สรุปขั้นตอนเปิดร้านในห้าง ใช้เวลาเท่าไหร่

ห้างสรรพสินค้าเป็นหนึ่งในเป้าหมายของเจ้าของกิจการหลายรายในการเข้าไปเช่าพื้นที่เปิดร้าน แม้การเปิดในห้างจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าข้างนอก แต่ในห้างมีจุดเด่นเรื่องทราฟฟิค หรือแม็กเน็ตต่างๆ ดึงดูดความสนใจให้ลูกค้าเข้าไปใช้บริการ จ้าของกิจการท่านใด สนใจเปิดร้านในห้างฯ มาดูกันว่ามีขั้นตอนอย่างไร ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่

ยกตัวอย่างร้านแบบ…Bare Shell ร้านไซส์ใหญ่
(ขนาด 30 ตร.ม.ขึ้นไป)

สรุปขั้นตอนเปิดร้านในห้าง

ขั้นตอนการทำ

  1. เขียนแบบงานระบบ หรือ M&E ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาพอสมควร ปัจจุบันมีบริษัทรับเหมาออกแบบและตกแต่งร้านในห้างมากมายแล้วแต่เจ้าของกิจการจะเลือกเจ้าไหน ให้เลือกบริษัทที่มีประสบการณ์ก่อสร้างร้านในห้างจะดีที่สุด
  2. ส่งแบบก่อสร้างให้ห้างอนุมัติ (7-10 วัน) อาทิ แบบแปลนงานตกแต่งภายในทั้งหมด รวมถึงแบบแปลนระบบวงจรไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศและงานระบบอื่นๆ ในการส่งแบบเพื่อขออนุมัติเช่าพื้นที่ของห้างสรรพสินค้า ในแต่ละห้างจะมีความเข้มงวดที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยหลักการจะเน้นในส่วนของความปลอดภัยเป็นหลัก
  3. รับมอบพื้นที่จากห้าง เพื่อเข้าทำการตกแต่งร้านในห้าง เมื่อเจ้าของกิจการได้ผู้รับเหมาก่อสร้างครบแล้ว (หรือบางส่วนก็ได้) ให้นัดกับทางห้างเพื่อดำเนินการขอรับพื้นที่โดยจะมีเอกสารเซ็นยืนยันการรับพื้นที่ ดำเนินงานก่อสร้างว่ามีกฎระเบียบอย่างไรบ้าง เช่น ช่วงเวลาที่สามารถเข้าทำงานได้ การใช้น้ำ ไฟฟ้า การขนของ และอื่นๆ
  4. วางแผนการดำเนินงาน และวางแผน Timeline การก่อสร้างร้าน เข้าไปทำเวลาไหน ทำอะไรก่อนหลัง เพื่อเสร็จทันเวลา
  5. พอกำหนดระยะเวลาในการก่อสร้างร้านเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาเข้าไปตกแต่งร้านในห้าง

Set Up ร้าน (22.00 น. – 05.00 น.)

สรุปขั้นตอนเปิดร้านในห้าง

ช่วงเวลาเข้าไปกกแต่งร้านเป็นเวลากลางคืนหลังจากห้างปิด โดยทางห้างจะให้เวลาเข้าตกแต่งร้านประมาณ 10 วัน

  • คืนที่ 1 ทำ Hording กั้นรอบพื้นที่ก่อสร้างร้าน รวมถึง วางเงินค้ำประกันการตกแต่งร้าน โดยเงินค่าประกันการตกแต่งร้านจะได้คืนหลังจากการตกแต่งเรียบร้อยแล้ว และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ หรือทำผิดระเบียบข้อใดข้อหนึ่งในระหว่างการตกแต่งร้าน (เจ้าของกิจการควรให้ผู้รับเหมาะเป็นคนวางเงินค้ำประกันการตกแต่งร้าน เพื่อป้องกันการทิ้งงาน)
  • คืนที่ 2 ทำพื้น ทำกันซึมเมมเบรน แต่ละห้างอาจจะมีกฎระเบียบไม่เหมือนกัน จะทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้
  • คืนที่ 3 เดินงานระบบไฟฟ้า ประปา สุขาภิบาล
  • คืนที่ 4 ปูพื้น ปูแผ่นไฟเบอร์ กรณีเป็นร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม
  • คืนที่ 5 ติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งร้าน
  • คืนที่ 6 เก็บงานเฟอร์นิเจอร์ ติดป้ายชื่อร้านให้โดดเด่น
  • คืนที่ 7 ขนอุปกรณ์ชิ้นใหญ่ๆ เข้าพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ ตู้ เคาน์เตอร์ และอื่นๆ
  • คืนที่ 8 ตรวจเช็คความเรียบร้อยของร้าน
  • เช้าที่ 9 Clean Up & Test Run ทำความสะอาดภายในร้าน ครัว โต๊ะ ซิงค์ล้างจาน และอบรมเตรียมความพร้อมให้กับพนักงาน
  • คืนที่ 10 แจ้งทางห้างให้เข้ามาตรวจสอบแบบงานตกแต่งและงานระบบทั้งหมดภายในร้านว่าเป็นไปตามแบบที่แจ้งก่อนเข้าก่อสร้างและถูกต้องจามเงื่อนไขการตกแต่งหรทอไม่ หากไม่พบข้อผิดพลาด ทางห้างจะอนุมัติเปิด Partition หน้าร้าน ทำการขายต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม เมื่องานก่อสร้างตกแต่ง และงานระบบ ทั้งหมดเสร็จสิ้น ผู้เช่าหรือผู้รับเหมาทำหนังสือแจ้งขอรับเงินค่าประกันการก่อสร้างคืน ซึ่งทางห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่จะให้คืนเป็นเช็คเงินสดและนัดวันรับ

ส่วนร้านขนาดเล็กแบบ Open Plan ร้านไซส์เล็ก คีออส (Kiosk) (ขนาด 30 ตร.ม. ลงมา)

สรุปขั้นตอนเปิดร้านในห้าง

ขั้นตอนการเปิดร้านไม่ต่างจากร้านขนาดใหญ่ แต่จะใช้เวลาน้อยลง กฎระเบียบต่างๆ ในการก่อสร้างก็ไม่ต่างกัน แต่งานระบบของร้านจะไม่ซับเหมือนเหมือนร้านขนาดใหญ่ ผู้รับเหมาสามารถทำจากข้างนอกแล้วนำไปตั้งในห้างได้

  1. เขียนแบบงานระบบร้าน หรือ M&E
  2. ส่งแบบก่อสร้างให้ห้างอนุมัติ (7-10 วัน)
  3. รับมอบพื้นที่จากห้าง
  4. วางแผน Timeline สร้างร้าน
  5. เข้าตกแต่งร้าน

Set Up ร้าน (22.00 น. – 05.00 น.)

สรุปขั้นตอนเปิดร้านในห้าง

  • คืนที่ 1 เดินงานระบบ + วางเงินค้ำประกันการตกแต่งร้าน
  • คืนที่ 2 ปูพื้นลามิเนต หรือ พื้นไม้เอ็นจิเนียร์
  • คืนที่ 3 ติดตั้งระบบไฟฟ้า ประปา
  • คืนที่ 4 ยกคีออส (Kiosk) มาตั้ง
  • คืนที่ 5 ห้างตรวจงานระบบร้าน + ส่งแบบ As Built รับเงินค่าประกันก่อสร้างคืน

สรุปขั้นตอนเปิดร้านในห้าง และระยะเวลาเปิดร้านในห้าง อาจมีขั้นตอนอื่นๆ แทรกย่อยตามเงื่อนไขของแต่ละห้าง หัวใจสำคัญของเปิดร้านในห้าง ต้องวางแผนกำหนดเวลาทำงาน ถ้าวางแผนผิดพลาด ทำงานเกินเวลา จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช