สหรัฐฯ กับธุรกิจแฟรนไชส์กีฬา
สหรัฐอเมริกาถือเป็นต้นกำเนิดและเป็นต้นแบบของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของโลก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเห็นธุรกิจแฟรนไชส์จาก สหรัฐฯ แพร่ขยายและเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง และต่างประเทศทั่วโลก เพราะนอกจากธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ขยายไปทั่วโลกแล้ว ธุรกิจการแข่งขันกีฬาของต่างชาติ ก็กำลังได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอบทวิเคราะห์แนวโน้มของการแข่งขันกีฬาระดับต่างๆ สู่การดำเนินธุรกิจแบบแฟรนไชส์ เพราะเป็นลักษณ์ของการซื้อสิทธิไปบริหารจัดการการแข่งขัน สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
อย่างล่าสุด การแข่งขันฟุตบอลอุ่นเครื่อง ที่กำลังฟาดแข้งกันที่สหรัฐอเมริกา “อินเตอร์เนชันแนล แชมเปี้ยนส์ คัพ หรือ ICC” รายการอุ่นเครื่องอันดับ 1 ของโลก
ถ้าหากศึก ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก คือ รายการชิงแชมป์สโมสรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แต่ถ้าเป็นอินเตอร์เนชันแนล แชมเปี้ยนส์ คัพ ก็คงเป็นรายการอุ่นเครื่องที่ดีที่สุดในโลกลูกหนังยุคปัจจุบัน โดยที่ไม่มีรายการอื่นเทียบได้ ซึ่งไม่ต้องบอกว่า ถ้าใครเป็นผู้จัดการแข่งขัน หรือผู้ได้รับสิทธิ์ จะมีรายได้มหาศาลขนาดไหน ทั้งสปอนเซอร์ ลิขสิทธิ์การถ่ายทอด และตั๋วชมการแข่งขัน
โดยในปี 2560 ผู้จัดการแข่งขัน คือ อภิมหาเศรษฐีชาวอเมริกันอย่าง สตีเฟ่น เอ็ม รอสส์ และบริษัท เรเลเวนท์ สปอร์ตส์ เขามีแนวคิดที่จะปฏิวัติโปรแกรมอุ่นเครื่องของบรรดาสโมสรฟุตบอลชั้นนำ จากเตะกันแบบสะเปะสะปะ และแทบไม่มีเกม “บิ๊กแมตช์” ที่น่าดู เขาจึงจัดรายการนี้ขึ้นมา ถือเป็นมิติใหม่ของเกมฟุตบอลในช่วงก่อนเปิดฤดูกาลอย่างแท้จริง
ภาพจาก goo.gl/NyLrvp
แน่นอนว่า พวกเขามีเป้าหมายให้ประเทศบ้านเกิดอย่างสหรัฐอเมริกา คือ ศูนย์กลางในการรวมสโมสรดังๆ มาร่วมฟาดแข้ง โดยที่ผ่านมาเกมอุ่นเครื่องระหว่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พบกับ เรอัล มาดริด ที่รัฐมิชิแกน
เมื่อปี 2014 กลายเป็น อีเวนท์ฟุตบอลที่มีผู้ชมเข้าสนามมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ที่จำนวน 109,318 คน คิดดูว่ารายได้จากตั๋วเข้าชม ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดที่ได้รับจากทั่วโลก รวมถึงเม็ดเงินที่ได้จากการขายเสื้อจะมากขนาดไหน
หากย้อนกลับไปในปี 2015 การแข่งขันฟุตบอลรายการนี้ ได้มีการขยายแฟรนไชส์ออกไปจัดแข่งขันที่ จีน และ ออสเตรเลีย ด้วย รวมถึงมีบางเกมที่แข่งกันที่ประเทศเม็กซิโก และ อังกฤษ ทำให้จำนวนทีมเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
ปี 2016 เป็นครั้งที่มีทีมเข้าร่วมมากที่สุด (17 ทีม) จัดแข่งใน 6 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, จีน เป็นเจ้าภาพหลักในแต่ละโซน โดยมี อังกฤษ, ไอร์แลนด์ และ สวีเดน ร่วมจัดร่วมกับโซนอเมริกา
ส่วนปี 2017 มีสโมสรเข้าร่วม 15 ทีม มาจาก 5 ลีกดังของยุโรปทั้งหมด โดยแชมป์ ลา ลีกา, พรีเมียร์ลีก, บุนเดสลีกา และ เซเรีย อา มาครบ (โมนาโก แชมป์ ลีก เอิง ไม่ได้มา) โดยมี 3 ประเทศช่วยกันจัด โดยสหรัฐอเมริกายังคงเป็นเจ้าภาพหลัก และเป็นประเทศที่มีสโมสรบินไปร่วมฟาดแข้งมากที่สุด (8 ทีม) ส่วนเจ้าภาพอีก 2 ชาติอยู่ในเอเชีย คือ จีน และ สิงคโปร์
ภาพจาก goo.gl/NyLrvp
ไม่เพียงเท่านี้ สตีเฟน รอสส์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันคนเดิม และ เจ้าของทีมไมอามี ดอลฟินส์ ในศึกอเมริกันฟุตบอลเอ็นเอฟแอล สหรัฐฯ ก็ตกเป็นข่าว กำลังร่วมมือกับกลุ่มนักลงทุนจากกาตาร์ เพื่อขอซื้อการแข่งขันรถสูตรหนึ่ง ชิงแชมป์โลก มาจาก เบอร์นี เอคเคิลสโตน เจ้าของกรรมสิทธิ์คนปัจจุบัน
โดย “เดอะ ไฟแนนเชียล ไทม์ส” และ “รอยเตอร์” รายงานว่า การทำสัญญาครั้งนี้ อาจจะมีมูลค่ามหาศาลถึง 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 272,000 ล้านบาท) และคาดว่า น่าจะทำให้ศึกฟอร์มูลาวัน ได้รับความนิยมอย่างสูงในสหรัฐอเมริกา
ในปัจจุบันในสหรัฐฯ มีการแข่งขันเอฟวัน เพียงแค่สนามเดียวต่อฤดูกาล คือ เท็กซัส แต่ศึกรถสูตรหนึ่งมีโอกาสเติบโตได้อีกมากในสหรัฐฯ ถ้าหากมีนักธุรกิจกีฬาชาวอเมริกัน เข้ามาเป็นเจ้าของใหญ่ เนื่องจากรู้จักธรรมชาติ และอุตสาหกรรมกีฬาในอเมริกาเป็นอย่างดี ทำให้ รอสส์ เชื่อว่า เอฟวัน จะสามารถโกยเงินได้มหาศาลในบ้านเกิด
โดยกลุ่มทุนอาร์เอสอีของ รอสส์ นั้น เป็นกลุ่มเดียวกับที่เจรจากับ เดวิด เบคแคม อดีตมิดฟิลด์กัปตันทีมชาติอังกฤษ เรื่องการร่วมลงทุนก่อตั้งสโมสรฟุตบอลเมเจอร์ ลีก ซ็อคเกอร์ ในเมืองไมอามี นั่นเอง
สหรัฐฯ ขยายแฟรนไชส์กีฬาอาชีพสู่ต่างแดน
ภาพจาก www.youtube.com/watch?v=5NsrwH9I9vE
หลังจากที่ ทรัมป์ ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ทำให้เรื่องของกีฬาเป็นที่สนใจของชาวอเมริกันอีกครั้งหนึ่ง เพราะทรัมป์ ให้ชอบเรื่องกีฬา แน่นอนว่าเมื่อเขาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯแล้ว ธุรกิจด้านกีฬาของสหรัฐฯ จะได้รับการพัฒนาและสนับสนุนจากเขา โดยเฉพาะการขายตลาดกีฬาของคนอเมริกันไปสู่ต่างแดน
ก่อนหน้านี้ การแข่งขันกีฬา 3 ลีกใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้พยายามขยายแฟนไชส์ไปต่างแดนแล้ว ได้แก่ อเมริกันฟุตบอล เอ็นเอฟแอล (NFL), บาสเก็ตบอล เอ็นบีเอ (NBA) และ เมเจอร์ ลีก เบสบอล (MLB) ขยายตลาดออกนอกประเทศ จัดการแข่งขันหลายๆ เมือง เช่น ลอนดอน, บาร์เซโลนา, ริโอ เดอ จาเนโร, เม็กซิโก ซิตี, เซี่ยงไฮ้ และ เบอร์ลิน
ทรัมป์กับแฟรนไชส์กีฬา
ภาพจาก goo.gl/uCUiE7
ทรัมป์เริ่มเข้ามาสนในวงการกีฬาสหรัฐฯ เมื่อช่วงปี 1983 ด้วยการเป็นหนึ่งในเจ้าของทีม เจอร์ซีย์ เจเนอรัลด์ ทีมน้องใหม่แห่งศึกอเมริกันฟุตบอลลีก สหรัฐอเมริกา (USFL) โดยช่วงก่อนเริ่มฤดูกาลแรก
ทรัมป์ได้ลงทุนขายธุรกิจแฟรนไชส์น้ำมันในรัฐโอคลาโฮมา เพื่อนำเงินมาบริหารสโมสรกีฬาแห่งนี้ เขายังเป็นเจ้าของสนามกอล์ฟหลายแห่ง เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามวยหลายๆ แห่ง โดยเฉพาะการจัดการแข่งขันชกของไมค์ ไทสัน
ในปี 1989 และปี 1990 ยังซื้อลิขสิทธิ์การจัดการแข่งขันจักรยานชื่อดังของโลก มาจัดการแข่งขันที่สหรัฐอเมริกา “ตูร์เดอทรัมป์” โดยพยามจัดการแข่งขันให้ยิ่งใหญ่เหมือนในยุโรปอย่าง “ตูร์เดอฟร้องส์” ของฝรั่งเศส
ภาพจาก goo.gl/uCUiE7
เรียกได้ว่าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนนี้ เป็นผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการกีฬามาสมควร ไม่แพ้วงการธุรกิจหรือการเมือง ได้เห็นแล้ว นโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ ในการสนับสนุนการลงทุนธุรกิจภายในประเทศ
จะส่งผลดีต่อการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ในสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น ทรัมป์ก็เคยทำธุรกิจแฟรนไชส์มาก่อน เชื่อว่าน่าจะเป็นโอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์ทุกประเภทของสหรัฐฯ สามารถขยายตลาดออกสู่ต่างแดนมากขึ้น
อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/cy28Yr
หรือสนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ goo.gl/HSZwzT
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3n3nq6Q