ส่องแนวโน้ม อาหาร ของกิน แนวไหนมา ปี2022

หลังการแพร่ระบาดของโควิดทุกธุรกิจต้องมีการปรับตัว ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจอาหารที่คาดว่าตั้งแต่ปี 2022 จะต้องเน้นเรื่องความสะอาดมากขึ้น และธุรกิจอาหารจะมีความเป็น Self-service ให้ลูกค้าใกล้ชิดกับพนักงานน้อยที่สุด

ยังไม่รวมถึงเทรนด์ของอาหารที่ www.ThaiSMEsCenter.com มั่นใจว่าลูกค้าไม่ต้องการเพียงแค่รสชาติอร่อยเท่านั้น หากแต่นี้จะมีเรื่องของสุขภาพ ความสะดวกสบายเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ต้องเข้าใจความต้องการที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ลองมาดูกันว่าในปี 2022 มีเทรนด์อาหารแบบไหนที่น่าสนใจบ้าง

1.อาหารตามสั่ง

ส่องแนวโน้ม

ร้านอาหารตามสั่งอาจไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่หลังจากนี้อาหารตามสั่งก็ไม่ใช่แค่ร้านที่จะเปิดขายทั่วไปเท่านั้น หากหวังยอดขายเพิ่มขึ้นต้องมีการอัพเกรดให้ร้านมีมาตรฐานเรื่องความสะอาดของ จาน ชาน ช้อน โต๊ะ สถานที่ รวมถึงพนักงานต้องมีบริการที่ดี หากเป็นไปได้ควรมีการยกระดับร้านอาหารตามสั่งให้ลูกค้ามั่นใจ

ยกตัวอย่าง “เขียง” ร้านอาหารในเครือ Zen ที่ยกระดับอาหารตามสั่งธรรมดาให้ดูน่าสนใจ ใส่กลยุทธ์การตลาดต่างๆ เพิ่มเข้าไป จนสามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว ในรายของผู้ประกอบการธรรมดาที่เงินทุนไม่สูงมากอาจดูข้อดีที่น่าสนใจแล้วเอามาปรับใช้กับร้านตัวเองได้

2.อาหารสตรีทฟู้ด

20

สภาอาหารริมทางโลก (World Street Food Congress) ได้ยกให้สตรีทฟู้ดของไทยเป็น 1 ใน 3 ของอาหารที่ขึ้นชื่อมากที่สุด ในปี 2022 จึงเชื่อได้ว่าอาหารสตรีทฟู้ดเหล่านี้จะมีเสน่ห์ที่เพิ่มมากขึ้น ดูได้จากหลายแฟรนไชน์ในขณะนี้ที่ดึงเอาเมนูสตรีทฟู้ดมาสร้างแฟรนไชส์ไม่ว่าจะบะหมี่เกี๊ยว , ผัดกระเพรา , ผัดไทย หรือแม้แต่อาหารปิ้งย่างต่างๆ ซึ่งแต่ละเมนูมีจุดเด่นในตัวเอง การเลือกลงทุนแบบแฟรนไชส์ที่มีระบบบริหารจัดการดี จะทำให้โอกาสสร้างรายได้ของผู้ลงทุนมีมากขึ้น

3.อาหารแบบ Meal Kits (พร้อมปรุง)

26

ภาพจาก CJ CheilJedang Corp

Meal Kits คือการขาย วัตถุดิบอาหารที่จัดมาเป็นชุดพร้อมปรุง ที่มีซอสปรุงรส และเครื่องปรุงต่าง ๆ มาคู่กัน เพื่อให้ลูกค้าสามารถประกอบอาหารเองได้ที่บ้าน และตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านไปเจอผู้คน หรือคนที่อาจไม่มีทักษะในการประกอบอาหาร ก็สามารถทำอาหารให้อร่อยคล้ายกับที่ร้านทำได้ จากวัตถุดิบที่ได้คัดสรรมาแล้ว เช่น ชุดส้มตำมะละกอ ชุดสเต็กที่มาพร้อมกับสลัดผัก เป็นต้น

นอกจากนี้ ธุรกิจ Meal Kits ยังสามารถช่วยให้ผู้บริโภคสามารถวางแผนการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการได้ ว่าต้องการอาหารประเภทไหนเป็นพิเศษ โดยในบางแบรนด์สินค้า จะระบุโภชนาการที่จะได้รับต่อมื้อ หรือต่อหนึ่งเสริฟ และยังสามารถช่วยวางแผนเมนูอาหารในรายสัปดาห์ว่าต้องการเมนูอะไรบ้าง ปริมาณเท่าไหร่ กรรมวิธีและเวลาในการปรุงอาหารยุงยากหรือไม่ ซึ่งถือว่าสะดวกมาก ๆ สำหรับคนยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพ

4.อาหารทานเล่น

12

กลุ่มอาหารทานเล่นยังคงตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้ดีและเชื่อว่าในปี 2022 จะมีสินค้าทานเล่นที่อัพเดทหน้าตาแปลกใหม่มาเป็นตัวเลือกมากขึ้น ที่ผ่านมาเราจะเห็นเฟรนฟรายด์ , วาฟเฟิล , เบเกอรี่ , ไอศกรีม ซึ่งสินค้าเหล่านี้มีการขายแฟรนไชส์ให้เราเลือกลงทุนได้ไม่ยาก ที่สำคัญราคาในการลงทุนไม่แพง เหมาะกับคนที่อยากมีอาชีพ อยากสร้างรายได้สามารถเลือกลงทุนได้ทันที

5.อาหารที่มีส่วนผสมของสมุนไพร

13

จากการปลดล็อคกัญชา กัญชง และใบกระท่อม ก่อนหน้านี้มีการประเมินว่า การปลดล็อกให้ใช้กัญชาและกัญชงเป็นก้าวแรกของการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชเศรษฐกิจใหม่ในอนาคต โดยมีตัวเลขการคาดการณ์แนวโน้มตลาดกัญชาและกัญชงว่าจะมีมูลค่ากว่า 1.03 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2567 ที่ผ่านมาผู้ประกอบการกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มหลายรายยื่นขอใบอนุญาตสำหรับการใช้สารสกัดจากกัญชา และการอนุญาตเปิดให้ขายในรูปแบบบรรจุขวดได้

ยกตัวอย่าง บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่กำลังรอใบอนุญาตจำหน่าย หากได้แล้วก็พร้อมที่จะเปิดตัวรุกตลาดทันที โดยในเบื้องต้นเตรียมเปิดตัวเครื่องดื่มอิชิตัน กรีนแลป ที่มีส่วนผสมของ CBD กับกัญชงออกมา

6.อาหารแบบ Tailored-to-Fit Food

22

เทรนด์ Tailored-to-Fit Food หรือ อาหารที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ กลุ่มที่ต้องการควบคุมอาหาร, กลุ่มคนออกกำลังกาย, กลุ่มคนสูงอายุ เป็นต้น โดยร้านอาหารหรือธุรกิจอาหารจะให้ความสำคัญมากขึ้นเกี่ยวกับtarget ที่หลากหลาย

ไม่ว่าจะออกแบบเมนูตามสถานการณ์ หรือตามฤดูกาลก็ตาม เพราะนับแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด นิยามของคำว่า อาหารเพื่อสุขภาพ จึงเปลี่ยนไปจากอาหารดีต่อทุกคนทุกเพศทุกวัย มาสู่อาหารเฉพาะบุคคล (Tailored-to-Fit Food) เพราะร่างกายของแต่ละคนมีความต้องการด้านสุขภาพที่ไม่เหมือนกัน

7.อาหารเสริม

21

หลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น รวมถึงจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย ทั้งนี้ ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคในทวีปยุโรป ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมังสวิรัติ (Vegan) และมีส่วนผสมของน้ำตาลน้อย (Low Lactose)

ในขณะที่ผู้บริโภคในทวีปอเมริกาเหนือ เน้นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สารตกแต่งพันธุกรรม (GMO Free) และผู้บริโภคในทวีปเอเชียนิยมผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและปราศจากสารปรุงแต่ง นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ 27 ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้น หากสินค้านั้นเป็นอาหารเสริมที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง (whole food ingredients) และร้อยละ 35 ต้องการทราบที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์

8.อาหารที่ทำจากพืชเป็นหลัก

25

ภาพจาก https://bit.ly/3bkTvmo

ผลิตภัณฑ์เนื้อที่ทำจากพืชไม่ถือเป็นเรื่องใหม่ ปัจจุบันมีแบรนด์เนื้อที่ทำจากพืช เช่น Beyond Meat และ Impossible Burger เข้ามาเจาะตลาดคนที่ชอบทานเนื้อสัตว์แต่อยากเปลี่ยนมาทานอาหารจากพืชแล้ว ตลาดอาหารทดแทนเนื้อสัตว์ทั่วโลกมีมูลค่า 69,075 ล้านบาทและเติบโตขึ้นทุกวัน

คาดว่าตลาดนี้จะขยายตัวจนแตะ 118,463 ล้านบาทภายในปี พ.ศ. 2570 จึงเป็นตลาดที่น่าเข้ามาอย่างมากสำหรับธุรกิจขายส่งอาหาร โดยมีผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เนื้อเบอร์เกอร์ที่มีลักษณะ กลิ่น และรสชาติเหมือนเนื้อสัตว์ ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ทดแทนจากพืช เช่น โปรตีนถั่ว เบอร์เกอร์เห็ด และโปรตีนถั่วลูกไก่ ความต้องการอาหารปลอดเนื้อสัตว์จึงเติบโตได้อีกแน่นอน

9.อาหารพร้อมทาน

11

อาหารพร้อมทาน ยังคงครองใจผู้บริโภคชาวเมืองที่มีชีวิตรีบเร่งแข่งกับเวลา โดยคาดว่าตลาดอาหารปรุงสุกพร้อมทานจะเติบโตต่อเนื่องไปจนถึงปี 2024 ร้านอาหารหลายแห่งปรับตัวมาขยายบริการอาหารกลับบ้านทั้ง Take-Out และ Ready-to-Eat เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ Work from Home และกลุ่มที่อยากลดการสัมผัส โดยจากเดิมอาหารพร้อมทานมักเน้นความสะดวก คุ้มค่าราคาและเป็นเมนูที่คุ้นเคย

แต่ปัจจุบันผู้บริโภคกลับมองหา “ประสบการณ์ขั้นกว่า” จากอาหารพร้อมทาน ไม่ว่าจะเป็นรสชาติ เนื้อสัมผัส วัตถุดิบ คุณค่าทางโภชนาการ และการนำเสนอ เพื่อให้รู้สึกเหมือนได้ออกไปทานอาหารในร้านดีๆ

10.อาหารแบบ Delivery

10

Delivery เรียกว่าเป็นธุรกิจที่มาแรงตั้งแต่ปี 2563 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ช่วงแรกๆ ไทยต้องทำการล็อกดาวน์ ปิดประเทศ ห้ามนั่งกินในร้านอาหาร รวมถึงหลายคนต้อง Work From Home ทำให้การสั่งอาหารผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงแอปพลิเคชัน ได้รับความนิยมอย่างมาก ดังจะเห็นได้จาก ไรเดอร์ของ Delivery แต่ละเจ้า ที่ไปนั่งรอตามหน้าร้านอาหารเพื่อรับออเดอร์ไปส่งยังลูกค้า

แม้สถานการณ์จะดีขึ้น แต่ดูเหมือนการสั่งอาหารแบบ Delivery จะเป็นความเคยชินของใครหลายๆ คน ซึ่งตอบโจทย์ในเรื่องของความสะดวก รวดเร็ว บางครั้งมีโปรโมชั่นจากแอปพลิเคชัน หรือร้านค้า ทำให้คุ้มค่ากว่าการออกไปรับประทานอาหารที่ร้านเป็นไหนๆ

นอกจากเทรนด์อาหารเหล่านี้ “อาหารที่มีโปรตีนสูง” อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ถั่วต่าง ๆ นมถั่วเหลือง และนมอัลมอนต์ ก็เป็นตลาดที่มาแรงเช่นกัน เพราะให้คุณค่าทางด้านโภชนาการสูง และยังพกพาได้สะดวก เป็นแหล่งพลังชั้นดี ร่างกายสามารถดูดซึมอาหารได้โดยตรงและยังมีทางเลือกให้กับคนรักสุขภาพไม่ว่าจะเป็นสายวีแกน หรือสายไดเอทต่าง ๆ

และตลาดอาหารสุขภาพนี้คาดว่าในปี 2565 ตลาดจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 213,099 ล้านบาท ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.7 ต่อปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากพฤติกรรมการที่เปลี่ยนไปเพราะการแพร่ระบาดของโควิดทำให้ คนหันมาสนใจสุขภาพ อยากกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มมากขึ้น


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3bqQhhz , https://bit.ly/3nwootQ , https://bit.ly/3GmE0sB , https://bit.ly/3GoKirK , https://bit.ly/3bb6as5 , https://bit.ly/3b8vu1W , https://bit.ly/3mc4epI , https://bit.ly/3mgH80U , https://bit.ly/3vM5mmZ , https://bit.ly/3me621m , https://bit.ly/2ZqnpUh ,https://bit.ly/3mh6LPc

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3bl5MY3

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด