สำรวจให้รู้ เช็คลิสต์ก่อนเปิด ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม
เช็คลิสต์ (Check List) หมายถึงการทำรายการสิ่งที่ต้องทำหรือ สิ่งของที่ต้องนำไป หรือสิ่งที่ต้องตรวจสอบเพื่อป้องกันการลืมและเพื่อให้สิ่งที่ต้องการทำนั้นดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งใครที่กำลังจะเริ่มธุรกิจใหม่ กำลังจะเริ่มเปิดร้าน เช็คลิสต์ก่อนเปิด จะมีประโยชน์อย่างมาก
คำถามคือถ้าอยากเปิดร้านอาหาร – เครื่องดื่ม Check List ที่เราต้องรู้มีอะไรบ้าง?
เราจะเริ่มกันที่เรื่องของโครงสร้างภายนอกและระบบภายใน เพราะส่วนนี้คือหน้าตาของธุรกิจ ถ้าร้านเราเปิดดำเนินการโดยที่สิ่งเหล่านี้ยังไม่พร้อม จะมีปัญหาตามมามากมาย สิ่งที่ต้อง เช็คลิสต์ก่อนเปิด ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม ประกอบด้วย
1.งานออกแบบและตกแต่งภายในร้าน
โครงสร้างและการตกแต่งร้าน ควรเป็นสิ่งที่แล้วเสร็จก่อนการเปิดร้าน เพราะการเพิ่มเติมหน้างานเมื่อร้านเปิดไปแล้วทำได้ยากมาก ยิ่งถ้าเป็นร้านอาหาร – เครื่องดื่มที่ทำโครงสร้างใหม่ทั้งหมดต้องเร่งรัดให้ผู้รับเหมาทำงานเสร็จตามเวลาที่กำหนดการ Check List ในส่วนนี้จะทำให้เรารู้ว่าทุกอย่างจะเสร็จทันกำหนดร้านเปิดไหม มีปัญหาตรงไหนจะได้รีบแก้ไข
2.งานระบบภายในร้าน
คำว่าระบบภายในของแต่ละร้านไม่เหมือนกัน ยิ่งร้านขนาดใหญ่ระบบภายในยิ่งซับซ้อน โดยเฉพาะบรรดาร้านอาหารที่ต้องเซ็ทอุปกรณ์เครื่องครัวให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อนเปิดร้านต้องทดลองเดินระบบในส่วนต่างๆ ก่อนด้วย
3.ระบบ POS
ถ้าถึงเวลาเปิดร้านจะมีลูกค้าจำนวนมาก การจำลองหรือทดลองใช้ระบบ POS จะได้ทราบว่าเมื่อถึงเวลาใช้งานจริงจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง การ Check List ที่ได้ข้อมูลเหล่านี้จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขก่อนเริ่มใช้อย่างเป็นทางการ
4.วัตถุดิบและซัพพลายเออร์
เป็นส่วนสำคัญที่ต้องทำการ Check List ยิ่งไม่เคยเปิดร้านอาหารมาก่อน เรื่องสต็อควัตถุดิบจะมีปัญหามาก ต้องคำนวณให้แม่นยำว่าต้องใช้อะไร เท่าไหร่ มีปริมาณสต็อคแค่ไหนถึงจะพอดีกับลูกค้าในแต่ละวัน และหากเกิดกรณีฉุกเฉินจะหาวัตถุดิบทดแทนได้จากที่ไหน เป็นต้น
5.การฝึกอบรมพนักงานในร้าน
การ Check List ในส่วนของพนักงานก็สำคัญเพื่อจะได้รู้ว่าแต่ละคนเข้าใจบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ ขั้นตอนในการทำงานของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากถึงเวลาเปิดร้านจริงถ้าแต่ละคนไม่ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีการเปิดร้านจะวุ่นวายและอาจทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจในเบื้องต้น
6.เงินทุนสำรองและข้อกฎหมายต่างๆ
ถ้าเปิดร้านไปแล้วเราต้องแน่ใจว่าเรื่องใบอนุญาตต่างๆ จะไม่มีปัญหา หรือการขอใบอนุญาตทำงานให้กับพนักงานต่างด้าว นอกจากนี้ต้อง Check List ในเรื่องของแหล่งเงินทุนที่ควรมีสำรองในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆด้วย
7.กลยุทธ์ด้านการตลาด
เมื่อร้านเปิดดำเนินกิจการแล้วต้องมีแผนด้านการตลาดที่ชัดเจน ว่าเริ่มแรกจะทำการตลาดแบบไหนอย่างไรเพื่อจูงใจลูกค้าและเมื่อเวลาผ่านไปถึงจุดไหนที่ควรใช้การตลาดแบบใดเพื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจตัวเองได้มากที่สุด การ Check List ในส่วนนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมหรือเป็นเป้าหมายที่ควรตั้งไว้ในระยะยาว
อย่างไรก็ดีนอกเหนือจากการ Check List ในส่วนของโครงสร้างและงานระบบต่างๆ การวางแผนเพื่อควบคุมต้นทุนก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจร้านอาหาร – เครื่องดื่มอย่างมาก ยิ่งปัจจุบันที่สินค้ามีราคาแพงขึ้น ยิ่งต้องมีมาตรการควบคุมต้นทุนที่ชัดเจน โดยควรกำหนตต้นทุนต่างๆ ให้อยู่ในสัดส่วนดังนี้
- ต้นทุนวัตถุดิบ (Cost of good sold) ควรมีสัดส่วนประมาณ 40 %
- ต้นทุนแรงงาน (Labor costs) ควรมีสัดส่วนประมาณ 15 – 20%
- ต้นทุนค่าเช่าที่ (Cost of rent) ควรมีสัดส่วนประมาณ 15 – 20%
- ต้นทุนค่าสาธารณูปโภค (Utilities costs) ควรมีสัดส่วนประมาณ 1 – 5 %
- ต้นทุนค่าการตลาด (Marketing costs) ควรมีสัดส่วนประมาณ 2 – 5%
- ต้นทุนอื่น ๆ (Miscellaneous) ควรมีสัดส่วนประมาณ 1 – 5 %
ซึ่งการ Check List จะทำให้เรารู้ภาพรวมของธุรกิจว่าตอนนี้เป็นอย่างไร มีความพร้อมมากแค่ไหน อะไรตรงไหนที่ยังเป็นปัญหาก็จะได้วางแผนในการแก้ไขได้อย่างถูกต้องทันเวลา และการรู้โครงสร้างของต้นทุนวัตถุดิบก็จะทำให้เรามีแนวทางในการควบคุมต้นทุนธุรกิจให้อยู่ในระดับที่ควรจะเป็น ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องไปถึงคำว่ากำไร ดังนั้นจะมองข้ามส่วนใดไปไม่ได้ การ Check List อาจเป็นเรื่องที่หลายคนไม่สนใจแต่ความจริงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)