วอทอะเชคคาเฟ่ จากยอดขายวันละ 8 แก้ว สู่แฟรนไชส์รายได้หลักแสนต่อเดือน!

“ขยัน ตั้งใจ พยายามทำซ้ำๆ ทำไปจนกว่าจะสำเร็จ” แนวคิดสั้นๆง่าย ของคนที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ หลายคนที่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน ต้องเลิกล้มกลางทาง ก็เพราะขาดคุณสมบัติข้อนี้ โดยเฉพาะในธุรกิจเครื่องดื่มอย่างชานมไข่มุก กาแฟ ที่ใครต่อใครบอกว่านี่คือ “ธุรกิจปราบเซียน” ซึ่งในความเป็นจริงทุกธุรกิจมีโอกาสในตัวเองเพียงแต่เราจะหามันพบหรือเปล่า

วอทอะเชคคาเฟ่

หากใครที่ได้รู้จักกับ “ วอทอะเชคคาเฟ่ ” อาจจะมองว่านี่คือธุรกิจที่โด่งดังมากขนาดที่เคยสร้างปรากฏการณ์ยอดขายวันละเป็น 1,000 แก้ว แต่ใครจะรู้ว่ากว่าจะมีวันนี้วันที่กลายเป็น “สุดยอดแฟรนไชส์” วอท อะ เชค คาเฟ่ ผ่านวิกฤติชีวิตมามากมาย

และสิ่งที่ได้รับในวันนี้คือความสำเร็จจากความพยายามไม่ใช่โชคช่วย www.ThaiSMEsCenter.com จะพาทุกท่านมารู้จัก วอทอะเชคคาเฟ่ ให้มากขึ้น แล้วคุณจะรู้ว่า “ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ” เขาต้องเริ่มต้นอย่างไร

จากร้านเล็กๆ หน้าบ้าน เติบโตเป็นแฟรนไชส์มีสาขากว่า 23 แห่ง

วอคอะเชคคาเฟ่

คุณวทัญญู พิชญานุกูล (คุณโอม) เจ้าของแฟรนไชส์ “ วอทอะเชคคาเฟ่ ” พูดถึงต้นทุนชีวิตที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ออกจะเป็นเด็กรักสนุกด้วยซ้ำไป แต่จุดเปลี่ยนที่ทำให้เริ่มคิดอยากมีธุรกิจ เพราะรู้สึกว่า ฐานะทางบ้านเริ่มไม่มั่นคงในฐานะที่ตัวเองก็เป็นลูกชายควรช่วยเหลืออะไรได้บ้าง

วอทอะเชคคาเฟ่

ในปี 2554 หลังจากเรียนจบจากมหาวิทยาลัยรังสิต คุณโอม ก็นำเงินเก็บของตัวเองจำนวน 30,000 บาท มาลงทุนเปิดร้านชานมไข่มุก ยึดเอาทำเลหน้าบ้านตัวเองเป็นหลัก ถามว่ามีความรู้อะไรเรื่องนี้มาก่อนไหม? คำตอบคือ ไม่! ใช้เวลา 5-6 เดือนมาศึกษาก่อนเปิดร้านขายจริง ซึ่งเปิดร้านวันแรกขายได้ 8-10 แก้ว รายได้ประมาณ 200 บาท ห่างจากความฝันไกลลิบที่คิดว่าเปิดร้านแล้วจะขายให้ได้สัก 100 แก้ว

แต่สิ่งที่ยึดมั่นในใจคือ “ฉันต้องทำให้ได้” นั่นคือกำลังใจที่ทำให้สู้ต่อ จากร้านหน้าบ้านที่มีแต่โต๊ะพับธรรมดา ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน เริ่มมียอดขายมากขึ้น จนถึง 6 เดือนที่ยอดขายเพิ่งจะได้ตามเป้าที่ตั้งใจคือวันละ 100 แก้ว ซึ่งตอนนี้มีรายได้เพิ่มเป็นวันละประมาณ 10,000 บาท

วอทอะเชคคาเฟ่

จุดเปลี่ยนที่ทำให้แบรนด์โตขึ้น คือ “ทำซ้ำ” “ทำต่อไป” “ทำไม่มีวันหยุด” โดยคุณโอมเปิดร้านทุกวันไม่มีวันหยุด และเน้นบริการสินค้าต้องดี อย่างไข่มุกต้มใหม่เสมอ ขายได้ 4 ชั่วโมงต้องเปลี่ยนไข่มุกใหม่ ยึดถือว่า “ลูกค้าทุกคนจ่ายเงินเราเท่ากัน ดังนั้นก็ต้องได้สินค้าที่ดีเท่ากันด้วย”

พอเริ่มเปิดร้านได้ 1 ปีตอนนี้ยอดขายเพิ่มเป็น 200-300 แก้ว จนต้องขยายสาขาเพิ่มและเริ่มเปิดขายในระบบแฟรนไชส์เมื่อปี 2556 จนปัจจุบัน วอท อะ เชค คาเฟ่ มีสาขากว่า 23 แห่ง และมีการพัฒนาสินค้าและรูปแบบธุรกิจอย่างต่อเนื่องให้ก้าวทันยุคสมัยด้วย

3 จุดเด่นของสุดยอดแฟรนไชส์วอท อะ เชค คาเฟ่

วอทอะเชคคาเฟ่

1.เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ

วอทอะเชคคาเฟ่

แฟรนไชส์ต้องขายคุณภาพไม่ใช่ขายแต่แบรนด์ หากลูกค้าซื้อแฟรนไชส์ไปจะต้องอยู่ได้ ต้องมีกำไร ต้องมียอดขายที่ดี การขยายในเชิงปริมาณไม่ได้หมายความว่าประสบความสำเร็จ แต่ความสำเร็จชี้วัดว่าสาขาแฟรนไชส์นั้นอยู่รอดแค่ไหน ซึ่งแทบทุกสาขาของ วอท อะ เชค คาเฟ มียอดขายสุทธิไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาท เป็นกำไรสุทธิ 50,000 บาทโดยประมาณ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับทำเล และปัจจัยแวดล้อมในการขายเป็นสำคัญ

2.พัฒนาสินค้าก้าวทันตามยุคสมัย

วอทอะเชคคาเฟ่

ธุรกิจเครื่องดื่มแม้คู่แข่งจะมากแต่ความต้องการของสินค้าก็มีมากตามไปด้วย การจะทำให้อยู่รอดในธุรกิจนี้นอกจากบริการที่ดี คุณภาพที่ดี สินค้าต้องมีความแปลกใหม่ทันสมัย

โดย วอท อะ เชค คาเฟ่ มีการทดลองทำเมนูใหม่ๆ มาอย่างต่อเนื่องตัวไหนที่ลองตลาดแล้วขายดีก็จะบรรจุให้เป็นเมนูหลัก แต่สินค้าบางเมนูก็จะมาเฉพาะเทศกาลสำคัญๆ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกอยากติดตามและเป็นสีสันทางการตลาดทีน่าสนใจ

3.รุกพื้นที่ห้างสรรพสินค้าพัฒนาเป็นพรีเมี่ยม

วอท อะ เชค คาเฟ เติบโตมาจากร้านธรรมดาและค่อยๆพัฒนามาเป็นสินค้าที่มีความน่าสนใจจากแก้วพลาสติกใสๆ เริ่มมีบรรจุภัณฑ์ของตัวเอง มีโลโก้ของตัวเอง และมีรูปแบบร้านที่พัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับ จากที่เคยขายแค่ชานมไข่มุกเพียงอย่างเดียวก็พัฒนาให้ครบวงจรกลายเป็น “วอท อะ เชค คาเฟ่” ที่มีกาแฟและเครื่องดื่มต่างๆ มากขึ้น และรุกเข้าห้างสรรพสินค้าที่เป็นทำเลน่าสนใจ

ปัจจุบันวอท อะ เชค คาเฟ่ มีอยู่แทบทุกห้างในภาคใต้ เราสามารถพบเจอได้ทุกที่ รวมถึงวอท อะ เชค คาเฟ่ ยังใส่ใจผู้ลงทุนทุกคน ด้วยนโยบายให้สิทธิ์พื้นที่การขายที่จะไม่ซ้ำซ้อนกันอย่างเด็ดขาดเพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ลงทุนมีกำไรจากการทำธุรกิจวอท อะ เชค ได้เร็วขึ้น

วอคอะเชคคาเฟ่

งบประมาณในการลงทุนของ “วอท อะ เชค คาเฟ่” มีแพคเกจเดียว ราคา 400,000 บาท ซึ่งหากต้องการลงทุนนอกจากค่าแฟรนไชส์ที่จะทำให้เราได้เรียนรู้การทำเครื่องดื่มสูตรต่างๆ ระบบการบริหารจัดการร้าน เทคนิคการตลาด การอบรมบุคลากรต่างๆ

สิ่งที่เราต้องมีคือเงินทุนอีกส่วนสำหรับการจัดทำร้าน ซึ่งจำนวนเงินลงทุนที่ใช้ในการเปิดวอท อะ เชค คาเฟ่ สักหนึ่งร้าน อยู่ที่ประมาณ 600,000-700,000 บาท (รวมค่าแฟรนไชส์) ทั้งนี้เงินลงทุนจะมากหรือน้อยก็อยู่ที่ขนาดของร้านและทำเลในการตั้งร้านเป็นสำคัญด้วย

วอคอะเชคคาเฟ่

คำถามคือเงินลงทุนขนาดนี้แล้วจะมีโอกาสคืนทุนได้อย่างไร! เรื่องนี้สาขาของ วอท อะ เชค คาเฟ่ ให้คำตอบได้อย่างดี เพราะกว่า 23 แห่งของวอท อะ เชค คาเฟ่ มีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อเดือนอย่างน้อยที่สุดก็อยู่ประมาณ 50,000 บาท สามารถคืนทุนและมีกำไรตั้งแต่ 6-12 เดือน

และกว่า 95% ของแฟรนไชส์วอท อะ เชค คาเฟ่ คือกิจการที่มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องแม้ในยุคที่คู่แข่งมีมากแต่ด้วยคุณภาพสินค้า และการดูแลจากแฟรนไชส์ซอที่ดี ที่ทำให้ผู้ลงทุนทุกคนเป็นเหมือนเพื่อน เป็นเหมือนพาร์ทเนอร์ จึงกลายเป็นครอบครัว “วอท อะ เชค คาเฟ่” ที่เข้มแข็ง และพร้อมจะขยายเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่เติบโตได้มากขึ้นด้วย

และสำหรับใครที่กำลังมองหาแรงบันดาลใจหรืออยากได้เชื้อไฟเติมกำลังใจให้ตัวเองพร้อมสานต่อธุรกิจที่ตั้งใจ ให้ดูการเริ่มต้นของ “วอท อะ เชค คาเฟ่” เป็นตัวอย่าง นี่คือหลักฐานของการต่อสู้แบบไม่ยอมแพ้ ท้อได้แต่ไม่เคยถอย ทำทุกอย่างแบบตั้งใจ มองโลกแบบแง่บวก มีทัศนคติที่ดีกับสิ่งที่ทำ ในวันนี้ไม่สำเร็จแต่ก็ยังมีพรุ่งนี้และวันถัดไป คนที่พยายามรางวัลที่จะได้คือความสำเร็จอย่างเดียวเท่านั้น

 

 

ต้องการลงทุนแฟรนไชส์
วอท อะ เชค คาเฟ่
โทร. : 081-7088985, 095-7733327

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Jzx1k4


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต