หน้าที่ 9 ข้อของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี

หน้าที่ 9 ข้อของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี  ความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชส์ซี เป็นองค์ประกอบสำคัญในโครงสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ หากแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ปฏิบัติตามกฎและรับผิดชอบต่อบทบาทของแต่ละฝ่าย

นอกจากการสร้างผลประกอบการที่มีกำไรสูงสุด ด้วยการบริหารที่มีประสิทธิภาพในระบบแฟรนไชส์แล้ว แฟรนไชส์ซอร์ในฐานะผู้ก่อตั้งเจ้าของธุรกิจซึ่งเป็นบทบาทในระยะต้นเท่านั้น เพราะเมื่อมีผู้ร่วมธุรกิจในฐานะแฟรนไชส์ซี ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบเขาเหล่านั้น ก็มีฐานะในการเป็นเจ้าของร่วมด้วยเช่นกัน

หน้าที่ 9 ข้อของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอบทบาทหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ที่จะต้องทำเพื่อขับเคลื่อนระบบแฟรนไชส์ของตัวเองให้แข็งแกร่ง เติบโตอย่างมั่นคง มาดูว่าใครทำอะไรบ้างครับ

แฟรนไชส์ซอร์

แฟรนไชส์ซอร์

  1. สำรวจแนะนำและอนุมัติสถานที่ตั้งร้านของแฟรนไชส์ซี
  2. ออกแบบร้านให้กับแฟรนไชส์ซี
  3. แนะนำเรื่องการบริหารพนักงาน และการฝึกอบรมให้แฟรนไชส์ซี
  4. เป็นผู้ดำเนินการหลักเรื่องการคัดเลือกผลิตภัณฑ์และบริการ
  5. ประเมินเรื่องผลกำไร ผู้กำหนดราคาสินค้า
  6. เป็นผู้ติดต่อหาผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบหลักและจัดส่งให้แฟรนไชส์ซี
  7. วางแผนเรื่องการตลาด ออกแบบโฆษณา ตั้งกองทุนเพื่อการตลาดขององค์กรแฟรนไชส์
  8. กำหนดมาตรฐานการทำงาน อบรม แฟรนไชส์ซี ตรวจเยี่ยมแฟรนไชส์ซี
  9. ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแฟรนไชส์ซี ตามระบบและรูปแบบของธุรกิจ

แฟรนไชส์ซี

แฟรนไชส์ซี

  1. ตั้งร้านตามที่ได้รับการอนุมัติจากแฟรนไชส์ซอร์
  2. ดำเนินการตามคำแนะนำและลงทุนในการก่อสร้างร้าน
  3. สรรหา สัมภาษณ์ และดำเนินการจ้างตามกฎหมาย
  4. ต้องการเสนอผลิตภัณฑ์ เปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ ต้องได้รับการอนุมัติจากแฟรนไชส์ซอร์
  5. ตั้งราคาขายตามที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนด
  6. ขายผลิตภัณฑ์ ใช้วัตถุดิบที่ถูกต้อง ตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์ หรือสั่งจากซัพพลายออร์ที่แฟรนไชส์ซอร์อนุญาต
  7. จ่ายค่าธรรมเนียมการตลาดให้แฟรนไชส์ซอร์ และดำเนินงานตามที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนด
  8. ดำเนินงานตามมาตรฐาน อบรมพนักงานให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน
  9. ดำเนินธุรกิจวันต่อวันตามการแนะนำและสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์

332

สรุปก็คือ ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีต่างมีหน้าที่แตกต่างกัน ทำงานสอดคล้องกัน ช่วยเหลือและสนับสนุนกันและกัน ในฐานะที่เป็นเจ้าของธุรกิจแบรนด์นั้นๆ เหมือนกัน ที่สำคัญแฟรนไชส์ซอร์ต้องให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้ดำเนินธุรกิจได้ราบรื่น ขณะที่แฟรนไชส์ซีก็ต้องทำตามคำแนะนำและกฎระเบียบต่างๆ ของแฟรนไชส์ซอร์


อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php

เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี ทำธุรกิจ http://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3aVFAEF

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช