ส่อง! อนาคตแฟรนไชส์อเมริกา หลังโควิด-19
การระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเครือข่ายธุรกิจแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกา หลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์ยอดขายลดลง ปิดกิจการชั่วคราวในพื้นที่สีแดงของการระบาด หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเป็นซื้อกลับบ้าน และเดลิเวอรี่ การดิ้นรนของธุรกิจแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่มีอยู่แค่นี้ ยังลุกลามไปถึงการยื่นฟ้องล้มละลายจากวิกฤตโควิด-19
ไม่เพียงแต่ธุรกิจแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา ตามที่กระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริการะบุว่า ชาวอเมริกันกว่า 30 ล้านคนได้ยื่นเรื่องการว่างงานจากจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2563 ซึ่งจำนวนตัวเลขดังกล่าวคิดเป็นประมาณร้อยละ 18.6 ของกำลังแรงงานในสหรัฐอเมริกา
การยื่นฟ้องล้มละลายของธุรกิจแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเครือข่ายแฟรนไชส์ซีของแบรนด์ชื่อดัง อาทิ Pizza Hut, IHOP และ Subway โดยแฟรนไชส์ซีของทั้ง 3 แบรนด์ ได้ทำการยื่นฟ้องล้มละลายไปแล้ว ไม่เว้นแม่แต่แฟรนไชส์แบรนด์ดังของโลกอย่าง แมคโดนัลด์ ที่ได้เตือนไปยังแฟรนไชส์ซีของตัวเอง ว่าพวกเขาอาจต้องลดขนาดให้เล็กหรือขายร้าน
ภาพจาก bit.ly/3hZjHoW
แฟรนไชส์ซอร์แบรนด์ดังๆ ในสหรัฐอเมริกา ต่างต้องทำงานอย่างหนักร่วมกับแฟรนไชส์ซี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด โดยที่ผ่านมาแฟรนไชส์ซอร์ทำหน้าที่ในการสนับสนุนและคำแนะนำให้กับแฟรนไชส์มาโดยตลอด เพื่อฝ่าวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมาเชนร้านอาหารทั่วสหรัฐอเมริกา ได้ปิดตัวและกำลังปิดตัวลงอย่างถาวร เนื่องจากโควิด-19
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แฟรนไชส์ซีทุกรายจะไม่สามารถอยู่ในธุรกิจได้ การดิ้นรนของแฟรนไชส์ซีในสหรัฐอเมริกา จะถูกบังคับให้พยายามขายร้านอาหารของพวกเขา ให้กับบริษัทแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) หรือ แฟรนไชส์ซอร์อื่นๆ หรือฟ้องล้มละลาย
ภาพจาก bit.ly/3fPRfDY
อย่างเช่นกรณี ผู้ได้รับสิทธิแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) Pizza Hut จากรัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกา ได้ยื่นฟ้องล้มละลายในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2563 เช่นเดียวกันกับแฟรนไชส์ซี IHOP หรือ International House of Pancakes แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกาที่มีสาขากว่า 1,650 สาขาทั่วโลกโดยเป็นร้านอาหารที่มีจุดขายเป็นแพนเค้ก ได้ปิดสาขาไปแล้ว 49 แห่ง และ แฟรนไชส์ซีของ Subway ในรัฐเนวาดา ได้ยื่นฟ้องล้มละลายตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา
ไม่เพียงเท่านี้ บริษัทแฟรนไชส์แมคโดนัลด์ ยังได้เตือนแฟรนไชส์ซีของตัวเองไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า แฟรนไชส์ซีบางคนอาจจะได้รับการช่วยเหลือด้านการเงิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่แฟรนไชส์ซีบางรายในบางรัฐอาจต้องลดขนาด หรือขายกิจการออกไป
แฟรนไชส์อเมริกา ส่งสัญญาณเริ่มฟื้นตัว
ภาพจาก bit.ly/2Z6ELB5
แม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกาจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโควิด-19 ตั้งช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา แต่ก็ยังมีสัญญาณบ่งบอกว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในสหรัฐอเมริกา เริ่มที่จะฟื้นตัวหลับมาเหมือนเดิม แฟรนไชส์ซอร์หลายๆ แบรนด์เริ่มที่จะมองหาผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) รายใหม่ๆ หลังจากแฟรนไชส์ซีเดิมได้รับผลกระทบ โดยรูปแบบของแฟรนไชส์ที่ขายออกไป จะมุ่งเน้นผู้ซื้อแฟรนไชส์รายเล็กๆ ขนาดของธุรกิจแฟรนไชส์จะไม่ใหญ่เหมือนเดิม แฟรนไชส์จะไซส์เล็กลง
โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นกลุ่มคนที่ตกงาน หรือกลุ่มคนที่ไม่มีความเชื่อมั่นในงานประจำของตัวเอง อยากออกมาประกอบอาชีพเป็นของตัวเอง อาจจะไม่ใช่ธุรกิจใหญ่โตมากมาย และไม่ต้องเสียเวลาสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ จึงต้องการที่จะลงทุนแฟรนไชส์ เพราะเป็นทางลัดในการดำเนินธุรกิจ ที่เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์เตรียมระบบการทำงานไว้ให้เสร็จสรรพ
ล่าสุด แมคโดนัลด์ แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา เตรียมจ้างพนักงานเพิ่มกว่า 260,000 คน ในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในอเมริกา เริ่มเปิดให้บริการลูกค้านั่งรับประทานอาหารในร้านได้อีกครั้ง หลังจากปิดให้บริการ และให้ลูกค้าซื้อกลับไปทานบ้านและใช้บริการเดลิเวอรี่แทน ในช่วงการระบาดอย่างหนักของโควิด-19 ในสหรัฐอเมริกา
แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐอเมริกายังคงรุนแรง มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลก แต่แมคโดนัลด์ประกาศว่าจะดำเนินธุรกิจภายใต้มาตรการด้านความปลอดภัยเกือบ 50 ขั้นตอนให้กับพนักงานและลูกค้า
การประกาศจ้างงานเพิ่มดังกล่าวของแมคโดนัลด์ เป็นไปตามแผนการจ้างงานที่คล้ายคลึงกันกับแฟรนไชส์ Subway, Taco Bell ของ Yum Brands, Panda Express และ Dunkin ที่สถานการณ์ธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาเริ่มฟื้นตัว
ภาพจาก bit.ly/2VgOh3u
ทางฟาก Subway แฟรนไชส์ซีซึ่งเป็นบริษัทเอกชนผู้รับสิทธิรายใหญ่ในอเมริกาเหนือ เตรียมจ้างพนักงานราวๆ 50,000 คน หลังจากธุรกิจร้านอาหารเริ่มฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งการประกาศจ้างงานเพิ่มขึ้นของ Subway เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาพุ่งขึ้น 13.3% และร้านแฟรนไชส์ Subway จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ชูเมนูฟุตลองขายในราคา 5 เหรียญสหรัฐ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีกครั้งหนึ่ง
การจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นในร้านอาหารเชนฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาหลายแสนคน ถือเป็นการส่งสัญญาณที่ดีในธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลก เพราะอเมริกาถือเป็นต้นกำเนิดแฟรนไชส์โลก ก่อนที่ขยายระบบไปสู่ประเทศอื่นๆ เช่นเดียวกับประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ธุรกิจแฟรนไชส์ และร้านอาหารต่างๆ ยังสามารถประคับประคองเอาตัวรอด ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปได้ เจ้าของกิจการหลายๆ ราย มีการปรับการขายเป็นแบบเดลิเวอรี่แทน อีกทั้งการระบาดของโควิด19 ในประเทศไทยยังไม่รุนแรงเท่ากับในต่างประเทศ หรือ สหรัฐอเมริกา ที่ยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ จึงทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์แบรนด์ต่างๆ ในอเมริกา ต้องดิ้นรน ทำเอาเลือดตกยางออก เพื่อความอยู่รอดในวิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้
โดยธุรกิจแฟรนไชส์ไทยหลังโควิด-19 จะไดรับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์สร้างอาชีพ รูปแบบของร้านจะเป็นแบบคีออสหรือซุ้ม ลงทุนต่ำ คืนทุนเร็ว และระบบการจัดการไม่ยุ่งยาก จึงมีโอกาสเติบโตและนี่คือ อนาคตแฟรนไชส์อเมริกา หลังโควิด-19
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ข้อมูล www.entrepreneur.com/article/350233
อ้างอิงข้อมูล https://bit.ly/3g2NFq2