ส่องร้านราคาเดียว กลยุทธ์ง่ายๆรายได้พันล้านบาท

ร้านสินค้าราคาเดียวมีมูลค่าการตลาดไม่ต่ำกว่าปีละ 3,000 ล้านบาท และมีอัตราเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 20-50% ถ้ารวมทุกแบรนด์ที่มีอยู่ในเมืองไทยตอนนี้คาดว่ามีร้านสินค้าราคาเดียวอยู่ทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 600 แห่ง วิเคราะห์ในเชิงความรู้สึกทำไมร้านสินค้าราคาเดียวถึงฮิต www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าเป็นเพราะธุรกิจนี้ตอบโจทย์คนยุคใหม่ คือเน้น สะดวก คุ้มค่า

โดยการซื้อสินค้าในร้านประเภทนี้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ ไม่ต้องคำนึงว่าราคาสินค้าจะถูกหรือแพง และพฤติกรรมลูกค้าส่วนใหญ่จะไม่ได้ซื้อสินค้าเพียงอย่างเดียวชิ้นเดียว จะเลือกซื้อสินค้าหลายๆ อย่าง หรือจะเรียกว่าเป็นการซื้อตามอารมณ์ก็ว่าได้ จึงไม่น่าแปลกใจถ้าจะบอกว่าร้านสินค้าราคาเดียวยังมีทิศทางที่สดใส แต่ทั้งนี้เรื่องกลยุทธ์ในการขายก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากเช่นกันด้วย

การแข่งขันดุเดือดตลาด “สินค้าราคาเดียว”

ส่องร้านราคาเดียว

ภาพจาก https://bit.ly/3MUZwIf

ร้านค้าราคาเดียว หรือ One Price Shop ส่วนใหญ่ชูจุดเด่นคือ “ของดี ราคาถูก” และเน้นสินค้าที่มีหลากหลาย และในยุคที่คนส่วนใหญ่รายได้เท่าเดิมหรือน้อยลง การใช้จ่ายจึงต้องประหยัดมากขึ้น การเลือกซื้อสินค้าจึงต้องให้คุ้มค่าเหมะสมกับรายได้ที่มี

ดังนั้นสินค้าราคาเดียวจึงตอบโจทย์มาก ในเมืองไทยมีร้านสินค้าราคาประหยัด สินค้าราคาเดียวอยู่จำนวนมาก เช่น Daiso , KOMONOYA , MINISO , Mumuso , Just Buy , Penguin12shop , Bear Store , Moshi Moshi , MINI MONO , STRAWBERRY CLUB เป็นต้น ซึ่งแต่ละร้านก็มีสาขาของตัวเองอยู่จำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ทั้งภายในห้างสรรพสินค้าและย่านชุมชนทั่วไป

9

ภาพจาก แฟรนไชส์ ทัดดาวทุกอย่าง 20

ไม่นับรวมในรูปแบบของแฟรนไชส์ที่มีให้เลือกลงทุนหลายแบรนด์เช่น ทัดดาวทุกอย่าง 20 ที่มีค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 79,000 บาท ซึ่งตอนนี้มีสาขารวมกว่า 99 แห่ง หรืออย่างแฟรนไชส์ นพรัตน์ 20 ที่มีค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 50,000 บาท และตอนนี้มีสาขารวมกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ

8

ภาพจาก แฟรนไชส์ นพรัตน์ 20

ซึ่งนอกจากนี้ยังมีอีกหลายแฟรนไชส์ที่น่าสนใจให้เลือกลงทุนได้ตามต้องการ แน่นอนว่าเรื่องกลยุทธ์และการตลาดเป็นสิ่งที่ขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด แต่ละธุรกิจต่างมีจุดเด่น จุดแข็ง และข้อได้เปรียบของตัวเอง มีการพัฒนารูปแบบธุรกิจ สร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ เพื่อให้ประทับใจลูกค้า

เจาะกลยุทธ์ร้านราคาเดียว รายได้เท่าไหร่ กำไรดีแค่ไหน

วิเคราะห์ในเรื่องกระแสสินค้าราคาเดียว ส่วนใหญ่จะเน้นที่สินค้าราคาประหยัด สินค้าในร้านมีหลากหลายครบทุกความต้องการ แต่คำว่าราคาเดียวเป็นกลยุทธ์ดึงดูดลูกค้าแต่เอาเข้าจริงๆ ในร้านก็มีสินค้าหลายราคาให้เลือกเริ่มต้น 20 หรือ 60 บาท ก็ตามแต่ ประเด็นสำคัญคือร้านเหล่านี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ดังจะเห็นว่ามีคนสนใจลงทุนเพิ่มมากขึ้นมาก โดยปัจจุบันมีหลายแบรนด์ที่ทำตลาดและเปิดดำเนินกิจการ ลองไปดูเป็นข้อมูลเบื้องต้นว่าร้านเหล่านี้มีรายได้เท่าไหร่ และกำไรดีแค่ไหน

1.MINISO

mii

ภาพจาก https://bit.ly/3qn1fMO

MINISO ค้าปลีกสัญชาติจีน จำหน่ายสินค้าคุณภาพดีในระดับราคาที่สัมผัสได้ ปัจจุบัน MINISO มีสาขาทั่วโลกแล้วกว่า 1,400 สาขา ใน 56 ประเทศ รวมถึงในประเทศไทย โดย MINISO ได้เข้ามาตั้งสาขาแรกในไทยที่ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ สาขาศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ปี 2559 ดำเนินงานภายใต้ชื่อบริษัท มินิโซ (ไทยแลนด์) จำกัด โดยมีบริษัท ซิงไท่ เทรดดิ้ง จำกัด เป็นผู้นำเข้าสินค้าที่มาจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว

MINISO มีโมเดลการทำธุรกิจแบบ “Stores Retailing” ที่เน้นเฉพาะการขายผ่านหน้าร้านตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ โดยจะไม่มีบริการขายผ่านทางออนไลน์เป็นของตัวเอง โดยมีสินค้าที่หลากหลาย คุณภาพดี ครบทุกหมวดหมู่ รวมถึงสินค้าแฟชั่นต่างๆ มีการจัดร้านแต่งร้านแบบพรีเมี่ยมที่ดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น ในปี 2563 MINISO มีรายได้รวม 18,108,297.86 บาท กำไรสุทธิ 4,198,027.60 บาท

2.Mumuso

mii1

ภาพจาก https://bit.ly/3CXUZjC

Mumuso ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2557 ที่เซี่ยงไฮ้ และประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2559 ได้เริ่มขยายตลาด ต่างประเทศครั้งแรกที่ฟิลิปปินส์ จากนั้นก็ขยายสาขาไปทั่วโลก ได้แก่ รัสเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และประเทศแถบอเมริกาใต้ โดยมีจุดเด่นเรื่องงานดีไซน์มินิมอลสไตล์เกาหลี โดยปัจจุบันมูมูโซมีมากกว่า 600 สาขาในกว่า 150 เมืองทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย มีทั้งหมด 7 สาขา ได้แก่ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ นครราชสีมา, สยามสแควร์ วัน กรุงเทพฯ, สุพรรณบุรี, บางแสน ชลบุรี, สมุทรสาคร, พระนครศรีอยุธยา และพิษณุโลกบริษัทฯ

จุดเด่นของ Mumuso คือเน้นส่งเสริมการตลาดชัดเจนเช่น ตั้งงบประมาณ 150 ล้านบาทสำหรับกิจกรรมส่งเสริมการขายหน้าร้าน และ ณ จุดขายต่างๆ ควบคู่ไปกับกิจกรรมผ่านโซเชียลมีเดียของมูมูโซ มีรายได้เฉลี่ยต่อปีไม่ต่ำกว่าปีละ 200 ล้านบาทที่สำคัญมีการลงทุนในรูปแบบแฟรนไชส์ให้ผู้สนใจได้เลือกตามต้องการ ราคาแฟรนไชส์ ประมาณ 3-5 ล้านบาท ในพื้นที่ตั้งแต่ 80-200 ตารางเมตร หากอยู่ในทำเลที่เป็นแหล่งชุมชน เดินทางสะดวก และเข้าถึงง่าย จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ 1.5 ปี โดยทาง Mumuso จะประเมินศักยภาพของทำเล กำลังซื้อ ช่วยเลือกสินค้าในร้าน วางระบบสต็อก ตลอดจนจัดอบรมการบริหารร้านและการทำการตลาดให้ทั้งหมด

3.Just Buy

mii2

ภาพจาก https://bit.ly/3IrIcHn

Just Buy เป็นร้านค้าปลีกสินค้าราคาประหยัดกลุ่มที่อยู่ในประเภท “ไลฟ์สไตล์ช็อปราคาเดียว” ภายใต้การดำเนินงานของ “โรบินสัน” จำหน่ายในราคาเริ่มต้นที่ 60 บาท ซึ่งได้รับความสำเร็จ และการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นของ Just Buy คือมีการปรับตัวเพื่อให้ตรงตามกระแสของตลาดและความต้องการของลูกค้ามาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น การปรับปรุงรูปแบบร้านให้มีความทันสมัย การขยายพื้นที่การขายเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า โดยในปัจจุบันแบรนด์มีสาขาให้บริการรวมทั้งสิ้น 42 สาขา

ที่สำคัญ Just Buy ในการบริหารงานของโรบินสันที่ได้ชื่อว่ามีประสบการณ์ในธุรกิจค้าปลีกระดับประเทศ มีทีมการตลาดที่ดี และการพัฒนาสินค้าที่หลากหลายครบทุกความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย อย่าง Just Buy ถือเป็นสินค้าในกลุ่ม House brand ที่สร้างรายได้ให้กับโรบินสันได้ในสัดส่วนถึง 12% จากยอดขายโดยรวมทั้งหมด แถมยังมีการเติบที่ดีอย่างต่อเนื่อง

4.Moshi Moshi

mii3

ภาพจาก https://bit.ly/3KZuoWi

Moshi Moshi เป็นร้านขายสินค้าภายใต้บริษัท โมชิ โมชิ เจแปน จำกัดเปิดตัวสาขาแรกที่แพลตตินัมแฟชั่นมอลล์ เมื่อปี 2559 จุดเด่นของ Moshi Moshi คือการเลือกใช้เอกลักษณ์และภาพลักษณ์ของสินค้าสไตล์ญี่ปุ่นที่มาพร้อมความมินิมอลตามแบบสมัยนิยมของคนรุ่นใหม่ทำให้ Moshi Moshi มียอดขายเพิ่มขึ้น ข้อมูลระบุว่าสาขาแรกที่เปิดตัวเคยมีรายได้ถึง 61 ล้านบาท

หลังจากนั้นได้มีการขยายตัวเปิดสาขาเพิ่มขึ้นอีก 5 สาขา จึงทำให้มียอดขายที่สูงขึ้นเกินกว่า718% ด้วยยอดขายทั้งสิ้น 438 ล้านบาท มาถึงในปี 2561 มีรายได้รวมถึง 1,286 ล้านบาท และในปัจจุบัน Moshi Moshi มีแนวโน้มการทำรายได้สูงกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี โดยสินค้าในร้านคือครบจบทุกความต้องการ ถือเป็นร้านสินค้าราคาประหยัดที่กลายเป็นธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ

5.MINI MONO

mii4

ภาพจาก https://bit.ly/3ulj9km

กระแสสินค้าราคาเดียวที่กำลังได้รับความนิยม เครือเซ็นทรัลเองก็ไม่พลาดที่จะเข้าร่วมในธุรกิจนี้ กับการเปิดตัว MINI MONO โดยสาขาแรกอยู่ที่สีลมคอมเพล็กซ์ คอนเซปต์ของร้านคือขายสินค้าดีไซน์น่ารักๆ ราคาเริ่มต้น 60 – 300 บาท

จุดเด่นที่น่าสนใจคือสินค้าภายในร้านที่คัดสรรคุณภาพและมีครบทุกความต้องการ ทั้งเครื่องสำอาง แอคเซสซอรี่ เครื่องเขียน เกดเจด อุปกรณ์ในครัวประเดิม ปัจจุบันมีอยู่ 18 สาขา เป็นอีกหนึ่งธุรกิจในเครือเซ็นทรัลที่เข้ามาเพิ่มเติมและดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาช็อปปิ้งมากขึ้น สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับธุรกิจ

6. KOMONOYA

7

ภาพจาก https://bit.ly/3IcABMN

KOMONOYA หรือที่รู้จักกันในนามร้าน 100 เยน เปิดสาขาแรกที่เซ็นทรัลลาดพร้าว เมื่อปี 2552 ภายหลังกลุ่มเซ็นทรัล นำโดย เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) เข้าซื้อหุ้นจากบริษัท วัตตส์ ประเทศญี่ปุ่น ในสัดส่วน 51% กระทั่งมีการเปิด ร้าน WATTS ต้นแบบจากญี่ปุ่นในประเทศไทย ปัจจุบันมีร้านโคโมโนยะ 37 สาขา และร้านวัตตส์ 9 สาขา

แต่ร้าน KOMONOYA เป็นไลฟ์สไตล์ช็อปสัญชาติญี่ปุ่น ที่เน้นการขายสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นในราคาเริ่มต้น 60 บาท เน้นกลุ่มสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านที่มีฟังก์ชันใช้งานได้จริง คุ้มค่า ราคาไม่แพง ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ โดยในปี 2563 มีรายได้รวม 335,120,781.00 บาท

7.Strawberry Club

mii5

ภาพจาก https://bit.ly/3JuULTo

Strawberry Club ดำเนินกิจการมานานกว่า 17 ปี เริ่มจากการเป็นร้านกิ๊ฟช็อปเล็กๆ และพัฒนาต่อเนื่องจนมาเป็นร้านสินค้าราคาประหยัดที่มีสินค้าหลากหลาย ปัจจุบันมีสินค้าครบทุกหมวดหมู่กว่า 1,000 รายการ แบ่งออกเป็น 6 หมวดได้แก่ กิ๊ฟช็อป, ของใช้, อุปกรณ์ IT, กระเป๋าช้อปปิ้ง, งานไม้, อุปกรณ์เสริมสวย เป็นต้น และมีการพัฒนารูปแบบลงทุนสู่ระบบแฟรนไชส์ลงทุนเริ่มต้น 150,000 บาท จะได้รับสินค้าพร้อมอุปกรณ์ตกแต่งร้าน ชั้นวางโชว์สินค้า ป้ายร้าน ป้ายราคา เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีรูปแบบอื่นๆให้เลือกลงทุนอีกด้วย สินค้าแต่ละชิ้นสามารถทำกำไรได้ 25-30%จากราคาจำหน่าย มีระยะเวลาคืนทุนที่ตั้งไว้ 4-6 เดือน ทั้งนี้ผู้สนใจลงทุนที่อยู่ในกรุงเทพฯ สามารถเข้ามาเลือกสินค้าได้ที่โกดังของ Strawberry Clubส่วนลูกค้าต่างจังหวัดสั่งซื้อสินค้าผ่าน Line พร้อมจัดส่งได้ในทันที

ภาพรวมกลยุทธ์ร้านราคาเดียว ที่สร้างรายได้กว่าพันล้านต่อปี

รายได้ของร้านค้าในรูปแบบนี้แต่ละปีมีรายได้มหาศาล แต่ใช่ว่าจะคิดแล้วทำได้เลยสิ่งสำคัญคือกลยุทธ์ที่ต้องนำมาใช้ให้เหมาะสม ซึ่งถ้าลองรวบรวมดูจะพบว่ามีกลยุทธ์ที่น่าสนใจดังนี้

1.เล่นกับอารมณ์คนซื้อ

6

ภาพจาก https://bit.ly/3IkipRp

ร้านราคาเดียวส่วนใหญ่กำลังเป็นธุรกิจที่มีทิศทางขาขึ้น สอดรับกับผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่นิยมซื้อสินค้าราคาเดียวทั้งร้าน เพราะเป็นความรู้สึกทางด้านอารมณ์ (Emotional) ชื่นชอบแต่แรกเห็น และซื้อสินค้าโดยไม่ต้องคิดมาก เพราะราคาเป็นตัวนำ

2.คำนวณแบบเฉลี่ยต้นทุนโดยรวม

5

ภาพจาก https://bit.ly/3thTKZr

ในแง่ต้นทุนใช้วิธีการคำนวณแบบเฉลี่ยต้นทุนโดยรวม สินค้าหลายชิ้นในร้านมีต้นทุนใกล้เคียงกับราคาขาย หรือบางชิ้นก็ราคาถูกแบบไม่น่าเชื่อ แต่อีกหลายๆ ชิ้นต้นทุนก็น่าจะต่ำกว่าราคาขายหากมองในแง่ของกำไรแล้วอาจยอมขาดทุนในสินค้าบางรายการ เพื่อเป็นตัวเรียกลูกค้าเข้าร้าน เพื่อหวังจะได้ขายสินค้าตัวอื่นที่มีกำไรมาก

3.เน้นการสร้างจุดขายภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้คนจดจำ

4

ภาพจาก https://bit.ly/3tik8Cp

เราจะเห็นได้ว่าร้านสินค้าราคาเดียว หรือราคาประหยัดเหล่านี้ส่วนใหญ่มีการจัดและตกแต่งพื้นที่อย่างสวยงาม ดูมีไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ไม่ใช่ร้านธรรมดาที่เอาสินค้ามาวางกองๆ ให้คนเลือกซื้อ นั่นคือเสน่ห์ของร้านที่ดึงดูดคนให้เข้ามาในร้าน คอนเซปต์ส่วนใหญ่คือแต่งร้านแบบพรีเมี่ยมแต่สินค้าราคาเบาๆ ก็เป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่คนพูดถึงได้มาก

4.จัดแบ่งหมวดหมู่สินค้าให้เลือกง่าย

3

ภาพจาก https://bit.ly/3iduHAf

การที่ลูกค้าซื้อสินค้าง่ายขึ้น ในราคาที่ถูกลง ก็ไม่ได้หมายความว่า ร้านสินค้าราคาเดียวจะอยู่ได้ด้วยการนำเสนอสินค้าเพียงแค่ไม่กี่ชนิด ผู้ประกอบการแต่ละแบรนด์ต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าด้วย และจัดแบ่งหมวดหมู่ จำนวนสินค้า ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ และความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด ในพื้นที่จำกัด 100-300 ตารางเมตร

5.บริหารจัดการสต็อคสินค้าอย่างมีระบบ

2

ภาพจาก https://bit.ly/3u1NB2x

ทุกแบรนด์ที่ขายสินค้าราคาเดียวหรือสินค้าราคาประหยัดจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักการบริหารต้นทุนสินค้าให้ดี ต้องมีซัพพลายเออร์ที่เชื่อถือได้ มีการหมุนเวียนสินค้าที่รวดเร็ว และมีความถี่สูง ต้องสามารถจัดหาสินค้าที่คนกำลังต้องการ สินค้าที่ตามกระแส และสามารถเปลี่ยนสินค้าตามเทรนด์ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นกลยุทธ์การบริหารสต็อคจึงมีความสำคัญมาก

1

ภาพจาก https://bit.ly/3KUnhhx

ที่สำคัญกลยุทธ์ราคาเดียวนี้แม้ว่ากำไรต่อหน่วย (ชิ้น) ของสินค้าจะไม่มากนัก แต่อาศัยการขายได้ในปริมาณมากๆ และต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า ต้องมีพนักงานคอยให้คำแนะนำในบางโอกาส ระบบคิดเงินต้องสะดวกรวดเร็ว เรื่องงานบริการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ชี้วัดได้ว่าธุรกิจจะอยู่รอดหรือมีกำไรได้มากแค่ไหน ในยุคที่โซเชี่ยลมีอิทธิพลอย่างมาก ร้านไหนที่บริการดี มีสินค้าประทับใจ มักจะถูกแชร์ต่อบอกต่อคนจะยิ่งรู้จักมากขึ้น ดังนั้นกลยุทธ์ในด้านการตลาดออนไลน์ก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขายได้มากยิ่งขึ้น


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/362t3Pp , https://bit.ly/3w7jWrl , https://bit.ly/3JflMdG

อ้างอิงจาก https://bit.ly/36s2pzi

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด