ส่อง! ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในอาเซียน
ต้องยอมรับว่า ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง สามารถทำให้คนธรรมดาเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ และส่งเสริม GDP ให้กับประเทศได้อีกทางหนึ่ง
จึงไม่แปลกที่ในแต่ละประเทศทั่วโลกหันมาให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงอยากนำท่านไปสำรวจสถานการณ์ และ ตลาดแฟรนไชส์ ในกลุ่มประเทศอาเซียน ว่ามีแนวโน้มการเจริญเติบโตอย่างไรบ้าง ธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทไหนที่ได้รับความนิยมมากในแต่ละประเทศ และเป็นแฟรนไชส์ที่สร้างมูลค่า สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้แต่ละประเทศ มาดูกันเลยครับ
ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย (แฟรนไชส์ร้านอาหารมีแนวโน้มโต)
ตลาดแฟรนไชส์ในประเทศไทย ต้องยอมว่าธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ถือเป็นกลุ่มแฟรนไชส์ที่มีขนาดใหญ่และมีบทบาทมากที่สุดในการขับเคลื่อนตลาดแฟรนไชส์ในประเทศไทยให้เติบโต โดยธุรกิจแฟรนไชส์มากกว่า 50% เป็นร้านอาหาร ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มร้านอาหารและคาเฟ่ จึงเป็นกลุ่มแฟรนไชส์ที่มีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก
ปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยจำนวน 1,523 ราย แยกเป็นนิติบุคคล 1,234 ราย บุคคลธรรมดา 289 ราย และในจำนวนนี้แฟรนไชส์ที่เป็นนิติบุคคลได้ส่งงบการเงินจำนวน 961 ราย คิดเป็น 79%
โดยมีทุนจดทะเบียนรวม 59,502 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 2,169,077 ล้านบาท และมีรายได้รวม 645,798.43 ล้านบาท ซึ่งรายได้ที่เกิดขึ้น มาจากทั้งธุรกิจแฟรนไชส์และรายได้อื่นของธุรกิจ
ประเทศไทยมีแฟรนไชส์ซีมากกว่า 12,000 ราย โดย 85% มาจากแบรนด์แฟรนไชส์ในประเทศ และอีก 5% เป็นของแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะมีแบรนด์แฟรนไชส์ทั้งหมดในประเทศไทยกว่า 500 แบรนด์ ในปี 2020-2021
จะเห็นได้ว่า หลายปีที่ผ่านมา ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย มีการเติบโตค่อนข้างสูง ทั้งจำนวนของเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ หรือแฟรนไชซอร์ (Franchisor) และผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชซี (Franchisee)
โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 20% ในปี 2560 มีมูลค่าตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ต่อปีอยู่ที่ประมาณกว่า 200,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2561 มูลค่าตลาดจะเติบโตขึ้นอีก 10-15%
ธุรกิจแฟรนไชส์ในอินโดนีเซีย (ตลาดยังต้องพึ่งแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศ)
ภาพจาก goo.gl/images/aZbTnA
ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศอินโดนีเซีย ยังไม่ค่อยเติบโตมากนัก โดยเฉพาะธุรกิจแฟรนไชส์ที่เป็นแบรนด์ในประเทศ ดังนั้น อินโดนีเซียจึงยังต้องพึ่งแบรนด์แฟรนไชส์จากต่างประเทศ เข้ามาลงทุนในประเทศ โดยปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วน 40% เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาพจาก goo.gl/images/TLrkpH
กฎหมายและกฎระเบียบด้านการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ในอินโดนีเซีย เอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่แบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศเข้าไปลงทุน ยิ่งถ้าเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ที่อินโดนีเซียรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี จะมีโอกาสอย่างมากในการเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย พวกเขาจะพร้อมรับเสมอ
สำหรับอัตราค่าเช่าโดยเฉลี่ย ทำธุรกิจแฟรนไชส์ในอินโดนีเซีย โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าเกรด A ค่าเช่าพื้นที่ 60-90 ดอลลาร์สหรัฐ /ตารางเมตร/เดือน ส่วนห้างสรรพสินค้าเกรด B ค่าเช่าพื้นที่ 40-60 ดอลลาร์สหรัฐ /ตารางเมตร/เดือน
ธุรกิจแฟรนไชส์ในมาเลเซีย (ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางแฟรนไชส์อาเซียนปี 63)
ภาพจาก goo.gl/images/MVHQhK
ธุรกิจแฟรนไชส์ในมาเลเซีย มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีทั้งแฟรนไชส์ที่เกิดขึ้นในประเทศเอง และแฟรนไชส์จากต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณ 2.68 หมื่นล้านริงกิต หรือคิดเป็น 3.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ทำให้มาเลเซียเป็นตลาดที่มีศักยภาพและเต็มไปด้วยโอกาส
ตลาดมาเลเซียเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการขยายธุรกิจบริการของไทย จากจำนวนประชากรที่มีมากกว่า 30 ล้านคน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย และรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในมาเลเซียยังสูงกว่าไทยเท่าตัว รวมทั้งมีชาวมาเลเซียเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยมากกว่า 3 ล้านคน/ปี จึงทำให้ชาวมาเลเซียมีความคุ้นเคยและนิยมชมชอบสินค้าและบริการของไทย โดยเฉพาะอาหารและการนวดแผนไทย
ปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารและเครื่องดื่มแบรนด์ไทยที่เข้าไปมาเลเซียจำนวนมาก ทั้งบาร์บีคิว พลาซ่า กาแฟดอยช้าง แบล็กแคนยอน ชาตรามือ เกรย์ฮาว์ด คาเฟ่ โดยแต่ละแบรนด์มีวิธีการเข้าตลาดที่แตกต่างกันออกไป เช่นแฟรนไชส์ไลเซนส์ หรือการร่วมทุน เป็นต้น
ภาพจาก goo.gl/images/dEL4bC
ปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์ที่จดทะเบียนกับกระทรวงการค้าภายใน กิจการสหกรณ์และการคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่า 800 บริษัท ในจำนวนนี้มีแบรนด์ของมาเลเซีย 67% และเป็นแบรนด์จากต่างประเทศ 33% ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม
รองลงมาเป็นกลุ่มธุรกิจแฟชั่น เครื่องแต่งกาย และกระเป๋า เครื่องหนัง ธุรกิจบริการด้านสุขภาพและความงาม ธุรกิจบริการด้านการศึกษา ธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์และธุรกิจร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ต
ทั้งนี้ ในบรรดาธุรกิจแฟรนไชส์จากต่างประเทศ แฟรนไชส์ของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ครองตลาดแฟรนไชส์ในมาเลเซียมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30%
ปัจจุบันผู้ประกอบการมาเลเซียและนักลงทุน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์มากขึ้น และแฟรนไชส์ถือเป็นเครื่องมือที่รวดเร็วในการสร้าง หรือเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการรายใหม่
ภาพจาก goo.gl/images/DYf63A
ดังนั้น รัฐบาลมาเลเซียจึงได้ตั้งเป้าที่จะขยายธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 3.5 หมื่นล้านริงกิต หรือคิดเป็น 4.4% ของจีดีพีประเทศ ภายในปี 2563 และเป็นศูนย์กลางธุรกิจแฟรนไชส์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยการผลักดันให้แฟรนไชส์ของมาเลเซียขยายออกสู่ตลาดต่างประเทศ มุ่งเน้นตลาดอาเซียน ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันออก อีกทั้งยังได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการส่งเสริมการทำตลาดเป็นจำนวน 3.15 ล้านริงกิต
การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเฉพาะ ถือเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการแสวงหาพันธมิตรธุรกิจ รวมทั้งการเจาะกลุ่มนักธุรกิจที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์อยู่แล้ว เนื่องจากนักธุรกิจกลุ่มนี้จะมีเงินทุนและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์ดี ทำให้มีโอกาสที่จะเจรจาร่วมธุรกิจกันได้สูงกว่า จึงเป็นช่องทางที่แฟรนไชส์ไทยจะขยายธุรกิจเข้าไปมาเลเซีย
ธุรกิจแฟรนไชส์ในสิงคโปร์ (แฟรนไชส์อาหารเครื่องดื่มตอบโจทย์ผู้บริโภคสิงคโปร์)
ภาพจาก goo.gl/images/DFYYGk
ปัจจุบันการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ไปยังประเทศสิงคโปร์มีทั้งโอกาสและอุปสรรค โดเยเฉพาะธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีการแข่งขันกันรุนแรง ที่สำคัญผู้ประกอบการสิงคโปร์มีความใกล้ชิดกับตลาด และได้รับการสนับสนุนจากภารัฐเป็นอย่างดี ขณะที่ธุรกิจแฟรนไชส์จากต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ จะเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค และมีสถานะทางเงินที่แข็งแกร่ง
แนวทางในการสร้างความน่าเชื่อถือ และพัฒนาศักยภาพของธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้ประกอบการอาจจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ Franchising and Licensing Authority (FLA)
ซึ่งเป็นหน่วยงานของสิงคโปร์ ทำหน้าที่ดูแลและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ โดย FLA จะช่วยกำกับดูแลการดำเนินงาน ตลอดจนให้คำแนะนำด้านต่างๆ แก่ผู้ประกอบการ อาทิ กฎหมาย สัญญาที่เกี่ยวข้อง การฝึกอบรม และแนวทางการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
สำหรับรูปแบบการทำธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศสิงคโปร์ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ชาวต่างชาติ สามารถเปิดสาขาของตนเองในสิงคโปร์โดยตรง ผ่านบริษัทแม่ หรือโอนสิทธิให้ผู้ประกอบการสิงคโปร์ได้เช่นกัน การโอนสิทธิจะสามารถกระทำได้ตามกฎหมายสัญญา Contract Law เนื่องจากสิงคโปร์ไม่มีกฎหมายจำเพาะเจาะจงเกี่ยวกับการโอนสิทธิแฟรนไชส์
ภาพจาก goo.gl/images/bC4Dtv
ตามปกติแล้วเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ จะเข้าสู่ตลาดสิงคโปร์ในรูปแบบ Master Franchise หมายถึง เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ โอนสิทธิ์การบริหารจัดการแฟรนไชส์
ภายใต้ขอบเขตพื้นที่ หรือประเทศที่ตกลงกันแก่บุคคล หรือนิติบุคคลที่เรียกว่าผู้รับโอนสิทธิ์ (Master Franchise) โดยผู้รับโอนสิทธิ์สามารถโอนสิทธิ์ต่อให้บุคคลหรือนิติบุคคลอื่น (Sub-Franchise) ภายในพื้นที่หรือประเทศที่ตกลงกัน
โดยธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีโอกาสและน่าสนใจประเทศสิงคโปร์ คือ อาหารและเครื่องดื่ม เพราะชาวสิงคโปร์นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ส่งผลให้มีข้อจำกัดเรื่องของเวลาในการประกอบอาหารทานเอง
ขณะที่วันหยุดชาวสิงคโปร์ก็นิยมพาครอบครัวออกไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารเช่นเดียวกัน ที่สำคัญชาวสิงคโปร์นิยมรับประทานอาหารที่มีรสชาติแปลกใหม่ มีความคุ้นเคยกับอาหารไทยเป็นอย่างดี
ธุรกิจแฟรนไชส์ในฟิลิปปินส์ (แฟรนไชส์ต่างชาติรุกตลาด ต้องขายสิทธิให้คนท้องถิ่น)
ภาพจาก goo.gl/images/Khn5Uy
ปัจจุบันการขยายธุรกิจแฟรนไชส์ในฟิลิปปินส์ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อ ของผู้บริโภคในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งเมื่อ เทียบกับจำนวนประชากรที่มากเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน ฟิลิปปินส์จึงถือเป็นตลาดใหญ่ ที่กำลังได้รับความสนใจจากบรรดาธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งหลาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจแฟรนไชส์ เกี่ยวกับการดูแลรักษารถยนต์ และธุรกิจแฟรนไชส์ อาหารและเครื่องดื่ม เช่น ร้านอาหารจานด่วน ร้านกาแฟและเบเกอรี ซึ่งแฟรนไชส์ของไทย ที่รุกเข้าไปในตลาดนี้ได้สำเร็จ ได้แก่ แบล็คแคนยอน และโคคาสุกี้
ภาพจาก goo.gl/images/sNYUSC
อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ที่สนใจรุกตลาดฟิลิปปินส์ต้องทำความเข้าใจ คือเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องขายสิทธิ์ให้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น ภายใต้การจัดทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ (FA) และบริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (ถือหุ้นเองทั้งหมด)
เพื่อขยายสาขาแฟรนไชส์ในฟิลิปปินส์ต้อง มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้าน เหรียญสหรัฐ (87 ล้านบาท) และบริษัทแม่ ต้องมีทรัพย์สินสุทธิอย่างน้อย 200 ล้าน เหรียญสหรัฐ (7 พันล้านบาท) จึงส่งผลให้ การลงทุนจำกัดเฉพาะบริษัทต่างชาติรายใหญ่เท่านั้น
นอกจากข้อจำกัดในด้านการทำธุรกิจ ทำเล ก็เป็นอีกปัจจัยที่ธุรกิจแฟรนไชส์ต้องคำนึงถึง Metro Manila หรือเขตมหานครเป็นตัวเลือก ที่ควรมองหาเป็นลำดับแรกๆ เนื่องจากเป็น เขตชุมชนเมืองที่ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น และเป็นศูนย์รวมของกลุ่มผู้บริโภคที่มี กำลังซื้อสูง ซึ่งจะช่วยให้การเจาะตลาดลูกค้า ทั้งชาวฟิลิปปินส์และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
ธุรกิจแฟรนไชส์ในเมียนมาร์ (ตลาดใหม่ พร้อมเปิดรับแฟรนไชส์)
ภาพจาก goo.gl/images/eMsu1P
เมียนมาร์ถือว่าเป็นประเทศที่ยังมีความ “สด” มาก เป็นประเทศที่ต้องการลงทุนจากต่างประเทศ และมีการสงวนอาชีพ Trading ไว้ให้กับชาวเมียนมาร์ ซึ่งต่อมาก็ได้มีการออกกฎหมายใหม่ เพื่อให้ต่างชาติสามารถทำการค้าสินค้าบางประเภทที่พม่ามีความต้องการ ได้แก่ เมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
อีกไม่นานเมียนมาร์จะเปิดให้ต่างชาติมีการค้าขายในสินค้าประเภทอื่นๆ มากขึ้น ธุรกิจที่รัฐบาลเมียนมาร์อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในด้านธุรกิจบริการต่างๆ เช่น สปา อาหาร ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นต้น ด้วยในขณะนี้ตลาดดังกล่าว มีแนวโน้มการเติบโตดี และผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง รวมถึงเมียนมาร์ยังมีกฎระเบียบที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติอย่างมาก
โดยที่ผ่านมา มีหลายหน่วยงานแฟรนไชส์ของไทย ได้มีการทำโครงการร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการในเมียนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความรู้ พร้อมแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์และการลงทุนในธุรกิจ
เพื่อให้ผู้ประกอบการเมียนมาร์ขยายธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งเมียนมาร์ได้เริ่มมีธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นแล้ว และถือเป็นประเทศที่เนื้อหอมมากสุดในภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้
ภาพจาก goo.gl/images/DLRLwL
ปัจจุบันพบว่า มีธุรกิจแฟรนไชส์ราวๆ กว่า 50 แบรนด์หลักในประเทศเมียนมาร์ เป็นแฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เพราะเป็นแฟรนไชส์ที่ดำเนินธุรกิจหรือเปิดกิจการได้ง่ายกว่าแฟรนไชส์กลุ่มอื่นๆ
ที่สำคัญเมียนมาร์ยังเป็นตลาดใหม่ เพิ่งเริ่มต้นตั้งไข่เกี่ยวกับตลาดแฟรนไชส์ ถือเป็นประเทศในอาเซียนที่น่าสนใจ มีโอกาสเติบโตในธุรกิจแฟรนไชส์อีกมาก ด้วยจำนวนประชากรของเมียนมารที่มีมากกว่า 50 ล้านคน ธุรกิจที่เข้าไปดำเนินการในเมียนมาส่วนใหญ่เป็น SMEs คิดเป็นสัดส่วน 97% ของธุรกิจทั้งหมด
โดยที่ผ่านมากรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้นำผู้ประกอบการแฟรนไชส์ของไทย 21 รายเดินทางไปนำเสนอและเจรจาธุรกิจกับนักธุรกิจเมียนมา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้มาติดต่อเจรจาธุรกิจถึง 478 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามและประเมินผล คาดว่าจะมีการตกลงทำธุรกิจร่วมกันเกิดขึ้นในอนาคตแน่นอน
สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความสนใจ คือ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เดินทางไป 11 ราย มีผู้มาติดต่อเจรจาธุรกิจด้วย 301 ราย ธุรกิจความงามและสปาไป 4 ราย มีผู้มาติดต่อ 53 ราย ธุรกิจการศึกษาไป 4 ราย มีผู้มาติดต่อ 53 ราย และธุรกิจบริการไป 2 ราย มีผู้มาติดต่อ 71 ราย
ที่สำคัญเมียนมาร์ยังเป็นตลาดใหม่ เพิ่งเริ่มต้นตั้งไข่เกี่ยวกับตลาดแฟรนไชส์ ถือเป็นประเทศในอาเซียนที่น่าสนใจ มีโอกาสเติบโตในธุรกิจแฟรนไชส์อีกมาก ด้วยจำนวนประชากรของเมียนมาร์ที่มีมากกว่า 50 ล้านคน ธุรกิจที่เข้าไปดำเนินการในเมียนมาร์ส่วนใหญ่เป็น SMEs คิดเป็นสัดส่วน 97% ของธุรกิจทั้งหมด
ธุรกิจแฟรนไชส์ในกัมพูชา (พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ทำตลาดแฟรนไชส์โต)
ภาพจาก goo.gl/images/wa4Tji
ปัจจุบันการขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในกัมพูชา สะท้อนจาก ธุรกิจแฟรนไชส์ของต่างประเทศ รวมถึงแฟรนไชส์ของไทยต่างทยอยขยายธุรกิจในกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง
โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความเป็นเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบกับธุรกิจแฟรนไชส์มีการควบคุม คุณภาพและการให้บริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน สามารถตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในเขตเมืองที่มีความคาดหวังในสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นอย่างดี
ขณะเดียวกันหนุ่มสาวชาวกัมพูชารุ่นใหม่ ยังเปิดรับการบริโภครูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเยือนกัมพูชา ซึ่งมีจำนวนกว่า4 ล้านคนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจนี้
ภาพจาก goo.gl/images/RvgShG
เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และคุ้นเคยกับการให้บริการในรูปแบบแฟรนไชส์เป็นอย่างดี ส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นโอกาส ที่น่าสนใจของผู้ประกอบการไทยในการรุกตลาดกัมพูชา สำหรับข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ในกัมพูชาที่น่าสนใจ มีดังนี้
- ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม อาทิ ร้านอาหารจานด่วน ปัจจุบันชาวกัมพูชานิยมสังสรรค์ รวมทั้งนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น ทั้งนี้ รูปแบบการบริโภคอาหารของชาวกัมพูชามีความคล้ายคลึงกับไทย
- ธุรกิจความงาม
- ธุรกิจบริการล้างและดูแลรักษารถยนต์
สำหรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในกัมพูชา ธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ในกัมพูชาเป็นการลงทุนในรูปแบบที่นักลงทุนซื้อสิทธิแฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้ามาในกัมพูชา โดยนักลงทุนส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติที่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์หรือเคยทำธุรกิจในกัมพูชามาก่อน
ภาพจาก goo.gl/images/4z3Dkf
ซึ่งวิธีการนี้เจ้าของลิขสิทธิ์ สามารถควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการได้ดีกว่าการขายสิทธิแฟรนไชส์ให้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นโดยตรง อาทิ กลุ่ม RMA Groupที่จดทะเบียนในไทย ซึ่งรุกตลาดแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มในกัมพูชาผ่าน Express Food Group (EFG) โดยใช้รูปแบบการซื้อสิทธิแฟรนไชส์จากต่างประเทศ
อาทิ The Pizza Company (ไทย) Swensen’s (สหรัฐฯ) BBQChicken (เกาหลีใต้) Dairy Queen (สหรัฐฯ) และ Costa Coffee (สหราชอาณาจักร) เพื่อดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในกัมพูชา
ขณะที่ QSR Brands Bhd ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์อาหารจานด่วนรายใหญ่จากมาเลเซียใช้รูปแบบการร่วมทุนกับ Royal Group of Companies Ltd. (RGC) ของกัมพูชา และ Rightlink Corporation Ltd.(RCL) ของฮ่องกง เพื่อดำเนินกิจการแฟรนไชส์ KFC ในกัมพูชาภายใต้ Kampuchea Food Corporation เป็นต้น
ธุรกิจเฟรนไชส์ในเวียดนาม (ตลาดแฟรนไชส์ โตแบบค่อยเป็นค่อยไป)
ภาพจาก goo.gl/images/aGW1rS
ปัจจุบันตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ของเวียดนามอยู่ในช่วงขาขึ้น มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ มีการเปิดสาขาร้านแฟรนไชส์มากกว่า 530 สาขา
ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศเวียดนาม กำลังมีการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามสถานการณ์และความต้องการของตลาด โดยแบรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศได้เข้าไปลงทุนอย่างต่อเนื่อง
ภาพจาก goo.gl/images/JajtdP
ปัจจุบันมีแบรนด์แฟรนไชส์มากกว่า 110 แบรนด์ เป็นแฟรนไชส์ต่างประเทศ และแฟรนไชส์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เป็นกลุ่มแฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม
สถานการณ์ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนามมีการเติบโตประมาณ 61.6% มาจากการบริโภคอาหารที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2012-2017 และกว่า 50% เป็นการใช้จ่ายในครัวเรือนเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2021 คาดว่ามีอัตราการเติบโตของ GDP หรือผลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเฉลี่ยกว่า 4,348 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 1,900 ดอลลาร์สหรัฐ
ธุรกิจแฟรนไชส์ใน สปป.ลาว (ตลาดอ้าแขนรับ แฟรนไชส์ดูดี มีแบรนด์)
ภาพจาก goo.gl/images/y63e1K
สปป.ลาวจะมีประชากรอยู่เพียง 6.8 ล้านคน และในเมืองหลวงเวียงจันทน์ก็มีเพียง 5-7 แสนคนเท่านั้น ทำให้ดูไม่น่าสนใจในการไปเปิดตลาดค้าขายที่นี่ แต่จุดแข็งของลาว คือ สปป.ลาวกำลังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจขาขึ้น และมีกลุ่มชนชั้นที่มีฐานะที่จ่ายได้ไม่อั้น ดังนั้น จึงเป็นโอกาสในการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อเติบโตไปพร้อมๆ กับประเทศนี้
สำหรับแฟรนไชส์ไทย ในวันนี้ได้มีการลงทุนที่ สปป.ลาวแล้วหลายแบรนด์ เช่น พิซซ่าคอมปะนี สเวนเซ่นส์ ตำมั่ว ฮอทพอท ไก่ย่างห้าดาว ทรูคอฟฟี่ คอฟฟี่เวิลด์ แบล็คแคนยอน เดอะวอฟเฟิล ชายสี่หมี่เกี๊ยว คาเฟ่อะเมซอน เชสเตอร์กริลล์ สมาร์ทเบรน ไจแอ้นลูกชิ้นปลาระเบิด และคาร์แล็ค 68 เป็นต้น
ประชากรลาวส่วนใหญ่จะมีกำลังซื้อไม่สูงมากก็จริง แต่ยังมีกลุ่มคนรวยอยู่ส่วนหนึ่ง ที่อาจประมาณ 5% ของประชาชากรทั้งหมด ซึ่งมีฐานการเงินแข็งมาก และกล้าใช้จ่าย กล้าลงในธุรกิจใหม่ๆ นอกจากนี้ก็ยังมีกลุ่มนักธุรกิจจีน และ เวียดนาม ที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลลาวอย่างเหนียวแน่น เข้าลงทุนธุรกิจใน สปป.ลาวหลายประเภท ที่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อที่สูงมาก
ภาพจาก goo.gl/images/GxBkdu
สำหรับตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในลาว มีการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ค่อยหวือหวามากนัก อาจเป็นเพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ในประเทศยังมีความยากจน มีรายได้น้อย จึงทำให้แบรนด์แฟรนไชส์จากต่างประเทศชะลอเข้าไปลงทุนในลาว
แต่สำหรับแฟรนไชส์ไทย ตลาดและผู้บริโภคชาวลาวมีความต้องการ เพราะรูปแบบการกิน การดื่มเหมือนกับคนไทย จึงเป็นโอกาสอย่างยิ่งสำหรับแฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่มต่างๆ ในการเข้าไปลงทุนในลาว โดยการลงทุนแฟรนไชส์สำหรับแบรนด์ต่างประเทศในลาว เฉลี่ยอยู่ที่ 90-200 ดอลลาร์สหรัฐ
โดยแฟรนไชส์ที่ดูดี มีแบรนด์ คือ แฟรนไชส์ที่ใช่ในตลาดลาว แฟรนไชส์ประเภท อาหาร เครื่องดื่ม ค้าปลีก และด้านบริการ ที่ดูดี มีระบบมาตรฐาน และมีแบรนด์ หรือมีความเท่ยังเป็นที่ต้องการ หากแฟรนไชส์ใดเข้าข่ายในลักษณะนี้ อาจลองหาคู่ค้านักธุรกิจชาวลาวดู เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ในตลาดที่กำลังเติบโต
ภาพจาก goo.gl/images/RBNDBz
ได้เห็นกันแล้วว่า ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศกลุ่มอาเซียน เป็นอย่างไรกันบ้าง เติบโตมากน้อยขนาดไหน ธุรกิจแฟรนไชส์ไหนบ้างที่มีโอกาสในแต่ละประเทศ หวังว่าผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทย จะมองเห็นโอกาสขยายแฟรนไชส์ไปต่างประเทศเป้าหมาย แต่สิ่งสำคัญการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในรูปแบบใด
ล้วนต้องใช้ความรัก และตั้งใจในสิ่งที่ทำถึงจะประสบความสำเร็จ เช่นกันกับการทำธุรกิจด้วยรูปแบบแฟรนไชส์ ที่ตัวผู้เป็นแฟรนไชซอร์ต้องมีระบบบริหารจัดการธุรกิจที่ดี เพื่อสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน ส่วนแฟรนไชส์ซีก็ต้องยอมรับ และไม่ละเลยที่จะทำตากฎเกณฑ์ของแบรนด์แม่อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การทำธุรกิจดำเนินไปด้วยดี
Franchise Tips
- ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย (แฟรนไชส์ร้านอาหารมีแนวโน้มโต)
- ธุรกิจแฟรนไชส์ในอินโดนีเซีย (ตลาดยังต้องพึ่งแบรนด์แฟรนไชส์ต่างประเทศ)
- ธุรกิจแฟรนไชส์ในมาเลเซีย (ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางแฟรนไชส์อาเซียนปี 63)
- ธุรกิจแฟรนไชส์ในสิงคโปร์ (แฟรนไชส์อาหารเครื่องดื่มตอบโจทย์ผู้บริโภคสิงคโปร์)
- ธุรกิจแฟรนไชส์ในฟิลิปปินส์ (แฟรนไชส์ต่างชาติรุกตลาด ต้องขายสิทธิให้คนท้องถิ่น)
- ธุรกิจแฟรนไชส์ในเมียนมาร์ (ตลาดใหม่ พร้อมเปิดรับแฟรนไชส์)
- ธุรกิจแฟรนไชส์ในกัมพูชา (พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ทำตลาดแฟรนไชส์โต)
- ธุรกิจเฟรนไชส์ในเวียดนาม (ตลาดแฟรนไชส์ โตแบบค่อยเป็นค่อยไป)
- ธุรกิจแฟรนไชส์ใน สปป.ลาว (ตลาดอ้าแขนรับ แฟรนไชส์ดูดี มีแบรนด์)
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)