ส่อง 16 ร้านสะดวกซื้อทั่วโลก ที่ทำปั้มน้ำมัน!
ได้กลายเป็น กระแส ในโลกออนไลน์กันอย่างมาก กับกรณีที่มีการแชร์ภาพโดยอ้างว่าเป็น “ปั๊มน้ำมัน 7-Eleven” พร้อมกับระบุข้อความว่า เป็นธุรกิจปั๊มน้ำมันของกลุ่มซีพี ซึ่งขณะนี้กำลังก่อสร้างหลายแห่ง และเริ่มให้บริการแล้วในบางส่วน
ต่อกรณีดังกล่าว ได้รับการปฏิเสธจากซีพี ยืนยันว่า ภาพที่เห็นนั้น ไม่ใช่ปั๊มน้ำมันในประเทศไทย พร้อมระบุว่ายังไม่มีโครงการดังกล่าวแน่นอน ซึ่งภาพที่ส่งต่อกันในโลกออนไลน์ คือ ภาพปั๊มน้ำมัน 7-Eleven ในประเทศออสเตรเลีย ที่เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2540 ที่เป็นรูปแบบร้านสะดวกซื้อและปั๊มน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม กระแสปั้มน้ำมัน 7-Eleven อาจมาจากข่าวกรณีปตท.ไม่ต่อสัญญา 7-Eleven ซึ่งกำลังจะหมดสัญญาในอีก 4-5 ปีข้างหน้า เพื่อนำเอาร้านสะดวกซื้อจิ๊ฟฟี่ในเครือเข้ามาแทน ซึ่งหลายคนอาจมองว่าเครือซีพีมีเงินทุนมหาศาล สามารถที่จะทำธุรกิจอะไรใหม่ๆ ก็ได้ ยิ่งถ้าจะทำปั้มน้ำมัน 7-Eleven ก็ไม่เห็นจะแปลก อีกทั้งเครือซีพียังมีธุรกิจร้านกาแฟในมือมากมาย
ปัจจุบัน 7-Eleven เปิดสาขาในปั้มน้ำมันปตท.แล้วกว่า 1,400 สาขา และทั้งสองพันธมิตร ก็มีแผนร่วมกันที่จะขยายร้าน 7-Eleven เพิ่มเป็นจำนวน 1,700 แห่ง และต่อสัญญาเพิ่มอีก 6 ปี หลังจากหมดสัญญาที่จะถึงนี้
แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่า “ร้านสะดวกซื้อ” ไม่เฉพาะ 7-Eleven เท่านั้น ที่หันมาทำธุรกิจปั้มน้ำมัน โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา พบว่ามีร้านสะดวกซื้อจำนวนมาก เป็นทั้งร้านสะดวกซื้อ และปั้มน้ำมัน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอ
1. 7-Eleven
ภาพจาก https://bit.ly/2KAeiGi
7-Eleven อเมริกามีร้านสะดวกซื้อกว่า 8,600 แห่ง หลายๆ สาขาเปิดให้บริการสถานีน้ำมันทั่วอเมริกาด้วย 7-Eleven มีวัตถุประสงค์ต้องการให้การทำธุรกิจแฟรนไชส์เป็นเรื่องง่ายและสะดวก
บริษัทให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรซึ่งหมายความว่า ให้บริการแฟรนไชส์ซีทุกอย่างที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจของตนเอง เปิดร้านได้อย่างเต็มรูปแบบ
ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เริ่มต้น แต่ละแฟรนไชส์ซีจะจ่ายจำนวนเงินไม่เท่ากัน ตามลักษณะและรูปแบบของร้านด้วย รวมถึงแฟรนไชส์จะต้องจ่ายเงินงวดแรกในการสต็อกสินค้าเข้ามาในร้านประมาณ 20,000 เหรียญสหรัฐ
2. AMPM
ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL
AMPM ก่อตั้งขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อปี 2521 ธุรกิจมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และขยายไปสู่ธุรกิจปั้มน้ำมัน และร้านสะดวกซื้อในปั้มน้ำมันด้วย รวมๆ แล้วประมาณหลายร้อยแห่งทั่วสหรัฐอเมริกา
ผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์ AMPM ต้องมีการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ทั้งในปั้มน้ำมันและร้านสะดวกซื้อ และต้องจ่ายเงินลงทุนครั้งแรกหรือค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้าประมาณ 400,509 เหรียญสหรัฐ และ 7,807,883 เหรียญสหรัฐ รวมถึงเงินสดเพื่อจ่ายค่าน้ำมัน 800,000-1,200,000 เหรียญสหรัฐ
3. Circle K
ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL
แฟรนไชส์ Circle K ตั้งอยู่ในกว่า 20 รัฐทั่วอเมริกาเหนือ เป็นแฟรนไชส์ปั้มน้ำมันและร้านสะดวกซื้อ เปิดโอกาสให้นักลงทุนที่อยากจะร่ำรวยเป็นเถ้าแก่ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เริ่มต้นที่ 211,450 – 1,601,500 เหรียญสหรัฐ และค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ต่อเนื่อง 25,000 – 25,000 เหรียญสหรัฐ
4. LUKOIL
ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL
LUKOIL เปิดโอกาสให้นักลงทุนที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจปั้มนั้น LUKOIL ตามสถานที่ต่างๆ โดยแฟรนไชส์ LUKOIL ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล อยากเป็นอิสระ เข้ามาร่วมเป็นครอบครัวแบรนด์ LUKOIL
5. Street Corner
ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL
Street Corner ก่อตั้งขึ้นในปี 1988 เริ่มต้นทำแฟรนไชส์ตั้งแต่ปี 1995 การลงทุนเริ่มต้นที่ 45,645 เหรียญสหรัฐ ถึง 1,479,800 เหรียญสหรัฐ นอกจากนั้น ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของแฟรนไชส์ เช่น อุปกรณ์ตกแต่ง ระบบทำบัญชี คลังสินค้าและค่าจ้างพนักงาน
6. Sunoco APlus
ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL
ร้านสะดวกซื้อ Sunoco APlus เปิดให้บริการปั้มน้ำมันอยู่ตามแนวชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ รวมถึงฝั่งตะวันตกยาวไปยังนิวยอร์กและโอไฮโอ แฟรนไชส์ Sunoco APlus
เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจปั้มนน้ำมันและร้านสะดวกซื้อของตนเอง นักลงทุนต้องมีประสบการณ์ มีเงินทุน ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์เริ่มต้น 25,000- 600,000 เหรียญ
7. Alliance Energy
ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL
Alliance Energy เปิดให้เช่าสถานีบริการน้ำมันในหลายพื้นที่ในเขตตะวันออกเฉียงเหนือของ บริษัทต้องการผู้สมัครแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จ โดยจะได้รับเครื่องมือและระบบการขนส่งต่างๆ ที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อสร้างและรักษาธุรกิจของตน
8. Dash In
ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL
Dash In มีสถานีบริการน้ำมันและร้านสะดวกซื้อทั่วสหรัฐอเมริกา Dash In เริ่มทำแฟรนไชส์ตั้งแต่ปี 1979 ปัจจุบันมี 58 สาขาแฟรนไชส์สถานีบริการน้ำมัน เงินลงทุนรวม 138.6 – 187.2K เหรียญสหรัฐ
9. Express Convenience
ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL
Express Convenience ทำแฟรนไชส์ปั้มน้ำมันและร้านสะดวกซื้อตั้งแต่ 2527 ปัจจุบันมีจำนวน 19 สถานีบริการน้ำมัน ตั้งอยู่ในมิดเวสต์ โดยแฟรนไชส์ซีจะได้รับการฝึกอบรมก่อนเริ่มทำธุรกิจ
เงินลงทุนโดยรวมประมาณ 165,000 – 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดย Express Convenience สามารถจัดหาเงินทุนให้กับนักลงทุนด้วย
10. Marathon
ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL
สถานีบริการน้ำมันมาราธอนและร้านสะดวกซื้อ เปิดให้นักลงทุนที่สนใจอยากเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ปั้มน้ำมัน Marathon และร้านสะดวกซื้อทั่วสหรัฐอเมริกา โดยในปี 2015 ปั้มน้ำมัน Marathon
สามารถขายปลีกน้ำมันขายประมาณ 5.02 พันล้านแกลลอนเชื้อเพลิงรถยนต์ แฟรนไชส์ซีสามารถได้รับประโยชน์จากประสบการณ์ของแบรนด์มาราธอน และการสนับสนุนตลอดการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ
11. Kangaroo Express Convenience
ภาพจาก https://bit.ly/2P7l4Yg
Kangaroo Express Convenience เป็นผู้ดำเนินการร้านสะดวกซื้อชั้นนำในตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา มีจำนวนร้านค้าประมาณ 1,500 ร้านค้าใน 13 รัฐ
โดย Kangaroo Express เป็นโลโก้ปั้มน้ำมันของ Pantry เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาร่วมลงทุนแฟรนไชส์ปั้มน้ำมันและร้านสะดวกซื้อภายใต้แบรนด์ Kangaroo Express
12. Quik Stop
ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL
Quik Stop Markets ร้านสะดวกซื้อที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีจำนวนสาขากว่า 100 แห่งใน Northern California และ Northern Nevada แฟรนไชส์ Quik Stop เปิดโอกาสให้ผู้สนใจอยากทำธุรกิจค้าปลีกค้าปลีก
และสถานีบริการน้ำมันเป็นของตนเอง แฟรนไชส์ซีของ Quik Stop จะได้รับการฝึกอบรมการทำธุรกิจทุกขั้นตอน ส่งเสริมการตลาดและการขาย ทำระบบบัญชี ตลอดจนให้คำปรึกษาเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตยั่งยืน
13. Murphy USA
ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL
Murphy USA เป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ และให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้มีโอกาสใช้ประสบการณ์ และทักษะทางวิชาชีพที่มีอยู่ เพื่อสร้างร้านสะดวกซื้อที่เจริญรุ่งเรืองและธุรกิจสถานีบริการน้ำมันด้วย
แฟรนไชส์ซีจะต้องประกอบอาชีพอิสระ หรือเคยดำรงตำแน่งระดับผู้บริหารด้วย เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 100,000 เหรียญสหรัฐ
14. On the Run
ภาพจาก https://bit.ly/30qrHpB
On the Run เป็นแฟรนไชส์กับบริษัท TMC Franchise ซึ่งเป็นบริษท ย่อยของ Couche-Tard นอกจากนี้ยังมีร้านขายของชำและก๊าซธรรมชาติอีกด้วย
สถานีบริการน้ำมัน On the Run ให้บริการอาหารว่าง อาหารจานด่วน อุปกรณ์เพื่อสุขภาพและความงาม และอื่นๆ อีกมากมาย ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ เงินทุนหมุนเวียน 100,000 ดอลลาร์
15. Shell
ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL
Shell เป็นหนึ่งในแบรนด์ปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกา เชลล์มีเครือข่ายของสถานีบริการในหลายๆ พื้นที่ ซึ่งให้บริการร้านสะดวกซื้อ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงที่หลากหลาย
เชลล์ให้โอกาสคนที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจปั้มน้ำมัน และมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยจะต้องมีเงินสดอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุนทั้งหมด สามารถกู้ผ่านสถาบันการเงินได้
16. Extra Mile
ภาพจาก https://bit.ly/2uKowsL
Extra Mile จำหน่ายน้ำมันเบนซินของเชฟรอน ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก และมีร้านแฟรนไชส์ขายปลีก Extra Mile ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 และขยายสาขาไปแล้วกว่า 200 แห่ง
ผู้ซื้อแฟรนไชส์ Extra Mile จะได้ได้รับการสนับสนุนจาก Chevron Corporation ในด้านการฝึกอบรม การโฆษณารวมถึงคำแนะนำทางธุรกิจ และการใช้เครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง การลงทุนทั้งหมดประมาณ 1.5 – 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งหมดเป็น 16 ปั้มน้ำมันและร้านสะดวกซื้อในสหรัฐอเมริกา ซึ่งหากมองในแง่ของเครือซีพี ถ้าหากจากเปิดปั้มน้ำมัน 7-Eleven ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร เพราะมีประสบการณ์มาก่อน
โดยเมื่อเดือนกันยายน 2536 ซีพี ร่วมลงทุนกับ “ซิโนเปค” บริษัทปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดของจีน จัดตั้งบริษัทปิโตรเลียมชื่อ “ปิโตรเอเชีย” ซึ่งเป็นผู้ให้บริการปั้มน้ำมัน โดยเชิญการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เข้าร่วมทุนด้วย โดยสัดส่วนการถือหุ้น ซีพีถือหุ้น 35% ปตท.ถือหุ้น 35% และซิโนเปค 30%
ยุคนี้!!! ไม่มีอะไรที่เครือซีพีทำไม่ได้ ปั้มน้ำมัน 7-Eleven ก็สามารถเกิดขึ้นได้ จะเกิดในประเทศหรือต่างประเทศ…ต้องจับตามอง
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
อ้างอิงข้อมูล
แหล่งข้อมูลบทความจาก https://bit.ly/3h6aj3k