สัมภาษณ์เศรษฐีกว่า 150 คน เผย! 3 เคล็ด(ไม่)ลับสู่ความรวย
เชื่อว่า หลายๆคนอยากที่จะเป็นเศรษฐีตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะจะได้ทำในสิ่งที่อยากจะทำจริงๆ แต่หากว่าหนทางสู่การเป็นเศรษฐีมันยากนัก นอกจากจะต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างหนักแล้ว ยังต้องมีความสามารถเพียงพอที่จะมีทักษะในการบริหารคนอีกทั้งยังต้องมีเงินทุนและเวลาที่มากพออีกด้วย
โดยจอห์นผู้ซึ่งดูแลบล็อกการเงินส่วนบุคคล ESI Money โดยไม่เปิดนามสกุลของเขาผ่านทางออนไลน์ ซึ่งเขาได้ใช้เวลาในไม่กี่ปีที่ผ่านมาในการสัมภาษณ์การเป็นเศรษฐี ซึ่งจอห์นก็เป็นผู้บริหารในธุรกิจมาเป็นเวลากว่า 28 ปีแล้ว ก่อนที่เขาจะเกษียณเมื่ออายุได้ 52 ปี ด้วยมูลค่าเงินสุทธิถึง 3 ล้านดอลลาร์ โดยตอนนี้เขาได้ให้สัมภาษณ์ 150 คนที่เป็นเศรษฐี
โดยเขาได้กล่าวว่า “สูตรสำหรับการที่จะเป็นเศรษฐีนั้นคือ การเพิ่มรายได้ ควบคุมค่าใช้จ่าย ลงทุนเร็วแต่บ่อยครั้ง ที่สำคัญในแต่ละขั้นตอนคือ ระยะเวลา ยิ่งคุณเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดีต่อตัวคุณมากเท่านั้น” โดยเขาก็ได้กล่าวว่า หลังจากที่สัมภาษณ์บรรดาผู้เป็นเศรษฐี 150 คนนั้น เขาพบว่า การที่จะเป็นคนรวยได้นั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1.เพิ่มศักยภาพในการหารายได้ของคุณ
ภาพจาก pixabay.com
เมื่อลองมองย้อนกลับไป เศรษฐีส่วนใหญ่ก็ได้ตระหนักว่า การเรียนรู้นั้นมีความสำคัญมากกว่าที่พวกเขาคิดไว้ในตอนแรก ซึ่งจอห์นก็ได้เขียนเอาไว้ว่า “จะต้องใช้เวลาและความพยายามเป็นอย่างมากในการที่จะสร้างเงินก้อนโต
ดังนั้นแล้ว ยิ่งคุณเริ่มต้นเร็วมากขึ้นเท่าไหร่ คุณก็จะได้รับผลประโยชน์มากขึ้นและเร็วขึ้นมากเท่านั้น” เขากล่าว “และนี่ก็หมายถึงการพิจาณาทั้งการเติบโตในทางด้านอาชีพสายการงานของคุณ
รวมถึงการพัฒนาในด้านต่างๆ และเมื่อเวลาผ่านไป พวกเขาเหล่านั้นก็จะเพิ่มขึ้นและเป็นเชื้อเพลิงที่แข็งต่อการเติบโตในด้านของมูลค่าสุทธิ โดยเศรษฐีหลายคนก็จะ ‘เริ่มต้นด้วยที่ค่าตอบแทนน้อยสุด’ และทำงานอย่างหนักเพื่อพัฒนาทักษะในการเพิ่มเงินเดือนของพวกเขา”
อีกทั้งเขาก็ยังกล่าวเอาไว้เพิ่มเติมอีกว่า “พวกเขายังกระจายรายได้ของพวกเขาส่วนใหญ่ที่มักจะมีเงินปันผลจากการลงทุนทั้งทางด้านของอสังหาริมทรัพย์และการสร้างรายได้”
2.การควบคุมการใช้จ่ายของคุณ
ภาพจาก pixabay.com
หนึ่งในรูปแบบของการเป็นเศรษฐีที่น่าประหลาดใจสำหรับจอห์นคือ เศรษฐีส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้ แต่ก็ไมได้หมายความว่า พวกเขาไม่เคยคิดจะจะทำมันเช่นกัน “ในการพัฒนาด้านของการควบคุมค่าใช้จ่ายด้วยตนเองนั้น มีความสำคัญต่อการมีฐานะและงบประมาณที่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านั้นก็จะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการทำเช่นนั้น”
อีกทั้งเขาก็ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “แม้ว่านี่จะเป็นเพียงช่วงไม่กี่ปีแรกของการดำเนินการทางการเงินของคุณให้คุณได้พัฒนาด้วยงบประมาณ แต่อย่างน้อยๆก็จนกว่าคุณจะสามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายได้ และถึงแม้ว่าจะไม่ได้กำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับรายเดือนหรือรายปี แต่ผู้ที่เป็นเศรษฐีหลายๆคนก็ยังคงติดตามว่า เงินของของพวกเขานั้นจะไปอยู่ที่ไหนได้” เขากล่าว
ประเด็นสำคัญที่สุดก็คือ เพียงเพื่อประหยัดและลงทุนให้ได้มากที่สุด และคุณก็จะประสบความสำเร็จในแบบที่คุณต้องการ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง และเมื่อคุณใช้จ่ายน้อยกว่าที่ได้รับจากการบันทึกอัตโนมัติและการลงทุนอย่างรอบคอบ โดยในระบบกลไกการควบคุมตนเองนั้นจะเข้ามาแทนที่คุณเอง และไม่จำเป็นที่คุณจะต้องใช้งบประมาณในเรื่องของเงินทุนของคุณอีกต่อไป
3.ลงทุนทันที
ภาพจาก bit.ly/2MBeFkL
โดยนักคณิตศาสตร์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เวลานั้นจะอยู่เคียงข้างคุณในการลงทุน ซึ่งจอห์นก็ได้กล่าวเอาไว้ว่า “พยายามเก็บเงินของคุณที่มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ และทำให้มันรวดเร็วที่สุด” โดยเขาก็ได้พบว่า บุคคลผู้ที่เป็นเศรษฐีนั้นชอบในการลงทุนง่ายๆ
ยกตัวอย่างเช่น กองทุนรวมดัชนี (คือ กองทุนรวมประเภทหนึ่งที่มีกลยุทธ์การบริหารการลงทุน) ซึ่งจะเป็นประเภทของการลงทุนลักษณะแบบ passive investment (เป็นการลงทุนที่เน้นลงทุนให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง) ซึ่งทำให้นักลงทุนมีทางเลือกหลากหลายเพื่อที่จะกระจายความเสี่ยงและลดความเสี่ยงในการลงทุน
โดยพวกเขามีต้นทุนที่ต่ำและมีประสิทธิภาพที่สูงกว่ากองทุนที่มีการจัดการอย่างแข็งขัน ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่ง่ายที่สุดคือ การลงทุนในกองทุนรวมดัชนี นั้นคือ การผ่านบัญชีการเกษียณอายุของคุณ เช่น 401 (k) หรือ IRA เป็นต้น โดยจอห์นก็ได้กล่าวเอาไว้ว่า “เมื่อเวลาผ่านไป คุณสามารถรักษามันไว้หรือมองหาวิธีการขยายตัวทางธุรกิจในด้านอสังหาริมทรัพย์ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและความสนใจของคุณ”
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
ที่มา