วิธีหาพื้นที่ค้าขายโดยใช้ “สูตรตัดทำเล”
ปัญหาเรื่อง “ทำเล” ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ตกม้าตาย หาเท่าไหร่ก็หาไม่ได้ บางคนมีพื้นที่ขายแต่ก็ไม่ใช่ทำเลที่ดีซะอีก หรือบางทีก็ตัดสินใจไม่ได้ว่า “ทำเล” แบบนี้เหมาะกับธุรกิจของเราหรือไม่ โดยหลักการทั่วไปก็คือจะเลือกที่คนพลุกพล่าน ดูทำเลที่มีกลุ่มลูกค้าเหมาะกับสินค้า รวมถึงอาจพิจารณาเรื่องการสัญจร ความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่
อะไรคือ “สูตรตัดทำเล”?
อย่างไรก็ดีหากต้องการเจาะลึกมากขึ้นมีสูตรตัดทำเลที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้จัก ซึ่งสูตรนี้ได้เขียนไว้ในหนังสือ “เพราะไม่มีอะไร จึงมีอะไร” ที่เขียนโดย คุณทาดามิตสึ มัตสึอิ ผู้เคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการของ MUJI โดยมี 4 หลักเกณฑ์ที่ควรรู้ได้แก่
- สภาพความจำเพาะของตลาด
- สภาพแวดล้อมโดยรอบพื้นที่
- สิ่งปลูกสร้างเพื่อการพาณิชย์
- สภาพแวดล้อม ณ ที่ตั้งสาขานั้น
ซึ่งใน 4 หัวข้อนี้จะถูกนำมาออกแบบคำถามเพื่อใช้ประเมินและให้คะแนนว่าพื้นที่ที่เราหมายตาไว้มีความเหมาะสมในแง่การลงทุนที่จะคุ้มค่าหรือไม่ มองเผินๆ อาจจะเป็นโมเดลของธุรกิจใหญ่ๆ แต่ที่จริงก็นำมาปรับใช้ได้
ปัจจัยที่ควรรู้เพื่อนำมาใช้ “ตัดทำเล” คือ
เรื่องของระยะทาง
ยกตัวอย่างว่าหากเราเป็น “ร้านชานมไข่มุก” ในรัศมีโดยรอบประมาณ 1 กิโลจากร้านควรจะมีกลุ่มลูกค้าในปริมาณที่มากพอ นั่นก็ต้องสำรวจทำเลว่าใกล้โรงเรียน ย่านออฟฟิศ ย่านที่อยู่อาศัย อพาร์ทเม้นต์
ปริมาณลูกค้าและกำลังซื้อ
เมื่อมีกลุ่มลูกค้าก็ต้องมาดูว่ากำลังซื้อและปริมาณลูกค้ามากน้อยแค่ไหน เหมาะสมกับการเปิดร้านไหม วิถีชีวิตไลฟ์สไตล์ของคนในย่านนั้นเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ก็สำคัญกับการขายเหมือนกัน
ร้านคู่แข่งในละแวกเดียวกัน
ถ้าเรายกตัวอย่างชานมไข่มุก น่าจะเจอคู่แข่งเยอะมาก ก็ต้องมาดูภาพรวมของร้านค้าเหล่านั้นว่าเขาขายสินค้าแบบไหน อย่างไร แต่ละร้านมียอดขายมากน้อยแค่ไหน และจุดเด่นของร้านเราจะสู้ไหวไหมในศึกแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด
การนำ “สูตรตัดทำเล” มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ
แต่ก็ใช่ว่าสูตรนี้จะตายตัวสำคัญคือเป็นสูตรที่อาจต้องพลิกแพลงไปตามรูปแบบของธุรกิจต่างๆ และการนำสูตรนี้มาใช้ก็ต้องให้สอดคล้องกับอีกหลายปัจจัยยิ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีเงินทุนไม่มากไม่ใช่แบรนด์ใหญ่หรือเป็นคนที่เริ่มเปิดร้านค้าใหม่ อาจต้องพิจาณาในอีกหลายประเด็นร่วมด้วยโดยเฉพาะรายได้ของผู้คนในบริเวณนั้น
เช่น ถ้าต้องการทำเลหน้าโรงเรียน สินค้าไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่ต้องซื้อได้บ่อย ยิ่งมีคู่แข่งน้อยๆ โอกาสขายดีก็มีมาก รวมถึงต้องคำนึงถึงค่าเช่าที่เหมาะสม หากทำเลนั้นราคาเค่าเช่าสูงแต่มีคู่แข่งน้อย ประเมินแล้วว่าสินค้าของเราสามารถขายได้แน่นอนเป็น ทำเลแบบนี้ถือว่าน่าสนใจ เพราะมีโอกาสที่จะสร้างรายได้ได้มากกว่าการหาพื้นที่ค่าเช่าราคาถูกแต่ไม่มีลูกค้า รวมไปถึงไม่มีคู่แข่งสร้างแรงดึงดูดให้ลูกค้าเกิดความสนใจ
ทั้งนี้ “สูตรตัดทำเล” เป็นหนึ่งในวิธีการที่เรานำมาเสนอเป็นไอเดียให้นำไปประยุกต์ใช้ ก็ขึ้นอยู่กับการนำไปพลิกแพลงของแต่ละธุรกิจ หรือผู้ประกอบการอาจไม่เลือกใช้วิธีนี้แต่ผสมผสานการใช้เทคโนโลยีในการประเมินผลเรื่องศักยภาพพื้นที่ก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจแต่เหนือสิ่งอื่นใด วิสัยทัศน์และการตัดสินใจขั้นสุดท้ายก่อนจะเลือกทำเลเปิดร้านถือเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพเพราะนั่นคือการส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจที่เราทำอยู่
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)