดถึงแบรนด์แฟรนไชส์ร้านกาแฟสัญชาติไทยที่ถือเป็นคู่แข่งและได้รับความนิยมลงทุนมากที่สุด น่าจะเป็น “คาเฟ่ อเมซอน” และ “อินทนิล” ทั้ง 2 แบรนด์แฟรนไชส์อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยเช่นเดียวกัน

โดยคาเฟ่ อเมซอน เป็นของเครือปตท. ส่วนอินทนิล เป็นของเครือบางจาก ซึ่งทั้ง 2 แบรนด์แฟรนไชส์ร้านกาแฟมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร แฟรนไชส์แบรนด์ไหนน่าลงทุนมากกว่ากัน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบเพื่อใช้ในการพิจารณาตัดสินใจครับ

คาเฟ่ อเมซอน

คาเฟ่ อเมซอน VS อินทนิล

บริษัท ปตท. ใช้เวลามากกว่า 15 ปี ในการปลุกปั้นแบรนด์ร้านกาแฟ “คาเฟ่อเมซอน (Café Amazon)” จนมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมขึ้นชั้นเป็นธุรกิจนอนออยล์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุด รายได้แตะ 6,000-7,000 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นสัดส่วน 50% ของกลุ่มนอนออยล์ และจุดพลุให้บริษัทน้ำมันทุกค่ายเข้ามาเล่นเกมในสมรภูมิจีสโตร์อย่างดุเดือด

ระยะแรก ปตท. เน้นการขยายสาขาไปยังสถานีบริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งเส้นทางหลักที่มุ่งสู่จังหวัดในภาคต่างๆ ก่อนขยายไปสู่ภาคกลาง ภาคอีสานและภาคเหนือ โดย 3 ปีแรก สามารถผุดสาขามากกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ

นับตั้งแต่ปี 2547-2550 เป็นยุคที่คาเฟ่อ เมซอน ขยายสาขาไปกับปั๊มปตท.ภาพลักษณ์ใหม่และกลายเป็นร้านกาแฟที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในประเทศไทย คือ 230 แห่ง จากนั้นเติบโตแบบก้าวกระโดดชนิดปูพรม ทั้งในและนอกสถานีบริการน้ำมัน รวม 500 สาขา จนกระทั่งขึ้นชั้นเป็นธุรกิจร้านกาแฟสดที่มีเครือข่ายมากที่สุดในประเทศไทย

คาเฟ่ อเมซอน VS อินทนิล

สำหรับเป้าหมายของ OR ในเครือปตท.หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ วางแผนในปี 2568 ขยายร้านกาแฟคาเฟ่ อเมซอน จำนวน 5,800 สาขา โดยต้องเปิดให้ได้อีก 2,500 สาขา แบ่งเป็นในประเทศไทย 2,100 สาขา โดย 60% อยู่นอกปั๊ม และต่างประเทศ 400 สาขา เฉพาะในประเทศไทยจาก 3,168 สาขา จะเพิ่มเป็น 5,200 สาขา เติบโตเฉลี่ย 18.3% ต่อปี

ในต่างประเทศร้านกาแฟ Café Amazon มากที่สุดในประเทศกัมพูชา 162 สาขา, ลาว 67 สาขา, ฟิลิปปินส์ 18 สาขา, โอมาน 9 สาขา, เมียนมา 8 สาขา, สิงคโปร์ 3 สาขา, จีน 2 สาขา, ญี่ปุ่น 2 สาขา และมาเลเซีย 1 สาขา

การลงทุนเปิดร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน

คาเฟ่ อเมซอน VS อินทนิล

รูปแบบร้าน Café Amazon มี 2 ประเภท คือ ในตัวอาคาร (Shop) และนอกตัวอาคาร (Stand Alone) โดยพื้นที่จะต้องอยู่นอกสถานีบริการน้ำมัน เท่านั้น โดยในอาคาร (เช่น อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ฯลฯ) 30 ตร.ม ขึ้นไป และพื้นที่ขอเปิดร้านต้องอยู่ในบริเวณที่มีคนผ่านไปมาไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อวัน ส่วนนอกอาคาร (พื้นที่เปล่า) 100-200 ตร.ม ขึ้นไป

เงินลงทุนเปิดร้าน Cafe Amazon

1.ร้านในอาคาร (Shop) 40 ตร.ม. ขึ้นไป

คาเฟ่ อเมซอน VS อินทนิล

  • ค่าก่อสร้าง, งานตกแต่ง, งานระบบ ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,200,000 – 2,500,000 บาท
  • ค่าออกแบบ ใช้เงินลงทุน 80,000 – 120,000 บาท
  • อุปกรณ์ภายในร้าน 779,000 บาท
  • ค่าประกันแบรนด์ 100,000 บาท ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน รวมถึง ค่า Set up ร้าน ค่าฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารร้านเปิดใหม่
  • ค่า On the Job Training ค่าสำรวจพื้นที่ 80,000 บาท
  • ค่า Franchise Fee 150,000 บาท ค่า Royalty Fee 3% และ ค่า Marketing Fee 3%ของยอดขายรายเดือน
  • ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (POS) 24,000 บาท/ปี อายุสัญญา 6 ปี (Renovate ร้านทุก 3 ปี)

#รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ยังไม่รวม Vat) ประมาณ 2,389,000 – 3,729,000 บาท

2.ร้านนอกอาคาร (Stand Alone) 100 – 200 ตร.ม. (รวมสวนหย่อม)

คาเฟ่ อเมซอน VS อินทนิล

  • ค่าก่อสร้าง, งานตกแต่ง, งานระบบ 1,500,000 – 3,000,000 บาท
  • ค่าออกแบบ ใช้เงินลงทุน 80,000 – 120,000 บาท อุปกรณ์ภายในร้าน 779,000 บาท
  • ค่าประกันแบรนด์ 100,000 บาท
  • ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน รวมถึง ค่า Set up ร้าน ค่าฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารร้านเปิดใหม่ ค่า On the Job Training ค่าสำรวจพื้นที่ 80,000 บาท
  • ค่า Franchise Fee 150,000 บาท ค่า Royalty Fee 3% และ ค่า Marketing Fee 3%ของยอดขายรายเดือน
  • ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (POS) 24,000 บาท/ปี อายุสัญญา 6 ปี (Renovate ร้านทุก 3 ปี)

#รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ยังไม่รวม Vat) 2,689,000 – 4,229,000 บาท


อินทนิล

คาเฟ่ อเมซอน VS อินทนิล

ภาพจาก https://bit.ly/38Lh4Um

แฟรนไชส์ร้านกาแฟ “อินทนิล” ก่อตั้งและดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชสตั้งแต่ปี 2549 เป็นแฟรนไชส์กาแฟสัญชาติไทยที่ประสบความสำเร็จทั้งในและนอกสถานีบริการน้ำมันบางจากกว่า 700 สาขาทั่วประเทศ แบ่งเป็นในสถานีบริการน้ำมันบางจาก 450 สาขา และนอกสถานีบริการน้ำมันบางจาก 250 สาขา จึงทำให้บริษัทฯ มีความพร้อมและเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีใจรักในธุรกิจกาแฟได้เป็นเจ้าของร้านกาแฟ “อินทนิล” ในรูปแบบแฟรนไชส์ “อินทนิล คอฟฟี่” และ “อินทนิล การ์เด้น”

ข้อมูล ณ ปี 2563 บริษัท บางจาก รีเทล จำกัด คือผู้ใช้แก้วพลาสติกชีวภาพ ที่ย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน ด้วยแนวความคิดที่ว่า “เพราะ 1 แก้วของอินทนิล ไม่ใช่แค่การดื่มกาแฟ แต่คือการบริโภคด้วยจิตสำนึกที่ดี ร่วมรับผิดชอบโลกใบนี้ไปพร้อมกัน Inthanin Natural Cup อินทนิลทุกแก้วของคุณ เพื่อโลกของเราทุกคน

3

ภาพจาก https://bit.ly/3psnpM8

บางจากฯ ตั้งเป้าหมายจะขยายสาขาร้านกาแฟอินทนิล เพิ่มเป็น 1,200 สาขาภายใน 5 ปี (2564-2568) จากสิ้นปี 2563 มีอยู่ 700 สาขา หรือจะต้องเปิดเพิ่มอีก 500 สาขาภายในปี 2568 ในอนาคตยังมองโอกาสศึกษาที่จะเข้าไปถึงธุรกิจต้นน้ำของกาแฟเมื่อสามารถผลักดันการขยายร้านกาแฟอินทนิลครบ 1,000 สาขาในปี 2565

ที่ผ่านมาแฟรนไชส์ร้านกาแฟอินทนิลได้ส่งมอบประสบการณ์ดีๆ ผ่าน 5 Good Experiences Strategy ทั้ง Good Taste / Good Service / Good Design / Good Health และ Good Society โดยเฉพาะในด้าน Good Taste แฟรนไชส์อินทนิลเลือกบริการเสิร์ฟกาแฟคุณภาพมาตรฐานให้ลูกค้า ด้วยเมล็ดกาแฟอาราบิก้าแท้ 100%

ข้อมูลการลงทุนแฟรนไชส์ ร้านกาแฟอินทนิล

2

ภาพจาก https://bit.ly/3hayTka

  1. ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า 200,000 บาท
  2. เงินค้ำประกันการบริหารร้าน 100,000 บาท
  3. ค่าบริการระบบ Point of sale (POS) รายปี 27,000 บาท
  4. ค่าออกแบบ และจัดทำแบบก่อสร้าง 50,000 บาท
  5. เงินลงทุนค่าอุปกรณ์การขายและวัตถุดิบ 350,000 บาท
  6. ราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าก่อสร้าง และ Vat

#รูปแบบร้านกาแฟอินทนิล

1

Size S

  • ขนาด 7-15 ตร.ม.
  • เงินลงทุนเริ่มต้น 1 ล้านบาท

Size M

  • ขนาด 25-40 ตร.ม.
  • เงินลงทุนเริ่มต้น 1.5-2 ล้านบาท

Size L

  • ขนาด 40 ตร.ม. ขึ้นไป
  • เงินลงทุนเริ่มต้น 2 ล้านบาทขึ้นไป

เงื่อนไขธุรกิจแฟรนไชส์อินทนิล

1

ภาพจาก https://bit.ly/3zSKFqI

  • ระยะเวลาให้สิทธิ์เครื่องหมายการค้า 6 ปี
  • ค่าส่วนแบ่งรายได้ 6% จากยอดขาบรายเดือน (ก่อนหักค่าใช้จ่าย)
  • บันทึกการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบ Point of Sale (POS) ของบริษัทฯ
  • การออกแบบและก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐานของบริษัท บางจาก รีเทล จำกัด

นั่นคือ ความเหมือนและจุดเด่นที่แตกต่างของแบรนด์แฟรนไชส์ร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” และ “อินทนิล” ซึ่งทั้ง 2 แบรนด์อยู่ภายใต้การดำเนินของบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย ซึ่งถือเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ที่คนนิยมลงทุนในปัจจุบัน

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3pMtXW6

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช