สูตรคำนวณ “Growth Rate” ธุรกิจเราโตแค่ไหน?

ในการทำธุรกิจทุกคนย่อมต้องคาดหวังที่จะประสบความสำเร็จ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย มีหลายอย่างที่เกี่ยวข้องก่อนจะไปถึงจุดสูงสุดได้ คำว่าความสำเร็จทางธุรกิจมีตัวชี้วัดที่หลากหลายเช่น

  • การรับรู้ในตัวแบรนด์ (Brand Awareness)
  • การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ (Brand Penetration)
  • ความนิยมในตัวแบรนด์ (Brand Likability)
  • แบรนด์เป็นที่หนึ่งในใจ (Top of Mind)
  • การจดจำในตัวแบรนด์ (Brand Recognition)
  • มูลค่าในตลาด (Market Value)

แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นสิ่งที่น่ากลัวสุดของคนทำธุรกิจคือ “การเริ่มต้น” ซึ่งกว่าจะตั้งหลักได้บางทีไม่ใช่เรื่องยาก และหลายธุรกิจก็ล้มหายตายจากไปตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มต้นที่ว่านี้ ยังไม่นับรวมว่าเมื่อเริ่มธุรกิจไปสักระยะแล้วก็จะมีตัวแปรอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง จะเรียกว่าเป็นบทที่เข้ามาทดสอบว่าเราแข็งแกร่งพอจะอยู่ในการแข่งขันทางธุรกิจนี้ได้หรือไม่

ด้วยเหตุนี้ อัตราการเติบโตของธุรกิจ สูตรคำนวณ Growth Rate จึงต้องให้สอดคล้องกับการตลาดที่แท้จริง บางธุรกิจโตช้าไป บางธุรกิจโตเร็วเกินไป โดยปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการอยู่รอดของธุรกิจมาก

คำถามก็คือถ้าบอกว่าสำคัญคือ อัตราการเติบโตของธุรกิจ (Growth Rate) ควรอยู่ระดับไหนถึงจะดี?

การตลาด ณ จุดขาย

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า โดยปกติ อัตราการเติบโตของธุรกิจ (Growth Rate) จะแตกต่างกันไปเล็กน้อยในแต่ละอุตสาหกรรม เมื่อคำนวณได้ผลลัพธ์ Growth Rate แล้วแนะนำให้ลองค้นหาค่าเฉลี่ย Growth Rate ในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อทำการเปรียบเทียบว่าธุรกิจของเราอยู่ในสภาวะที่ปกติหรือไม่ แต่หากพูดโดยรวมๆ Growth Rate ที่ “ดี” ควรจะอยู่ระหว่างช่วง 15-45% ต่อปี ซึ่งก็มีนิยามของอัตราการเติบโตในแต่ละช่วงเปอร์เซ็นต์ดังนี้

  • >100% ธุรกิจ Startup อยู่ในระยะเริ่มต้น
  • 10-99% ธุรกิจเติบโตดีและอาจจะกำลังเริ่มเข้าสู่ช่วงอยู่ตัว
  • 1-9% ธุรกิจเติบโตแต่ลำบาก ซึ่งบริษัทองค์กรขนาดใหญ่ส่วนมากมักอยู่ในช่วงนี้
  • 0% หรือ ติดลบ ธุรกิจเปิดมานาน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใดๆ

และเชื่อแน่ว่าถ้าเห็นช่วงเปอร์เซ็นต์ของ อัตราการเติบโตของธุรกิจ (Growth Rate) แบบนี้หลายคนก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่าตัวเลขเหล่านี้คิดยังไง ได้มายังไง ลองไปดูสูตรคำนวณเรื่องนี้พร้อมกัน

Growth Rate = [(รายได้ใน 12 เดือนล่าสุด – รายได้ 12 เดือนก่อนหน้า) / รายได้ 12 เดือนก่อนหน้า] x 100

สูตรคำนวณ Growth Rate

ตัวอย่าง :

  • รายได้ในช่วง 12 เดือนล่าสุด คือ 100,000 บาท
  • รายได้ช่วง 12 เดือนก่อนหน้า คือ 50,000 บาท
  • ดังนั้น เมื่อแปลงผลลัพธ์เป็นเปอร์เซ็นจะพบว่า
  • ธุรกิจมี Growth Rate ต่อปี [(100,000 – 50,000) / 50,000] x 100 = 100%

อย่างไรก็ดีเราสามารถคำนวณ Growth Rate ต่อสัปดาห์ เดือน หรือไตรมาสก็ได้เช่นกัน เพียงแค่เปลี่ยนจำนวนช่วงระยะเวลาที่นำมาคำนวณ หากเป็นธุรกิจ Startup หรือธุรกิจในระยะเริ่มต้นแนะนำให้คำนวณตาม สูตรคำนวณ Growth Rate เป็นรายสัปดาห์จะเห็นภาพการเติบโตได้ดีชัดเจนกว่า

และอีกสิ่งที่หลายคนไม่รู้เป็นเรื่องที่น่าห่วงในการทำธุรกิจก็คือ สภาวะถดถอย (Recession) ซึ่งวัฏจักรของธุรกิจย่อมมีจุดสูงสุดและต่ำสุด ทำให้หลายคนคิดว่าถ้าเราอยู่ในจุดที่ต่ำก็แค่รอเวลาเดี๋ยวมันก็จะฟื้นกลับไปเอง

สูตรคำนวณ Growth Rate

แต่ในความเป็นจริงนั่นคือเรากำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ที่ไม่ควรชะล่าใจ ในขณะที่อัตราการเติบโตของธุรกิจอื่นกำลังเป็นไปได้ดี ธุรกิจของเรากลับผ่านจุดนั้นมาแล้ว ถ้าไม่มีการพัฒนาปรับปรุงและเสริมศักยภาพทางธุรกิจให้ดีเพื่อให้ต่อสู้กับอัตราการเติบโตของธุรกิจอื่นที่มีอยู่ สักวันธุรกิจเราจะหลุดไปจากฏจักรของธุรกิจ (Business Cycle) คือกลายเป็นธุรกิจที่คนไม่สนใจ อัตราการเติบโตไม่เพิ่มขึ้นและหายไปจากวงจรทางธุรกิจในที่สุด

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต