ส่อง! แฟรนไชส์ไทยปรับการขายอย่างไร ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

ท่ามกลางการระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 เชื่อว่ายอดขายแฟรนไชส์ของหลายๆ แบรนด์ จะต้องลดลงอย่างแน่นอน โดยเฉพาะร้านค้าแฟรนไชส์ที่เปิดสาขาบนห้างสรรพสินค้า คอมมิตี้มอลล์ต่างๆ แหล่งท่องเที่ยว ถนนหนทาง เนื่องจากลูกค้าไม่กล้าเสี่ยงไปเดินเพราะกลัวติดจะติดเชื้อ ดังนั้น จึงควรจะหาวิธีที่จะรักษายอดขายให้ได้ อาจจะลดลงบ้าง แต่อย่าให้เกินรับไหว

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com พาไป ส่อง แฟรนไชส์ไทย ปรับการขายอย่างไร ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงกรณีศึกษาของแฟรนไชส์ “หมูปิ้งเฮียอ้วน” ที่สามารถปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้เข้ากับวิกฤตได้เป็นอย่างดี หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เปลี่ยนรูปแบบแฟรนไชส์จากขายริมถนนมาเป็นขายในบ้าน แล้วเดลิเวอรี่ส่งลูกค้า

ส่อง แฟรนไชส์ไทย

การส่งเดลิเวอรี่ KFC ในจีน
ภาพจาก bit.ly/2USHgVM

เราจะเห็นได้ว่าแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ทั่วโลก โดยเฉพาะร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ได้เปลี่ยนรูปแบบการให้บริการลูกค้าในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากให้ลูกค้านั่งทานตามโต๊ะในร้าน เป็นการให้ลูกค้าซื้อกลับไปทานที่บ้าน หรือบริการเดลิเวอรี่ ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่ของโลก KFC ในประเทศจีน ได้ให้บริการลูกค้าแบบเดลิเวอรี่แบบไม่สัมผัส เว้นระยะห่างทางสังคมระหว่างลูกค้ากับพนักงานจัดส่งอาหาร เรียกได้ว่าแค่ปรับตัวยอดขายก็ไม่ลดลง มีรายได้เพิ่มด้วยซ้ำ

สำหรับแฟรนไชส์ “หมูปิ้งเฮียอ้วน” นั้น ได้ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ จากเดิมรูปแบบของการขายแฟรนไชส์เป็นชุดขายตามถนนหรือรถเข็น ได้เปลี่ยนมาเป็นการขายแฟรนไชส์ในรูปแบบ “ชุดขายจากบ้าน” มุ่งเน้นการเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในบ้าน และนิยมสั่งอาหารผ่านแอปฯ ฟู้ดต่างๆ ซึ่งชุดแฟรนไชส์ดังกล่าวให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถผ่อนชำระผ่อน 0% นาน 10 เดือน

11

ภาพจาก facebook.com/fatbrobkk

แฟรนไชส์หมูปิ้งเฮียอ้วน ถือเป็นธุรกิจหมูปิ้งที่ยอดขายสูงที่สุดในประเทศไทย ตำนานกว่า 30 ปี ยอดขายกว่า 20,000 บาทต่อคืน วันนี้พร้อมที่จะเปิดขายแฟรนไชส์ทั่วประเทศ ให้กับผู้ที่สนใจได้ร่วมลงทุนแล้ว ทั้งแบบชุดขายรถเข็น และชุดขายจากบ้าน ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 2-4 เดือนขึ้นอยู่กับทำเล โดยเปิดแฟรนไชส์ขายจากบ้านใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 40,000 บาท

สิ่งที่จะได้รับ เช่น เตาเเก๊ส, หมูปิ้งเฮียอ้วนพรอ้มย่าง 200 ไม้ (ขายหมดได้ทุนคืนทันที 2,400บาท), กระติกข้าวเหนียว, ถาดสแตนเลสเตรียมหมู, ขวดบีบน้ำจิ้ม

10

ภาพจาก facebook.com/fatbrobkk

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ทางบริษัทฯ จะต้องเพิ่มนโยบายบังคับให้ท่านส่งซื้อหน้า กาก 3Ply เเละถุงมืออนามัยจากทางบริษัทฯ จํานวนวันละ 1 ชุด (เพื่อใช้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง) ราคาชุดละ 20บาท นโยบายนี้จะสิ้นสุดการบังคับเมื่อทางรัฐบาลได้ออกประกาศสามารถ ควบคุมเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แล้ว

นอกจากนี้ การปรับตัวของแฟรนไชส์ไทยในช่วงวิกฤตโควิด-19 เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซอร์ อาจจะต้องให้ส่วนลดค่าธรรมเนียมต่างๆ แก่แฟรนไชส์ซี เพื่อให้แฟรนไชส์อยู่รอดให้พ้นวิกฤตไปด้วยกัน อย่างในกรณีบริษัทแม่แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดในสหรัฐอเมริกาหลายๆ แบรนด์ได้ให้ส่วนลดค่าธรรมเนียม และค่าสิทธิต่อเนื่องแก่แฟรนไชส์ในช่วงวิกฤตโควิด

9

ภาพจาก facebook.com/fatbrobkk

หรือเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจจากการขายผ่านหน้าร้าน เป็นการจับมือกับเดลิเวอรี่มากมายหลายแบรนด์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในยามวิกฤต ถือเป็นทางออกและทางเลือกที่ดี ที่จะทำให้แฟรนไชส์ไทยยังคงรักษาฐานลูกค้า และเพิ่มยอดขายให้ในช่วงนี้ได้ ที่สำคัญกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ในกลุ่มคนยุคใหม่ ลองปรับมาเป็นจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ

8

ภาพจาก facebook.com/fatbrobkk

ขณะเดียวกัน ในช่วงวิกฤตแม้จะขายของไม่ได้ แต่ก็ควรรักษาฐานกลุ่มลูกค้าเอาไว้ให้ถึงที่สุด เพราะเป็นฐานรายได้ที่สำคัญ โดยอาจมีการลดราคาสินค้าลงบ้าง หรือจัดโปรโมชั่นดึงดูดความสนใจ แม้จะได้กำไรไม่มากแต่ก็ถือว่ายังไม่ขาดทุน ที่สำคัญการบริการเป็นจุดหลักที่จะช่วยดึงลูกค้าเก่าของไว้ได้ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันยังคงใช้ได้ในทุกวิกฤต


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก  https://bit.ly/2JLqWkA

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช