สุกี้ ตี๋น้อย vs นีโอ สุกี้

หากพูดถึงร้านสุกี้ “สุกี้ ตี๋น้อย” และ “นีโอ สุกี้” เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก โดนเฉพาะ “สุกี้ ตี๋น้อย” ที่โดดเด่นในเรื่องของช่วงเวลาการเปิดให้บริการ 12.00 – 05.00 น. แม้จะเปิดได้ไม่กี่ปีแต่มีสาขาถึง 41 สาขา ขณะที่ “นีโอ สุกี้” ถือเป็นร้านเก่าแก่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2542 ผ่านการล้มลุกคลุกคลานมาโชกโชน ถ้าถามว่าความน่าสนใจของทั้งสองแบรนด์อยู่ตรงไหน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ

“สุกี้ ตี๋น้อย”

นีโอ สุกี้

ธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ “สุกี้ ตี๋น้อย” ได้รับความนิยมอย่างมากในเมืองไทย มีสาขาราวๆ 41 แห่ง ภายใต้การบริหารของ “คุณนัทธมน พิศาลกิจวานิช” ผู้ก่อตั้งบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด จุดเริ่มต้นของ “สุกี้ ตี๋น้อย” มาจากครอบครัวของเธอดำเนินธุรกิจร้านอาหารเรือนปั้นหยามาก่อน ทำให้เธออยากทำธุรกิจร้านอาหารของตัวเอง

สำหรับสุกี้ ตี๋น้อยได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว อาจเป็นเพราะราคาสบายกระเป๋า 219 บาท เปิดให้บริการ 12.00-05.00 น. ลูกค้าสามารถเลือกทานได้ทุกเมนู ตั้งแต่เนื้อวัวไปจนถึงซีฟู้ด นั่งได้สูงสุด 1.45 ชั่วโมง จึงทำให้สุกี้ตี๋น้อยคุ้มค่ากว่าที่อื่นๆ

นีโอ สุกี้

จุดเด่นของร้านสุกี้ตี๋น้อยอีกอย่าง คือ แต่ละสาขาจะมีที่จอดรถกว้าง ยิ่งสาขาไกลๆ สาขาในอาคารสำนักงานก็จอดที่อาคารได้ ปัจจุบันร้านสุกี้ตี๋น้อยมี 41 สาขา ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งแต่ ถนนพหลโยธิน เลียบทางด่วน ถนนเกษตร-นวมินทร์ กาญจนาภิเษก แจ้งวัฒนะ ลาดพร้าววังหิน ศรีนครินทร์ สมุทรปราการ พระราม 4 ฯลฯ

นอกจากนี้ ร้านสุกี้ตี๋น้อยยังมีการออกโปรโมชั่นอยู่ตลอดเวลา จึงกลายเป็นร้านบุฟเฟต์ที่สามารถจับกลุ่มลูกค้าปกติและลูกค้าที่ทำงานตอนกลางคืน รวมถึงลูกค้ากลุ่มที่ไม่ต้องกังวลต่อการรีบเพื่อกลัวว่าร้านจะปิดก่อนอีกด้วย ด้วยความที่เป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ในปัจจุบันสุกี้ตี๋น้อยได้มีกลุ่มทุนใหญ่อย่าง JMART เข้ามาถือหุ้นสัดส่วน 30% คิดเป็นเงินลงทุน 1,200 ล้านบาท นั่นทำให้กิจการสุกี้ตี๋น้อยมีมูลค่ารวม 4,000 ล้านบาท

นีโอ สุกี้

ภาพจาก www.facebook.com/sukiteenoithailand/

รายได้ สุกี้ ตี๋น้อย

  • ปี 62 รายได้ 499 ล้านบาท กำไร 15 ล้านบาท
  • ปี 63 รายได้ 1,223 ล้านบาท กำไร 140 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้1,572 ล้านบาท กำไร 148 ล้านบาท

“นีโอ สุกี้”

นีโอ สุกี้

นีโอสุกี้ ร้านสุกี้ที่มีชื่อเสียงในเรื่องน้ำจิ้ม เป็นสูตรเด็ดของทางร้าน ปัจจุบันมีจำนวน 19 สาขา ก่อตั้งโดยคุณสกนธ์ กัปปิยจรรยา ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท นีโอ สุกี้ไทยเรสเทอรองส์ จำกัด ในปี 2542 เปิดสาขาแรกที่ ถ.บางนา-ตราด ท่ามกลางการแข่งขันของร้านสุกี้ที่เป็นคู่แข่งหลายแบรนด์

การดำเนินธุรกิจของ นีโอสุกี้ ยึดหลักในเรื่องความแตกต่างของรสชาติ ความหลากหลายของอาหาร และคุณภาพของวัตถุดิบเป็นสำคัญ ทางร้านเปิดตัวด้วยน้ำจิ้มสุกี้และน้ำซุปรสต้มยำ โดยมีน้ำจิ้มมากถึง 7 รสชาติ ได้แก่ สูตรกวางตุ้ง, ต้มยำ, ไหหลำ, แต้จิ๋ว , ไต้หวัน, ชาบู, สูตรซีอิ๊วขาวพิเศษ

นีโอ สุกี้

ในช่วงแรกๆ นีโอ สุกี้ ดำเนินธุรกิจในรูปแบบการการปรับปรุงหน้าร้านเดิม และขยายสาขาผ่านการเป็นเจ้าของเอง และการขายแฟรนไชส์โดยในช่วงปี 2561 ร้านนีโอ สุกี้ มีจำนวนร้านกว่า 21 สาขา ปัจจุบันเหลือ 19 สาขา ไม่เปิดขายแฟรนไชส์

สำหรับจุดอ่อนของร้าน นีโอ สุกี้ ในช่วงแรกๆ ก็คือ มีจำนวนสาขาน้อย ส่วนใหญ่ร้านอยู่ในทำเลชานเมืองทำให้ลูกค้าหาร้านไม่ค่อยเจอ หรือไม่สะดวกเดินทางไปรับประทาน ส่วนเหตุผลที่นีโอ สุกี้ไม่เปิดในห้างฯ เพราะมีคู่แข่งอย่างร้านเอ็มเค สุกี้อยู่แล้ว เป็นแบรนด์ใหญ่ทั้งจำนวนสาขา ความแข็งแกร่งของแบรนด์และฐานลูกค้า หากไปเปิดแข่งคงสู้ไม่ได้

ภาพจาก https://www.facebook.com/neosukirestaurant/

รายได้ นีโอ สุกี้

  • ปี 62 รายได้ 241 ล้านบาท กำไร 4.3 ล้านบาท
  • ปี 63 รายได้ 189 ล้านบาท ขาดทุน 3.7 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้ 156 ล้านบาท ขาดทุน 10 ล้านบาท

นั่นคือ จุดเด่นและความน่าสนใจของร้านสุกี้ “สุกี้ ตี๋น้อย” และ “นีโอ สุกี้” ซึ่งทั้งสองแตกต่างกันตรงที่สุกี้ตี๋น้อยเป็นร้านบุฟเฟ่ต์ ส่วนนีโอสุกี้เป็นร้านขายแบบเป็นชุดราคาเริ่มต้น 300-500 บาท จึงทำให้ไม่เป็นเป้าหมายของคนที่ชอบทานบุฟเฟ่ต์

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช