ส่องอาณาจักร “คาราบาวกรุ๊ป” แต่ละธุรกิจ มีรายได้มากแค่ไหน?
ปัจจุบันบริษัทในเครือ “ คาราบาวกรุ๊ป ” มีอยู่มากมายตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ครอบคลุมทั้งธุรกิจเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ ธุรกิจผลิตขวด กระป๋อง กล่องลัง โรงเบียร์ ร้านสะดวกซื้อ โชห่วย อาหาร เครื่องสำอาง ฯลฯ โดยมีแม่ทัพใหญ่กุมบังเหียนอย่าง “คุณเสถียร เสถียรธรรมะ” เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารคาราบาวกรุ๊ป และบริษัทอื่นๆ ในเครือฯ มาดูกันว่า มีบริษัทอะไรบ้างอยู่ในเครือ “คาราบาวกรุ๊ป” แต่ละบริษัททำธุรกิจอะไร มีรายได้มากแค่ไหน?
1.บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- จดทะเบียน 8 ก.ค. 2557
- ทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท
- ปี 2566 รายได้ 1,932,594,513 บาท กำไร 1,056,384,134 บาท
2. บริษัท เอเชียแปซิฟิกกลาส จำกัด
- จดทะเบียน 23 ก.ย. 2548
- ทุนจดทะเบียน 1,300 ล้านบาท
- ประกอบธุรกิจผลิตและจัดหาขวดแก้วเพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังและเครื่องดื่มอื่นๆ โดยผลิตขวดแก้วภายใต้การดำเนินงานของ APG สามารถรองรับปริมาณน้ำแก้วสูงสุดประมาณ 640 ตันต่อวัน
- ปี 2566 รายได้ 2,218,228,642 บาท กำไร 422,428,278 บาท
3. บริษัท เอเชียแคน แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
- จดทะเบียน 15 มิ.ย. 2560
- ทุนจดทะเบียน 700 ล้านบาท
- ประกอบธุรกิจผลิตกระป๋องอลูมิเนียมเพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังและเครื่องดื่นอื่นๆ โรงผลิตกระป๋องอลูมิเนียมภายใต้การดำเนินงานของ ACM ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 1 ไร่ เอื้ออำนวยต่อการติดตั้งเครื่องจักร 2 สายการผลิต โดยในปัจจุบัน ACM ติดตั้งเครื่องจักรจำนวน 1 สายการผลิต รองรับปริมาณผลิตกระป๋องอลูมิเนียมสูงสุดประมาณ 1,000 ล้านกระป๋องต่อปี
- ปี 2566 รายได้ 1,586,424,965 บาท กำไร 229,833,474 บาท
4. บริษัท เอเชีย แพ็คเกจจิ้ง แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
- จดทะเบียน 2 มี.ค. 2563
- ทุนจดทะเบียน 700 ล้านบาท
- ประกอบธุรกิจผลิตและจัดหาบรรจุภัณฑ์ 3 ประเภท คือ กล่องกระดาษลูกฟูก ฉลากพลาสติกชนิด OPP และแผ่นฟิล์มหด เพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงกำลัง และเครื่องดื่มอื่น APM
- ปี 2566 รายได้ 630,836,011 บาท กำไร 51,469,764 บาท
5. บริษัท คาราบาวตะวันแดง จำกัด
- จดทะเบียน 22 ส.ค. 2544
- ทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท
- ประกอบธุรกิจผลิต การตลาด ขายและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มบำรุงกำลังและเครื่องดื่มอื่นๆ ที่บริษัทฯ จะดำเนินการผลิตเพื่อจัดจำหน่ายในอนาคตทั้งสำหรับธุรกิจในประเทศ และต่างประเทศ ปัจจุบันโรงผลิตภายใต้การดำเนินงานของ คาราบาวตะวันแดง สามารถรองรับปริมาณบรรจุ สินค้าสำเร็จรูปสูงสุดประมาณ 2,500 ล้านกระป๋องและ 2,400 ล้านขวดต่อปี
- ปี 2566 รายได้ 10,605,600,981 บาท กำไร 854,439,159 บาท
6. บริษัท ตะวันแดง ดีซีเอ็ม จำกัด
- จดทะเบียน 26 มิ.ย. 2555
- ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท
- บริหารจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศ ครอบคลุมทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าที่กลุ่มบริษัทฯ เป็นเจ้าของ และรับจ้างจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งประเภทอาหารและประเภททั่วไปที่ไม่ใช่อาหารให้แก่บุคคลภายนอก โดยช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้การดำเนินงานของ DCM อาทิ Traditional trade และ Modern trade
- ปี 2566 รายได้ 12,596,384,021 บาท กำไร 281,891,166 บาท
7. บริษัท เอ วู้ดดี้ ดริงค์ จำกัด
- จดทะเบียน 26 ก.พ. 2563
- ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท
- ประกอบธุรกิจการตลาด และขายเครื่องดื่มประเภท Functional Drinks ภายใต้เครื่องหมายการค้า วู้ดดี้ ซี+ ล็อค และเครื่องดื่มประเภท Functional Drinks หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่จะพัฒนาขึ้นในอนาคต
- ปี 2566 รายได้ 91,833,343 บาท กำไร 4,753,594 บาท
8. บริษัท คาราบาว มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป จำกัด
- จดทะเบียน 16 มี.ค. 2564
- ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท
- ประกอบกิจการเกี่ยวกับการสร้าง บำรุงรักษา และพัฒนาออนไลน์แอพพลิเคชั่น และข้อมูลต่าง ๆ
9. บริษัท INTERCARABAO LIMITED
ประกอบธุรกิจการตลาด ขายและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของกลุ่มบริษัทฯ ในประเทศอังกฤษ และประเทศอื่นนอกทวีปเอเชีย
ธุรกิจในเครือตระกูล “เสถียรธรรมะ”
นอกจาก “คุณเสถียร เสถียรธรรมะ” จะกุมบังเหียนอาณาจักร “คาราบาวกรุ๊ป” ยังกุมบังเหียนธุรกิจในเครือฯ อาทิ “ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส” ผู้บริหารเชนร้านสะดวกซื้อ CJ Supermarket, CJ More และ CJX รวมถึงบริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านโชห่วยสมัยใหม่ “ถูกดี มีมาตรฐาน” และ บริษัท ตะวันแดง 1999 จำกัด
1. บริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด
- จดทะเบียน 28 มี.ค. 2556
- ทุนจดทะเบียน 2,856 ล้านบาท
- ร้านสะดวกซื้อ CJ Supermarket, CJ More, CJX รวมถึงศูนย์การรับชำระเงินและบริการเสริมเกี่ยวข้องกับร้านสะดวกซื้อภายในเครื่องหมายการค้า “CJ EXPRESS, CJ VALUE และ ร้านเครื่องสำอาง NINE COSMETIC”
- ปี 2566 รายได้ 44,464,589,578 บาท กำไร 2,623,155,641 บาท
2. บริษัท ซีเจ มอร์ จำกัด
- จดทะเบียน 11 พ.ย. 2565
- ทุนจดทะเบียน 2,884 ล้านบาท
- กิจกรรมบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ลงทุนในธุรกิจการเงินเป็นหลัก
- ปี 2566 รายได้ 2,757,018,227 บาท กำไร 2,650,964,194 บาท
3. บริษัท โรงเบียร์ตะวันแดง 1999 จำกัด
จดทะเบียน 23 มิ.ย. 2560
ทุนจดทะเบียน 900,000,000 บาท
การผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์
ปี 2566 รายได้ 1,458,583,574 บาท กำไร 36,742,924 บาท
4. บริษัท โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง 1999 จำกัด
- จดทะเบียน 17 พ.ย. 2557
- ทุนจดทะเบียน 40,000,000.00 บาท
- ผลิตและจำหน่ายเบียร์ทุกประเภท และจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มทุกประเภท
- ปี 2566 รายได้ 185,497,130 บาท กำไร 32,408,504 บาท
5. บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด
- จดทะเบียน 17 ก.พ. 2555
- ทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท
- ร้านสะดวกซื้อชุมชนสมัยใหม่ “ถูกดี มีมาตรฐาน” ภายใต้แนวคิด “ร้านค้าของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน”
- ปี 2566 รายได้ 20,290,992,277 บาท ขาดทุน 991,101,478 บาท
6. บริษัท ตะวันแดง 1999 จำกัด
- จดทะเบียน 22 ก.ค. 2553
- ทุนจดทะเบียน 900,000,000 บาท
- ธุรกิจผลิตสุรากลั่น เหล้าขาวตะวันแดง
- ปี 2566 รายได้ 6,646,159,394 บาท กำไร 817,772,005 บาท
นั่นคือ ธุรกิจต่างๆ ในเครืออาณาจักร “คาราบาวกรุ๊ป” ภายใต้การบริหารของ “คุณเสถียร เสถียรธรรมะ” รวมถึงธุรกิจภายใต้อาณาจักร “CJ” ร้านสะดวกซื้อสัญชาติไทยที่ปลุกปั้นด้วยมือของ “คุณเสถียร” เช่นเดียวกัน โดยในปี 2566 ทุกธุรกิจในเครือมีรายได้รวมกันมากกว่า 1 แสนล้านบาท ทุกธุรกิจทำไรมาโดยตลอด แต่มีบางธุรกิจขาดทุนมาจากการแข่งขันในตลาด
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
ข้อมูลจาก https://bit.ly/3A2oAvm , https://bit.ly/4dJtjzO
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)