วิเคราะห์เทรนด์แฟรนไชส์ในมุม Data ด้วย Google Trends
ปี 2567 ตลาดแฟรนไชส์มีมูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีแบรนด์แฟรนไชส์ในประเทศรวมกว่า 625 แบรนด์ สาขาแฟรนไชส์ทั่วประเทศ 97,484 แห่ง
โดย 3 อันดับกลุ่มแฟรนไชส์ที่มีจำนวนมากที่สุดได้แก่
- กลุ่มแฟรนไชส์ “เครื่องดื่มและไอศกรีม” จำนวน 159 กิจการ เป็นสัดส่วนมากกว่า 25% จากแฟรนไชส์ทั้งหมด
- กลุ่มแฟรนไชส์ธุรกิจอาหารจำนวน 153 กิจการ
- กลุ่มแฟรนไชส์การศึกษามีจำนวน 99 กิจการ
แต่ถ้ามองย้อนไปตั้งแต่ปี 2548 พบว่าแฟรนไชส์ธุรกิจบริการกลับมีอัตราเติบโตเฉลี่ยสูงสุด 23% ตามด้วยธุรกิจการศึกษา เติบโต 21% ขณะที่ธุรกิจอาหาร มีอัตราเติบโตเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 15% ส่วนกลุ่มเครื่องดื่มและไอศกรีมที่มีจำนวนกิจการมากสุด กลับมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 14%
แต่ตัวเลขเหล่านี้ยังไม่เรียลไทน์เท่ากับข้อมูลจาก Google Trends ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้สำรวจความนิยมของคีย์เวิร์ดที่คนใช้ค้นหาบนเว็บไซต์ Google ในช่วงเวลาที่กำหนดได้ ข้อดีของการใช้ประโยชน์จาก Google Trends ได้แก่
- ดูเทรนด์มาแรงได้ทั้งแบบรายวันและแบบเรียลไทม์
- บอก “คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง” ช่วยให้รู้ว่าผู้คนส่วนใหญ่ยังสนใจอะไรที่เกี่ยวข้องอีกบ้าง
- สามารถรู้ได้ว่าคนส่วนใหญ่ใช้คีเวิร์ดอะไรในการค้นหาเรื่องที่สนใจ มีประโยชน์ในการนำคำเหล่านั้นไปใช้ในการตลาดได้
วิเคราะห์ “แฟรนไชส์” โดย Google Trends ได้รู้อะไรบ้าง?
1.แฟรนไชส์ “ภาษาอังกฤษ” มาแรงในช่วงวันที่ 25 -26 มีนาคม 2567
อาจจะเพราะเป็นช่วงปิดภาคเรียนหรือไม่อย่างไรที่ทำให้แฟรนไชส์การศึกษาเป็นคำค้นหาที่มาแรงในวันที่ 25 -26 มีนาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงวันที่ 25 มีนาคมคำค้นนี้ขึ้นไปแตะระดับสูงสุด พื้นที่ในการค้นหาอยู่ที่อุทัยธานีมากที่สุด ตามมาด้วยชลบุรี และยโสธร ตามลำดับ และหากพูดถึงแฟรนไชส์ภาษาอังกฤษก็มีหลายแฟรนไชส์ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันเสริมทักษะ อายเลเวล , ไบร์ทอัพคิดส์ , อิงลิชคอนเนอร์ รวมถึง คุมองที่มีหลักสูตรสอนภาษาอังกฤษให้ผู้สนใจด้วยเช่นกัน
2.รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา คำค้น “ท็อปส์ เดลี่” มาแรงสุด
ซึ่งคำว่า “ท็อปซุปเปอร์มาเก็ต” เป็นคำค้นหามากที่สุดช่วงประมาณวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา สอดคล้องกับคำว่า “ท็อปส์ เดลี่” ที่เป็นคำค้นหาที่เกี่ยวข้องที่คนเข้ามาค้นหามากที่สุดในวันที่ 20 มีนาคมเช่นกัน รวมถึงคำว่า “Investment” ก็เป็นคำค้นมากสุดในช่วงเวลาดังกล่าวเช่นกัน พื้นที่ที่ผู้คนมีการค้นหามากที่สุดอยู่ในนนทบุรี , กรุงเทพฯ และปทุมธานี
ข้อมูลนี้จะไปสอดคล้องกับช่วงเวลาที่มีการประกาศขายแฟรนไชส์ของ “ท็อปส์ เดลี่” ที่ทำให้คนตื่นตัวและอยากรู้ข้อมูลด้านการลงทุนมากขึ้น
3.รอบสัปดาห์ที่ผ่านมาคำค้น “แฟรนไชส์อาหาร ” มากกว่า “แฟรนไชส์เครื่องดื่ม
แม้ทั้ง 2 กลุ่มแฟรนไชส์จะมีความนิยมมากที่สุดดูจากจำนวนกิจการในสองกลุ่มที่มีความใกล้เคียงกัน แต่ในรอบ 7 วันที่ผ่านมาปรากฏคำค้นหา “แฟรนไชส์อาหารมากกว่า โดยการค้นหาแตะระดับสูงสุดวันที่ 26 มีนาคม 2567 โดยแฟรนไชส์เครื่องดื่มตามมาในระดับใกล้เคียงกันในช่วงเวลาดังกล่าว และหากดูข้อมูลในส่วนภูมิภาคพบว่าจังหวัดน่าน , ยโสธร , นครสวรรค์ , นครศรีธรรมราช ค้นหาคำว่าแฟรนไชส์เครื่องดื่มมากที่สุด ในขณะที่กรุงเทพฯค้นหาคำว่าแฟรนไชส์อาหารมากที่สุดเช่นกัน
4.ในรอบ 30 วัน “แฟรนไชส์เครื่องดื่มมาแรงช่วงต้นเดือนมีนาคม
ในทางกลับกันถ้าค้นประวัติย้อนลงไปรอบ 30 วันที่ผ่านมาปรากฏว่าแฟรนไชส์เครื่องดื่มมาแรงชัดเจนโดยติดคำค้นหาสูงสุดในวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา แต่หลังจากนั้นคำค้นหาก็ไล่ลงมาในระดับไล่เลี่ยกันและเมื่อเข้ามาสู่ช่วงกลางเดือนมีนาคมกลายเป็นแฟรนไชส์อาหารที่เริ่มมีคำค้นมากกว่า ในส่วนของภูมิภาคพบว่ารอบ 30 วันที่ผ่านมาแฟรนส์เครื่องดื่มมีการค้นหามากสุดในจังหวัดสุโขทัย ส่วนแฟรนไชส์อาหารมีคำค้นหามากที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่
5.ในรอบ 1 ปี แฟรนไชส์อาหารยังมาแรงสุด
ย้อนกลับไป 1 ปีปรากฏว่า “แฟรนไชส์อาหาร” ติดคำค้นหามากที่สุดอย่างชัดเจนโดยแตะระดับค้นหามากที่สุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2023 และถ้าแยกไปดูในส่วนของภูมิภาคพบว่ารอบปีที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่มีการค้นหาคำว่า “แฟรนไชส์อาหาร” มากที่สุด ส่วนในรอบปีที่ผ่านมา จังหวัดพังงามีการค้นหาคำว่า “แฟรนไชส์เครื่องดื่มมากที่สุด”
ถ้าประมวลผลการวิเคราะห์ในภาพรวมจะเห็นว่ารอบปีที่ผ่านมาแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มมีคนสนใจมากที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความแฟรนไชส์กลุ่มอื่นจะไม่ถูกพูดถึง โดยเฉพาะในปี 2567 เทรนด์ของค้าปลีกและบริการก็มาแรงเช่นกัน อย่างแฟรนไชส์บริการในปีนี้มีการเปิดตัวนวัตกรรมเน้นความสะดวกมากขึ้นทั้งเครื่องหยอดเหรียญล้างรถอัตโนมัติ , ตู้ชาร์จEV หรือธุรกิจซักผ้าหยอดเหรียญ เป็นต้น
ในฝั่งแฟรนไชส์ค้าปลีก ปี 2567 ก็ดุเดือนไม่แพ้กัน แม้จะมีแบรนด์ใหม่ไม่มากแต่การแข่งขันก็สูงชัดเจน และประโยชน์ที่ได้จากการใช้ Google Trends จะทำให้ผู้ประกอบการรู้ว่าพื้นที่ไหนสนใจอะไรมากที่สุด จะได้เน้นทำการตลาดที่ตรงกับความต้องการในแต่ละพื้นที่ได้มากขึ้น และจากข้อมูลยังพบอีกว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยมีอัตราเติบโตต่อเนื่องทุกปีประมาณ 18% มีคนซื้อแฟรนไชส์เพิ่มขึ้น 15% หรือราวๆ 327,928 คน ส่วนมากเป็นผู้หญิง 61% ผู้ชาย 39%
และหากแยกตามช่วงงบลงทุนของแฟรนไชส์พบว่าในกลุ่มเงินลงทุนไม่เกิน 100,000 บาท มีสัดส่วนร้อยละ 51.98 โดยในกลุ่มนี้ ร้อยละ 23.2 เป็นกลุ่มแฟรนไชส์ที่มีงบลงทุนระหว่าง 10,000 ถึง 50,000 บาท ทั้งนี้การลงทุนแฟรนไชส์มีด้วยกัน 2 รูปแบบคือ
- Product Franchise เน้นการกระจายสินค้าให้แฟรนไชส์ซี เงินลงทุนไม่สูงมาก ขยายสาขาได้ไว ซึ่งบางรายเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์+ รอยัลตี้ฟีส์ ค่อนข้างน้อย หรือไม่เก็บเลย
- Business Format เน้นขยายแฟรนไชส์ด้วยระบบ เพื่อควบคุมคุณภาพ มาตรฐานสินค้าและบริการ มีการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์+ รอยัลตี้ฟีส์ เพื่อนำรายได้ส่วนนี้มาใช้ส่งเสริมด้านการตลาดและพัฒนาสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งการวิเคราะห์เทรนด์แฟรนไชส์ไม่ว่าจะด้วย Google Trends หรืออ้างอิงตัวเลขใดๆ เป็นแค่ส่วนหนึ่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อให้รู้ว่าแนวโน้มการลงทุนนั้นเป็นอย่างไร มีโอกาสประสบความสำเร็จได้แค่ไหน ซึ่งการได้คุยรายละเอียดเชิงลึกของแต่ละแฟรนไชส์ที่เราสนใจเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)