สงครามร้านสะดวกซื้อ 6 แบรนด์ ในมือ 5 เจ้าสัวไทย

เชื่อหรือไม่ว่าธุรกิจร้านสะดวกซื้อในเมืองไทยแข่งขันกันดุเดือดมาก คาดว่ามูลค่าตลาดจะพุ่งสูงถึง 6.38 แสนล้านบาทในปี 2568 เติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่คาดว่ามูลค่าตลาดจะเติบโตอยู่ที่ 6.05 แสนล้านบาท

ต้องยอมรับว่าสมรภูมิรบในธุรกิจ “ สงครามร้านสะดวกซื้อ – มินิมาร์ท ” เริ่มทวีดีกรี มีการแข่งขันร้อนแรงและมีอัตราการเติบโตของแต่ละแบรนด์มากขึ้นทุกๆ ปี โดยสมรภูมิรบแห่งนี้จะเห็นผู้เล่นหลักๆ ในตลาดล้วนเป็นเครือข่ายธุรกิจใต้ปีกของ “เจ้าสัวเมืองไทย”

ถามว่าความท้าทายของธุรกิจร้านสะดวกซื้อที่ต้องเผชิญคืออะไร ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะต้นทุน ค่าครองชีพสูงขึ้น กำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว อาจส่งผลกระทบต่อยอดขายต่อบิล รวมถึงการแข่งขันและผูกขาดโดยผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงไม่กี่รายในตลาด ส่งผลให้โอกาสในการเข้าสู่ตลาดของผู้เล่นรายใหม่มีความเป็นไปได้น้อยในอนาคต

มาดูส่วนแบ่งการตลาดร้านสะดวกซื้อในประเทศไทย (ทุกขนาด) เป็นของแบรนด์เจ้าสัวท่านใด

  • 7-Eleven (70.8%)
  • Lotus’s (10.6%)
  • Big C Mini (4.5%)
  • CJ MORE (4.2%)
  • อื่นๆ รวมกัน (9.9%)

การสร้างจุดยืนทางการตลาดที่แตกต่างกันของแต่ละแบรนด์ กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญในการแข่งขันในตลาดของธุรกิจร้านสะดวกซื้อในเมืองไทย ยกตัวอย่าง 7-Eleven, Lotus´s, Big C mini และ CJ Express, CJ More ขายสินค้าและบริการที่เหมือนกัน มุ่งเน้นลูกค้าระบบสมาชิก กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเดียวกัน มักจะเปิดร้านใกล้ๆ กัน

ส่วน Tops Daily และ Lawson 108 เน้นขายสินค้าคุณภาพดี ทำเลส่วนใหญ่จะอยู่ตามแหล่งชุมชนคนมีฐานะขึ้นมาหน่อย อย่างร้านสะดวกซื้อ Lawson 108 เปิดสาขาในศูนย์การค้าก็มีมาแล้ว

1. 7-Eleven

สงครามร้านสะดวกซื้อ

ก่อนอื่นมาดูสัดส่วนรายได้ในร้าน 7-Eleven แบ่งออกเป็นสินค้าอุปโภค 24% ที่เหลือ 76% เป็นสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม แต่ละสาขาของ 7-Eleven มียอดขายเฉลี่ยต่อวัน 86,656 บาท ยอดซื้อต่อบิล 85 บาท มีจำนวนลูกค้าเฉลี่ยต่อวัน 1,007 คน

  • บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน)
  • ตระกูล เจียรวนนท์
  • เปิดบริการครั้งแรก ปี 2532 (35 ปี)
  • จำนวน 14,545 สาขา
  • เวลาทำการ เปิด 24 ชั่วโมง
  • รายได้ปี 2566 ประมาณ 429,495 ล้านบาท
  • กำไร 15,403 ล้านบาท
  • ขายแฟรนไชส์

#รูปแบบที่ 1

  • เงินลงทุน 4.8 แสนบาท
  • เงินประกัน 1 ล้านบาท
  • รวมแล้วต้องมีเงินให้กับทาง 7-Eleven ประมาณ 1.48 ล้านบาท อายุสัญญา 6 ปี

Store Business Partner เข้าไปเป็นผู้จัดการร้าน มีเงินเดือน 29,000 บาท ต้องบริหารค่าใช้จ่ายให้ได้ตามงบ ย้ำว่าค่าใช้จ่ายไม่ใช่ยอดขาย ค่าใช้จ่ายก็มี ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์หลัก และอื่นๆ

ถ้าบริหารร้านได้ตามเป้างบค่าใช้จ่าย จะมีปันผลแบ่งยอดกำไรจากการขายให้ 20-30% ในส่วนที่มียอดขายเกินเป้า

#รูปแบบที่ 2

  • เงินลงทุน 1.73 ล้านบาท
  • เงินประกัน 9 แสนบาท
  • รวมแล้วต้องมีเงินให้กับทาง 7-Eleven = 2.63 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี

ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้ส่วนแบ่งจากกำไร 54% (ยังไม่ได้หักค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน และอื่นๆ ในร้าน)

การเป็น Store Business Partner ทั้ง 2 รูปแบบ ผู้ลงทุนไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์ และการก่อสร้างออกแบบตกแต่งร้าน ทางซีพีออลล์เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด รวมถึงค่าเช่า ภาษีป้าย ภาษีที่ดิน และอื่นๆ

2. Lotus´s

สงครามร้านสะดวกซื้อ

  • บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน)
  • ตระกูล เจียรวนนท์
  • เปิดบริการครั้งแรก ปี 2536 (31 ปี)
  • จำนวน 1,595 สาขา
  • เปิดให้บริการ 06.00 -23.00 น.
  • รายได้ปี 2566 ประมาณ 250,000 ล้านบาท
  • กำไร 7,470 ล้านบาท
  • ไม่ขายแฟรนไชส์

3. Big C mini

สงครามร้านสะดวกซื้อ

  • บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)
  • ตระกูล สิริวัฒนภักดี
  • เปิดบริการครั้งแรก ปี 2551 (16 ปี)
  • จำนวน 1,434 สาขา
  • เปิดบริการ 24 ชั่วโมง
  • รายได้ปี 2566 ประมาณ 168,029 ล้านบาท
  • กำไร 4,794 ล้านบาท
  • ไม่ขายแฟรนไชส์

4. CJ Express

สงครามร้านสะดวกซื้อ

  • บริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด
  • ตระกูล เสถียรธรรมะ
  • เปิดบริการครั้งแรก ปี 2548 (19 ปี)
  • จำนวน 1,000 สาขา
  • เปิดบริการ 06.00 -23.00 น.
  • รายได้ปี 2566 ประมาณ 44,000 ล้านบาท
  • กำไร 2,600 ล้านบาท
  • ไม่ขายแฟรนไชส์

5. Tops Daily

Brand Key

  • บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด มินิมาร์เก็ต จำกัด
  • ตระกูล จิราธิวัฒน์
  • เปิดบริการครั้งแรก ปี 2535 (32 ปี)
  • จำนวน 515 สาขา
  • เปิดบริการส่วนใหญ่ 24 ชั่วโมง
  • รายได้ปี 2566 ประมาณ 9,771 ล้านบาท
  • กำไร 248 ล้านบาท
  • ขายแฟรนไชส์

FC ประเภทที่ 1

ผู้รับสิทธิ์มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองที่ดิน/อาคาร ขนาดมากกว่า 200 ตร.ม. เป็นระยะเวลามากกว่า 9 ปี สนใจที่จะนำพื้นที่ดังกล่าวเปิดร้าน ท็อปส์ เดลี่

  • มีเงินทุนค่าก่อสร้างและอุปกรณ์ ประมาณ 4.60 ล้านบาท (ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่)
  • ส่วนแบ่ง 70 % จากกำไรขั้นต้น ยิ่งขายมากยิ่งเติบโต
  • การันตรีรายได้ 150,000 บาท ต่อเดือน 1 ปีแรกของสัญญา

FC ประเภทที่ 2

ผู้รับสิทธิ์ไม่มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองที่ดิน/อาคาร แต่สนใจที่จะเข้าสวมสิทธิบริหารร้านค้า ท็อปส์ เดลี่ ที่เปิดอยู่เดิม

  • มีเงินทุน 1.07 ล้านบาท
  • ส่วนแบ่ง 40 % จากกำไรขั้นต้น ยิ่งขายมากยิ่งเติบโต
  • การันตรีรายได้ 60,000 บาท ต่อเดือน 1 ปีแรกของสัญญา

6. Lawson 108

สงครามร้านสะดวกซื้อ
ภาพจาก https://www.facebook.com/LAWSON108
  • บริษัท สห ลอว์สัน จำกัด
  • ตระกูล โชควัฒนา
  • เปิดบริการครั้งแรก ปี 2556 (11 ปี)
  • จำนวน 198 สาขา
  • เปิดบริการ 06.00 -23.00 น.
  • รายได้ปี 2566 ประมาณ 2,805 ล้านบาท
  • กำไร 8.7 ล้านบาท
  • ไม่ขายแฟรนไชส์

ร้านสะดวกซื้อแต่ละแบรนด์ มีลักษณะ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร?

1. 7-Eleven

MIXUE vs 7-Eleven

  • ลักษณะ: ร้านสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมง
  • สินค้า: อาหารสำเร็จรูป, ขนมขบเคี้ยว, เครื่องดื่ม, ของใช้ประจำวัน
  • บริการ: เติมเงิน, จ่ายบิลต่างๆ, รับส่งพัสดุ, เดลิเวอรี่, สะสมแสตมป์, สแกนจ่าย
  • กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชนทั่วไป

2. Lotus’s

สงครามร้านสะดวกซื้อ

  • ลักษณะ: ร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน
  • สินค้าที่มี: สินค้าอุปโภคบริโภค, อาหารสด, ของใช้ประจำวัน
  • บริการ: โปรโมชั่นพิเศษ, สะสมแต้ม, บริการจัดส่งสินค้า
  • กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชนทั่วไป

3. Big C Mini

สงครามร้านสะดวกซื้อ

  • ลักษณะ: ร้านสะดวกซื้อใกล้ชุมชน
  • สินค้า: สินค้าอุปโภคบริโภค, อาหารสำเร็จรูป, ของใช้ประจำวัน
  • บริการ: โปรโมชั่น ส่วนลด สะสมแต้ม
  • กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชาชนทั่วไป

4. CJ Express

สงครามร้านสะดวกซื้อ

  • ลักษณะ: ร้านสะดวกซื้อค้าส่ง-ค้าปลีก
  • สินค้า: อาหารสำเร็จรูป, สินค้าอุปโภคบริโภค, เครื่องสำอาง, ของใช้ประจำวัน
  • บริการ: จัดโปรโมชั่น ส่วนลดพิเศษ สะสมแต้ม ขายส่ง-ขายปลีก
  • กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชนทั่วไป พ่อค้าแม่ค้า

5. Tops Daily

ภาพจาก https://topsdaily.tops.co.th
  • ลักษณะ: ร้านสะดวกซื้อใกล้ชุมชน
  • สินค้า: สินค้าเกรดพรีเมียม, อาหารสด, อาหารแห้ง, ข้าวกล่อง, ของใช้ในบ้าน
  • บริการ: โปรโมชั่น เดลิเวอรี่ เติมเงิน เงินสด บัตรเครดิต บัตรเดบิต
  • กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชาชนทั่วไป ผู้ที่มองหาสินค้าคุณภาพ

6. Lawson 108

สงครามร้านสะดวกซื้อ
ภาพจาก https://www.facebook.com/LAWSON108
  • ลักษณะ: ร้านสะดวกซื้อพรีเมี่ยมสไตล์ญี่ปุ่น
  • สินค้า: อาหารญี่ปุ่น, ขนม, เครื่องดื่ม, ของใช้ทั่วไป
  • บริการ: เดลิเวอรี่ สะสมแต้ม โปรโมชั่น
  • กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชนทั่วไป และคนชื่นชอบอาหารญี่ปุ่น

สรุป

  • 7-Eleven และ CJ Express เน้นความสะดวก รวดเร็ว เน้นบริการลูกค้าระบบสมาชิก
  • Lotus’s และ Big C Mini สินค้าและบริการคล้ายๆ กัน
  • Lawson 108 และ Tops Daily มุ่งเน้นสินค้าคุณภาพดี

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช