วิกฤติ “โควิด-19” ดันแพลตฟอร์ม Live Streaming บูมสุดขีดในจีน
Live Streaming หรือการไลฟ์สด ผ่านคลิปวิดีโอในมือถือ ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติการสื่อสาร ที่เปลี่ยนให้ทุกพื้นที่ในโลกนี้สามารถกลายเป็นสถานที่จัดรายการสดอย่างไร้ขอบเขต และสื่อสารกันได้อย่าง Real Time ชนิดที่เรียกว่า วินาทีต่อวินาทีกันเลยทีเดียว
ล่าสุด ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส “โควิด-19” ไปทั่วโลก แม้ว่าธุรกิจหลายๆ อย่างจะได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็น ห้างค้าปลีก สถานที่ท่องเที่ยว การบิน ร้านอาหาร ฯลฯ แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ ธุรกิจที่ได้รับอานิสงค์จากวิกฤติ “โควิด-19” เช่น ธุรกิจเดลิเวอรี่ จัดส่งถึงบ้าน รวมถึงธุรกิจค้าขายออนไลน์
ภาพจาก bit.ly/2T6vYxv
แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีอีกธุรกิจประเภทหนึ่งที่มีเติบโตมากขึ้นเช่นเดียวกัน นั่นคือ Live Stream หรือการไลฟ์สด เพราะตามรายงาน Taobao Live แพลตฟอร์มการไลฟ์สดของกลุ่มอาลีบาบา พบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของไลฟ์สดในเดือนมกราคม 2563 เนื่องจากผู้ประกอบการบางส่วนเริ่มกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง แต่ลูกค้ายังลดน้อยลงเพราะกลัวการแพร่ระบาด “โควิด-19”
ที่สำคัญผู้ประกอบการต่างๆ ต้องการ Live Stream เพื่อเจาะเข้าถึงฐานกลุ่มลูกค้าโดยตรง และแพร่หลายมากขึ้นในขณะที่ลูกค้าต่างพากันเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ซึ่งตามรายงาน Taobao Live แจ้งว่า ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 กิจกรรม Live Stream บนแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น 110% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562
ภาพจาก bit.ly/3824Xzw
การเติบโตดังกล่าวเป็นเพราะผู้ประกอบการต่างๆ ไม่อยากให้ยอดขายลดลงท่ามกลางวิกฤติ จึงจำเป็นต้องหันมาใช้เครื่องมือถ่ายทอดสอดออนไลน์ เจาะกลุ่มลูกค้าโดยตรง เพื่อรักษายอดขายจากการปิดร้านห้องกันการระบาดของไวรัส ที่สำคัญต้องการให้กลุ่มลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในการทำกิจกรรมของผู้ประกอบการมากขึ้น
BMW Live Stream
ภาพจาก bit.ly/2I29ZBw
ไม่ว่าจะเป็นการ Live Stream พ่อครัวสอนการทำอาหารในร้านอาหาร, ตัวแทนการท่องเที่ยวและโรงแรมแนะนำการให้บริการทัวร์ หรือตัวแทนอสังหาริมทรัพย์นำเสนออพาร์ทเมนท์, ดาราและนักร้องแสดงในคอนเสิร์ตออนไลน์จากบ้าน, เกษตรกรในชนบท, ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์, การตกแต่งภายในของรถยนต์หรูหรา เป็นต้น
ภาพจาก bit.ly/37Yl6Ww
สำหรับในเมืองไทยก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า ธุรกิจที่มีการเติบโตในช่วงวิกฤติ “โควิด-19” แพร่ระบาด ก็คือ บริการจัดส่งถึงบ้าน และบริการขนส่งโลจิสติกส์ ไปรษณีย์ พัสดุ ขายออนไลน์ เป็นต้น
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3cTvrqw