ส่อง! 7 New Normal ในตลาดแรงงานหลังจบโควิด-19
จากกรณีที่สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ได้เปิดเผยถึงผลกระทบในตลาดแรงงานจากไวรัสโควิด-19 จะทำให้เกิดความปกติใหม่ หรือวิถีใหม่ (New Normal) รูปแบบการดำเนินชีวิต การทำธุรกิจ การจ้างงานจะแตกต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะตลาดแรงงาน โดยสถานประกอบการ ผู้ใช้แรงงาน ภาครัฐ จะต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่
โดยเฉพาะความท้าทายของแรงงานใหม่ ที่พึ่งจบการศึกษาในแต่ละปีที่มีประมาณ 6.342 แสนคน ส่วนใหญ่จบปริญญาตรีในสาขาที่ตลาดไม่ต้องการ จะหางานยากขึ้นมากกว่าเดิม แม้แต่แรงงานที่กลับเข้าไปทำงานใหม่ หรือทำงานอยู่แล้ว ล้วนมีความเสี่ยงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับพฤติกรรม ตลอดจนพัฒนาทักษะให้สามารถตอบโจทย์กับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ได้
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในลักษณะ New Normal หลังโควิด-19 มานำเสนอให้ทราบ เพื่อให้ภาคแรงงานต่างๆ ได้เตรียมความพร้อมรับมือปรากฏการณ์ที่คาดว่าจะเปิดขึ้นในอีกไม่ช้า
ภาพจาก bit.ly/3gpnOKc
1.Business Downsize หรือการลดขนาดองค์กรให้เล็กลง
โดยใช้เทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นและลดจำนวนแรงงานในสถานประกอบการเป็นทางเดินของธุรกิจที่เป็นวิถีใหม่ ประกอบกับภัยคุกคามการจ้างงานจากการเร่งตัวของ เทคโนโลยีก้าวหน้าในรูปแบบต่างๆ อย่างรวดเร็ว หรือ Disruptive Technology จะเข้ามาแทนที่การใช้แรงงานมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ ระบบเอไอ ฯลฯ
2.Labour Demand Changing หรือตลาดแรงงานจะเปลี่ยนไป
นายจ้างจะคัดกรองคนที่กลับเข้าทำงาน แม้แต่คนที่ทำงานอยู่แล้วอาจถูกลดขนาดภายใต้โครงการสมัครใจลาออกในรูปแบบต่างๆ โดยแรงงานสูงวัยจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมากขึ้น
ภาพจาก bit.ly/3c69BOK
3.New Job Challenge ตลาดแรงงานใหม่ภายใต้แพลตฟอร์มดิจิทัล
ทำให้มีอาชีพใหม่ที่ธุรกิจต่างๆ จะเริ่มลดขนาดองค์กรด้วยการกระจายตำแหน่งงานไปให้ฟรีแลนซ์ และเอาต์ซอร์สซึ่งไม่ต้องมีสำนักงานในลักษณะ “non-office worker” เช่น งานการตลาด, งานบัญชี, งานบริการลูกค้า, งานปฏิบัติการ, งานที่เกี่ยวกับคลังสินค้าและโลจิสติกส์ ฯลฯ
4.Worth Returned Conceptual หรือแนวคิดความคุ้มค่าและมีค่าต่อองค์กร
ผู้ที่จะอยู่ในตำแหน่งงานได้อย่างมั่นคงจนถึงวัยเกษียณ จะต้องมีการปรับทัศนคติใหม่ นอกจากการเพิ่มผลิตภาพของตนเองที่ต้องยกระดับให้มีความคุ้มค่าและคุณค่าต่อองค์กร ในอนาคตขนาดขององค์กรจะเล็กลง หลายตำแหน่งงานจะหายไป ทำอย่างไรไม่ให้กลายเป็นกลุ่มเสี่ยง ที่จะต้องถูกออกจากงาน ซึ่งจากนี้ไปจะเห็นการเร่งตัวของ “New Normal Early Retire”
ภาพจาก bit.ly/2ZAbhgY
5.First Labour Aged Demand หรือโอกาสของแรงงานวัยตอนต้น
เพราะพลวัตตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง แรงงานใหม่ต้องสามารถตอบโจทย์สภาวะแวดล้อมธุรกิจ การดำเนินชีวิตที่ไม่เหมือนเดิม วัยแรงงานตอนต้นยังมีความต้องการสูงของธุรกิจ แม้ที่ผ่านมาแรงงานอายุ 18-29 ปี ความต้องการจ้างงานติดลบประมาณ-14.6% ก็ตาม
6.Digital Platform Direction จะเป็นทิศทางเดินของธุรกิจ
ทั้งภาคผลิต, ภาคบริการ, ค้าส่ง-ค้าปลีก, โลจิสติกส์ ฯลฯ เป็นจุดแข็งของแรงงานตอนต้น ที่มาจากกลุ่มเจเนอเรชั่นซี หรือ Gen Z มีความคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี ทำให้สามารถปรับตัวได้เร็วกว่ากลุ่มวัยอื่น
ภาพจาก bit.ly/2AZUA4d
7.Skill Change หรือการเปลี่ยนแปลงของทักษะใหม่
ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานที่ไม่เหมือนเดิมแม้แต่แรงงานวัยตอนต้นล้วนมีความเสี่ยงสะท้อนจากแรงงานจบใหม่ระดับอุดมศึกษามีการว่างงานสูง สัดส่วนถึง 29.5% ของผู้ว่างงานทั้งหมด ขณะเดียวกัน แรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานส่วนใหญ่ 63.2% จบปริญญาตรีในสาขาที่ล้าสมัยไม่ตรงต่อความต้องการของตลาด โดยเฉพาะการด้อยคุณภาพของแรงงานใหม่
การระบาดของโควิด-19 ไม่กระทบต่อธุรกิจเท่านั้น ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคแรงงานอีกด้วย ทำคนว่างงาน ทำคนตกงาน รวมถึงแรงงานที่กำลังจะถูกเลิกจ้างในอนาคต คนจบปริญญาตรีไม่ตรงสายงานจะหางานยาก แรงงานสูงอายุจะถูกให้ออกจากงาน หรือ “New Normal Early Retire” จะมาแรงหลังจากจบโควิด-19 เนื่ององค์กรจะมีขนาดเล็กลง
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงข้อมูล
https://bit.ly/3gnW1JZ
อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/2A8yzQv