วัยรุ่นสร้างตัว vs วัยรุ่นสร้างหนี้

เทรนด์กำลังฮิต “วัยรุ่นสร้างตัว กับ วัยรุ่นสร้างหนี้” เส้นแบ่งอยู่ห่างกันแค่นิดเดียว วัยรุ่นในยุคนี้สามารถสร้างรายได้จากหลายช่องทาง ทั้งขายของออนไลน์ ยูทูปเบอร์ และงานประจำอื่นๆ อีกมากมาย บางคนอายุเพิ่ง 20 ต้นๆ หรือยังไม่ถึง 30 ปี ก็มีเงินมีทองแล้ว วัยรุ่นบางคนพอมีรายได้ก็อยากซื้อรถ ซื้อบ้าน ซื้อของฟุ่มเฟือย แทนที่จะสร้างตัวกับกลายเป็นสร้างหนี้โดยไม่รู้ตัว ก่อนอื่นมาดูกันว่า อะไรที่ทำให้วัยรุ่นสร้างตัว ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย

วัยรุ่นสร้างตัว

วัยรุ่นสร้างตัว

วัยรุ่นสร้างตัวเป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคม มีให้เห็นแทบทุกประเทศ มีหลายบริษัทเกิดขึ้นมาจากแนวคิดวัยรุ่นสร้างตัว ในไทยวัยรุ่นสร้างตัวจะถูกมองในแง่บวก ถ้าเป็นคนที่ทำธุรกิจแล้วได้ผลประกอบการสูง

หลายๆ ธุรกิจในสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นในยุค 1980 โดยวัยรุ่นสร้างตัวที่มีความรู้ความสามารถในการทำธุรกิจและต้องการที่จะพิสูจน์ตนเองครั้งใหญ่ เช่น ไมโครซอฟต์ หรือ แอปเปิ้ล ถือเป็นสัญลักษณ์ของวัยรุ่นสร้างตัว ที่เป็นแรงบันดาลใจให้นักธุรกิจทั่วโลกหลายๆ คนได้ลองปฏิบัติตามนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้

แนวคิดแบบวัยรุ่นสร้างตัว ส่วนใหญ่จะคิดและต้องลงมือทำด้วยตนเอง ทำกันตั้งแต่อายุยังน้อยๆ วัยรุ่นสร้างตัวส่วนใหญ่จะให้ความสนใจกับบุคคลหรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในช่วงอายุเดียวกัน ทั้งในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ช่วงวันหยุดพวกเขาจะไม่หยุด คอยหาแนวทางต่อยอดการทำงานอยู่ตลอดเวลา

วัยรุ่นสร้างตัว

วัยรุ่นสร้างตัวช่วงอายุ 20 กว่าๆ มักรู้ว่าตัวเองชอบอะไร ถนัดอะไร และใช้เวลาว่างทำมันออกมา หารายได้จากหลายช่องทาง เก็บเงินเพื่อลงทุน หาความรู้เพิ่มเติม พวกเขาจะมีเครือข่ายสังคมหนาแน่น นำไปสู่การสร้างคอนเนคชั่นกับคนที่มีความสามารถ พวกเขารู้ว่าการปฏิสัมพันธ์พูดคุยกับคนอื่นมีส่วนสำคัญในการที่จะประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน

สำหรับเคล็ดลับง่ายๆ สำหรับวัยรุ่นสร้างตัวที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ อันดับแรกต้องลองไปทำงานประจำที่มีความมั่นคง หารายได้หลายช่องทาง เก็บออกมเงินเพื่อเตรียมการลงทุน หาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่างๆ

วัยรุ่นสร้างหนี้

ภาพจาก freepik.com

วัยรุ่นสร้างหนี้ เป็นกลุ่มคนที่ต่อยอดจากวัยรุ่นสร้างตัว เริ่มต้นหารายได้ ทำธุรกิจ อยากมีอยากได้ สุดท้ายกลายเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว ดูจากสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยยังน่าห่วง โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุ หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงกว่า 90% ของ GDP จากการศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนรุ่นใหม่ หรือ Gen Z มีแนวโน้มเป็นหนี้มากขึ้นในอนาคต และไม่คำนึงถึงการวางแผนการเงินเพื่ออนาคตมากนัก โดยคนรุ่นใหม่ยังนิยมใช้จ่ายฟุ่มเฟือยแบบซื้อก่อนจ่ายทีหลัง

ข้อมูลเครดิตบูโร พบว่า คนรุ่นใหม่ (20-29 ปี) เป็นหนี้ในระบบกว่า 1.1 ล้านล้านบาท เทียบเป็น 6.6% ของ GDP เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ถึง 46.6% โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่นิยมซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยแบบ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” พบว่า 50% ของกลุ่ม Gen Z (15-27 ปี) มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท เป็นกลุ่ม “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” มากที่สุด ส่วนใหญ่ใช้จ่ายไปกับสินค้าจำพวกเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ เป็นพฤติกรรมเสี่ยงของคนรุ่นใหม่ที่นำไปสู่การก่อหนี้มากที่สุด

ค่านิยมของคนรุ่นใหม่มีทัศนคติใช้จ่ายเพื่อความสุขของตนเอง หรือเรียกว่า “ของมันต้องมี” นิยมสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ จับจ่ายใช้สอยได้ง่ายขึ้น เป็นพฤติกรรมการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หากขาดการไตร่ตรองอาจนำไปสู่การก่อหนี้ในอนาคต

ภาพจาก freepik.com

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำรวจพฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายเด็กรุ่นใหม่ (Gen Z) วันที่ 6-15 ม.ค. 2567 ส่วนใหญ่กำลังศึกษา 92.4% ส่วนอีก 5.8% ทั้งศึกษาและทำงาน และ 1.9% ทำงานแล้ว พบว่า 65% ไม่มีการออมและการลงทุน

ยังพบว่า 58.2% มีค่าใช้จ่ายเท่ากับรายได้ และอีก 24.7% ค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ในส่วนของกลุ่มที่มีรายจ่ายมากกว่า จะแก้ไขปัญหาด้วยการขอเงินผู้ปกครอง ยืมเงินเพื่อน ทำงานพิเศษ ขายสินทรัพย์ส่วนตัว กู้ยืมทั้งในและนอกระบบ ส่งผลให้มีหนี้นอกระบบเฉลี่ยคนละ 10,708 บาท รวมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. เฉลี่ย 41,185 บาท

หนี้ของคนรุ่นใหม่ที่มีปัญหามากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ หนี้เช่าซื้อ หนี้เพื่อประกอบธุรกิจ 21.1%, หนี้ส่วนบุคคล 13.7%, หนี้บัตรเครดิต 11.1%, หนี้รถยนต์ 7.5% และ หนี้ที่อยู่อาศัย 3.4%

สรุปก็คือ วัยรุ่นสร้างตัว ส่วนใหญ่จะคิดและลงมือทำด้วยตนเอง ทำกันตั้งแต่อายุยังน้อยๆ พวกเขารู้ว่าตัวเองชอบอะไร ถนัดอะไร และใช้เวลาว่างทำมันออกมา หารายได้จากหลายช่องทาง เก็บเงินเพื่อลงทุน หาความรู้เพิ่มเติม ส่วนวัยรุ่นสร้างหนี้มักมีทัศนคติใช้จ่ายเพื่อความสุขของตนเอง เรียกว่า “ของมันต้องมี” ส่วนใหญ่สุดท้ายกลายเป็นหนี้

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช