สินค้าขายดี ต่อยอดแบบไหนดีสุด!

หลายคนพอทำธุรกิจหรือเปิดกิจการไปได้สักพัก สินค้าและบริการเกิดขายดิบขายดี ได้รับความนิยมจากกลุ่มลูกค้ามากมาย คิดอยากจะขยายกิจการก็กลัวใช้เงินลงทุนสูง ถ้าถามว่าพอจะมีวิธีไหนบ้างสำหรับต่อยอดธุรกิจ สินค้าขายดี และบริการขายดี

1. ขายแฟรนไชส์

สินค้าขายดี

การขายแฟรนไชส์เป็นวิธีแรกๆ ที่เจ้าของธุรกิจหลายคนนึกถึงเวลาจะขยายสาขา สามารถสร้างการเติบโตให้ธุรกิจรวดเร็ว ยกตัวอย่างกรณี “ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว” มีจุดเริ่มต้นในปี 2535 จาก “คุณพันธุ์รบ กำลา” ตอนนั้นเริ่มขายก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใสและบะหมี่เกี๊ยว พอขายได้สักพักเห็นว่าลูกค้าส่วนใหญ่ชอบกินบะหมี่เกี๊ยวมากกว่าก๋วยเตี๋ยวน้ำไส

แต่ระหว่างนั้นเจอปัญหาเส้นบะหมี่ขาด แผ่นเกี๊ยวไม่ได้ขนาด ต่อมาในปี 2537 ได้ซื้อเครื่องจักรผลิตเส้นบะหมี่-แผ่นเกี๊ยวเอง ก่อนตั้งชื่อร้าน “ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว” ก่อนเปิดขายแฟรนไชส์ ปัจจุบันมีมากกว่า 4,000 สาขาทั่วประเทศ

การขายแฟรนไชส์มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

ข้อดี

  1. รายได้มั่นคง จากค่าสินค้าและวัตถุดิบ รวมถึงค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และค่าลิขสิทธิ์รายเดือน
  2. ขยายธุรกิจได้เร็ว ผ่านเครือข่ายสาขาแฟรนไชส์ซีที่สนใจลงทุนแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง
  3. ใช้เงินลงทุนขยายสาขาน้อย ผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นผู้ลงทุนเปิดสาขาใหม่ ทำให้เจ้าของแบรนด์ใช้เงินลงทุนน้อย
  4. กระจายสินค้าและบริการได้ทั่วประเทศ แม้ในพื้นที่ที่เจ้าของแบรนด์ไม่ชำนาญ ก็สามารถกระจายสินค้าผ่านสาขาแฟรนไชส์ในพื้นที่ได้ง่ายและสะดวก
  5. แบรนด์มีความแข็งแกร่ง การมีหลายสาขาช่วยสร้างการรับรู้และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ได้

ข้อเสีย

  1. ควบคุมคุณภาพยาก หากไม่มีระบบตรวจสอบมาตรฐานสาขา อาจควบคุมมาตรฐานสินค้าและบริการทุกสาขาได้ยาก
  2. ค่าใช้จ่ายสูง การพัฒนาระบบและคู่มือแฟรนไชส์ในช่วงแรกๆ จำเป็นต้องใช้เวลาและทรัพยากรหลากหลาย
  3. ภาพลักษณ์แบรนด์เสี่ยงเสียหาย หากสาขาแฟรนไชส์ซีดำเนินธุรกิจไม่ดี ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ทั้งหมด

เอกลักษณ์ของการขายแฟรนไชส์

  • ให้สิทธิ์ใช้เครื่องหมายการค้าและบริการ
  • ได้รับค่าธรรมเนียม Franchise Fee, Royalty Fee, Marketing Fee
  • ถ่ายทอดระบบการจัดการ จัดทำคู่มือปฏิบัติงานแฟรนไชส์
  • ให้การสนับสนุนฝึกอบรม ทำการตลาด จัดส่งวัตถุดิบ

2. ขายไลเซนส์

สินค้าขายดี
ภาพจาก facebook.com/VivaplusJelly

การขายไลเซนส์เป็นวิธีหนึ่งที่หลายๆ ธุรกิจเลือกใช้ ยกตัวอย่างในช่วงปี 2563 “บาร์บีคิวพลาซ่า” ขายไลเซนส์ตัวมาสคอต “บาร์บีกอน” ให้กับ “วีว่าพลัส” เจลลี่ผสมวิตามินพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ เพื่อนำไปร่วมกิจกรรมสื่อสารเพื่อส่งเสริมการขายยต่างๆ ของแบรนด์ “วีว่าพลัส” ทั้งการนำไปโฆษณาตามบิลบอร์ดขนาดใหญ่ นำไปใช้ในการโปรโมทในโซเชียลมีเดียของแบรนด์วีว่าพลัส ตามจุดจำหน่ายวีว่าพลัสที่ 7-Eleven ทั่วประเทศ และนำไปใช้ในงานส่งเสริมด้านข่าวประชาสัมพันธ์ต่างๆ

การขายไลเซนส์มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

ข้อดี

  1. รายได้มั่นคง จากค่าลิขสิทธิ์หรือค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้าและบริการในระยะยาว โดยไม่ต้องลงทุนมาก
  2. แบรนด์ขยายตลาดได้เร็ว โดยยการให้ผู้ประกอบการร้านอื่นๆ ใช้งาน
  3. ลดความเสี่ยงทางการเงิน จากการไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
  4. สร้างชื่อเสียงได้เร็ว เมื่อมีการใช้แบรนด์ในหลายพื้นที่ ช่วยสร้างการรับรู้ในแบรนด์ได้เร็ว
  5. เพิ่มการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ผ่านผู้ได้รับอนุญาตไลเซนส์

ข้อเสีย

  1. ควบคุมคุณภาพได้ยาก เพราะผู้รับสิทธิ์ไลเซนส์อาจละเลย ไม่เข้มงวด ไม่มีการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์
  2. ภาพลักษณ์แบรนด์เสี่ยงเสียหาย หากผู้ได้รับอนุญาตควบคุมมาตรฐานไม่ดี อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์แบรนด์
  3. ผลตอบแทนไม่แน่นอน รายได้จากการขายไลเซนส์อาจไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความสำเร็จของผู้ได้รับอนุญาต
  4. การแข่งขันจากคู่แข่ง หากอนุญาตให้หลายคนใช้แบรนด์ อาจทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ได้รับอนุญาตเอง

เอกลักษณ์ของการขายไลเซนส์

  • ให้สิทธิ์ใช้เครื่องหมายการค้าและบริการ และลิขสิทธิ์ของแบรนด์
  • ได้รับค่าตอบแทนจากสัญญาสัมปทานตามข้อตกลง
  • ไม่มีการฝึกอบรม สอนวิธีการทำงาน หรือมีระบบงานให้
  • มีการส่งเสริมและการสนับสนุนการดำเนินกิจการบ้าง

3. ขายสูตร

ราคาพื้นที่เช่า

อีกหนึ่งวิธีที่ผู้ประกอบการธุรกิจเลือกใช้เมื่อสินค้าและบริการขายดี คือ การขายสูตร ยกตัวอย่างกรณี “ก๋วยเตี๋ยวเรือ ป.ประทีป” เจ้าของบอกว่าไม่ได้เป็นแฟรนไชส์ “ขายสูตร” อย่างเดียว แต่ผู้มาเรียนสูตรสามารถใช้ชื้อ “ป.ประทีป” ได้ ทางร้านเปิดสอนสูตรทั้งสูตรน้ำซุป สูตรหมักหมู สูตรกากเจียว ฯลฯ ราคา 250,000-300,000 บาท แต่ผู้ซื้อสูตรต้องซื้ออุปกรณ์และตกแต่งร้านเอง

การขายสูตรมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

ข้อดี

  1. รายได้จากค่าฝึกอบรม สอนสูตร หรือถ่ายทอดระบบ โดยไม่ต้องลงทุนมาก
  2. ขยายตลาดได้ง่าย การให้ผู้อื่นใช้สูตรทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้ง่าย มีความเสี่ยงต่ำ
  3. ลดต้นทุนการผลิต ไม่ต้องลงทุนผลิตสินค้าหรือบริการเอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายลง
  4. สร้างชื่อเสียง หากสูตรเป็นที่นิยม ช่วยสร้างชื่อเสียงและการรับรู้แบรนด์ได้รวดเร็ว
  5. สามารถพัฒนาสูตรใหม่ๆ และขายสูตรได้เรื่อยๆ ช่วยให้ธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง

ข้อเสีย

  1. ควบคุมคุณภาพยาก หากผู้ซื้อสูตรไม่ควบคุมมาตรฐานสินค้าในการใช้สูตร อาจทำให้แบรนด์เสียชื่อเสียง
  2. เสี่ยงถูกขโมยสูตร อาจถูกลอกเลียนแบบหรือขโมย หากไม่มีการปกป้องทางกฎหมายที่เหมาะสม
  3. รายได้ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความสำเร็จของผู้ที่ใช้สูตร

เอกลักษณ์ของการขายสูตร

  • ไม่ให้สิทธิ์หรือให้สิทธิ์ใช้เครื่องหมายการค้าและบริการได้
  • ได้รับค่าตอบแทนจากการสอนสูตร และการถ่ายทอดใช้ระบบ
  • ถ่ายระบบจัดการ ฝึกอบรม หรือระบบการทำงานให้เป็นมาตรฐาน
  • ไม่มีการส่งเสริมด้านการขาย ไม่มีการทำตลาด แต่มีการจัดส่งวัตถุดิบ

4. เปิดรับตัวแทนจำหน่าย

สินค้าขายดี

วิธีสุดท้ายที่ผู้ประกอบการธุรกิจเลือกใช้กรณีสินค้าและบริการขายดี นั่นคือ การเปิดรับตัวแทนจำหน่าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบค้าขายออนไลน์ หรือ Drop Shipping รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โชว์รูมขายรถ ปั้มน้ำมัน

การตั้งตัวแทนจำหน่ายมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

ข้อดี

  1. ขยายตลาดได้รวดเร็ว ตัวแทนจำหน่ายช่วยให้เข้าถึงตลาดใหม่ได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนสูงในการเปิดสาขา
  2. ลดความเสี่ยงทางการเงิน ตัวแทนจำหน่ายเป็นผู้ลงทุนในการตั้งร้านค้า ที่สต็อกสินค้า ช่วยลดภาระต้นทุน
  3. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ง่าย ตัวแทนจำหน่ายสามารถทำการตลาดในพื้นที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. สร้างความแข็งแกร่งให้แบรนด์ ตัวแทนจำหน่ายในหลายพื้นที่ช่วยเพิ่มช่องทางการขาย สร้างการรับรู้ ความน่าเชื่อถือ
  5. กระจายสินค้าในตลาดท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะตัวแทนจำหน่ายมักมีความเข้าใจในตลาดท้องถิ่น ช่วยให้แบรนด์ปรับกลยุทธ์การตลาดได้อย่างเหมาะสม

ข้อเสีย

  1. ควบคุณคุณภาพยาก การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการอยู่ที่ตัวแทนจำหน่ายนำเสนอลูกค้า
  2. ความเสี่ยงแบรนด์ หากตัวแทนจำหน่ายดำเนินการไม่ถูกต้อง อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์แบรนด์
  3. เจ้าของแบรนด์ต้องแบ่งรายได้หรือค่าคอมมิชชั่นให้กับตัวแทนจำหน่าย อาจทำให้กำไรลดลง

เอกลักษณ์ของการเปิดรับตัวแทนจำหน่าย

  • ให้สิทธิ์ใช้แบรนด์ เครื่องหมายการค้าและบริการ
  • ต้องจ่ายค่าตอบแทนจากการขาย หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ
  • ถ่ายทอดระบบการทำงานต่างๆ ที่เป็นมาตรฐาน
  • ช่วยสนับสนุนทำการตลาด และส่งเสริมการขาย

นั่นคือ 4 วิธีในการต่อยอดให้กับธุรกิจในกรณีที่สินค้าและบริการขายดี เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการต้องด้วยว่า สินค้าและบริการของตัวเองเหมาะกับการต่อยอดธุรกิจในรูปแบบไหนด้วย – 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช