ลดราคา 50% VS ซื้อ 1 แถม 1 อะไรดีกว่ากัน ?
เมื่อมีคู่แข่งมากการงัดกลยุทธ์การตลาดเข้าช่วยกระตุ้นยอดขายจึงสำคัญมาก ที่น่าจะได้ผลและถูกใจลูกค้าที่สุดคงหนีไม่พ้น กลยุทธ์ลดราคา 50% หรือไม่ก็การตลาดแบบซื้อ 1 แถม 1 ซึ่งทั้ง 2 โปรโมชั่นที่พูดมานี่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของคนซื้ออย่างมาก เรียกว่าเป็น “คำที่มีพลังดึงดูด” และกระตุ้นยอดขายได้อย่างดี
แต่เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าทั้ง 2 โปรโมชั่นที่ว่านี้มีความคล้ายกันมาก จนบางทีคนซื้อเองก็ไม่แน่ใจว่าอะไรดีกว่ากัน www.ThaiSMEsCenter.com จึงได้รวบรวมข้อมูลเพื่อชี้ชัดว่าทั้ง 2 โปรโมชั่นนี้อะไรดีที่สุดสำหรับคนซื้ออย่างเรา
ซื้อ 1 แถม 1 (Buy One Get One)
สำหรับใครที่ชอบของแถมน่าจะถูกใจกับการตลาดแบบนี้ในทางจิตวิทยา ลูกค้ามักจะมองว่า การซื้อแบบนี้ เหมือนได้สินค้า “ฟรี” มาอีกชิ้น จึงเป็นเหมือนแรงจูงใจที่ดีในการตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้นจุดประสงค์ในการจัดทำโปรโมชันแบบนี้ คือ การจูงใจให้ลูกค้าตุนสินค้าในปริมาณมาก
ซึ่งจะใช้ได้ดีกับสินค้าประเภทของกินของใช้อุปโภคบริโภค ที่สามารถจัดเก็บได้นาน ต้องใช้ในปริมาณมาก หรือใช้กับกลุ่มลูกค้าที่มั่นใจในแบรนด์นั้นๆ รู้จัก เคยใช้ และกล้าที่จะซื้อทีเดียวในจำนวนที่มากกว่าปกติ
ผลพลอยได้ทางจิตวิทยาอีกอย่างคือหากลูกค้ามีสินค้าแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งอยู่ที่บ้านปริมาณมากอยู่แล้ว ในระหว่างนั้น การที่ลูกค้าจะหันไปเลือกซื้อสินค้าประเภทเดียวกันของแบรนด์อื่นเพิ่มก็จะเป็นไปได้ยาก เพราะของที่มีอยู่ในบ้านยังเหลืออยู่อีกเยอะ ทำให้เป็นการตัดยอดขายของแบรนด์คู่แข่งได้ในตัว
ข้อดีของการตลาดซื้อ 1 แถม 1 ในมุมของผู้ประกอบการคือสามารถแปลงสภาพ สต๊อกให้เป็นเงินได้เร็วที่สุดทำให้เกิดกำไร จาก สต๊อกสินค้าที่ยังคงค้าง และในทางกลับกันการตลาดแบบนี้คือการสร้างแคมเปญทำให้ลูกค้าติดใจในยุคที่โซเชี่ยลมาแรงแบบนี้ก็อาจกลายเป็นไวรัลทำให้คนสนใจและต้องการสินค้าได้มากขึ้น
ลดราคา 50% (Percentage Discounts)
คำว่า “ลดราคา” คือทำที่ทรงพลังทางการตลาดมาก ความรู้สึกของเราเหมือนว่าคุ้มค่ากับการจ่ายในราคาแค่นี้แต่ได้สินค้าที่ดีไปใช้งาน อันที่จริง เป้าหมายของการลดราคา 50% ไม่ใช่แค่การสร้างรายได้แต่ยังแฝงถึงการหาลูกค้าใหม่ไปในตัวด้วย
เพราะเมื่อราคาต่อหน่วยลดลงคนที่ไม่เคยสนใจไม่เคยใช้สินค้าก็อาจตัดสินใจลองซื้อลองใช้ได้ง่ายขึ้น ในทางเทคนิคสินค้าที่ใช้โปรโมชันแบบนี้มักเป็นกลุ่มอุปโภค เช่น เสื้อผ้า , รองเท้า , กระเป๋า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าคุณภาพดี เป็นแบรนด์ที่คนรู้จัก และการตลาดแบบนี้เรามักจะเห็นกันในห้างสรรพสินค้าหรือตามคอมมูนิตี้มอลล์ต่างๆ
การใช้โปรโมชันลดราคา 50% ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับช่วงเวลาเช่นในเทศกาลหยุดยาวต่างๆ ในเมืองไทยก็มีหลายช่วงเวลาทั้งปีใหม่ สงกรานต์ เป็นต้น หรือถ้าไม่เน้นช่วงเทศกาลก็จับจังหวะทำโปรโมชันนี้ช่วงปลายเดือนต่อต้นเดือนที่คนมีกำลังในการซื้อมากที่สุดก็จะกระตุ้นความต้องการสินค้าได้
ลดราคา 50% VS ซื้อ 1 แถม 1 จะเลือกทางไหนดี?
การตลาดเหล่านี้เป็นเรื่องของความรู้สึกลูกค้า ซึ่งแต่ละคนมีความชอบและรสนิยมที่แตกต่าง สินค้าบางชนิดแม้จะลดราคาหรือซื้อ 1 แถม 1 แต่ถ้าลูกค้าไม่สนใจหรือไม่ต้องการโอกาสขายได้ก็น้อย แต่ในแง่สถิติแล้วเคยมีการทดสอบในเรื่องนี้จากต่างประเทศที่ส่งอีเมลล์สินค้าให้ลูกค้าเลือกระหว่าง ลดราคา 50% และอีกชิ้นที่เป็นสินค้าเดียวกันแต่ ซื้อ1 แถม 1
ผลปรากฏว่าโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 นั้น มีคนเปิดเข้ามาดู 20,944 ครั้ง คลิกเข้าไปดูสินค้าต่อ 2,241 ครั้ง ในขณะที่ ลด 50% มีคนเปิดเข้ามาดู 24,459 ครั้ง คลิกเข้าไปดูสินค้าต่อ 2,843 ครั้ง ซึ่งถือว่าเยอะกว่าแบบแรกมากกว่าเท่าตัว
สาเหตุก็เพราะว่า หากลองเทียบราคาต่อหน่วยดูแล้ว แม้ราคาอาจเท่ากัน แต่หากลองมองดูราคาที่ต้องจ่ายต่อครั้ง การลด 50% นั้นนับว่าจ่ายน้อยกว่า เมื่อต้องควักเงินออกจากกระเป๋าน้อยลง การตัดสินใจซื้อจึงง่ายขึ้น
แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงการทดลองและเป็นข้อมูลระดับหนึ่งซึ่งไม่ได้การันตีว่า ลดราคา 50% จะดีกว่า ซื้อ 1 แถม 1 ต้องขึ้นอยู่กับ จุดประสงค์การขายด้วยว่า กลุ่มลูกค้าคือใคร? และ ต้องการขายแบบใด? แล้วจึงค่อยมาเลือกวิธีสื่อสารทางการตลาดที่เหมาะสมกับจุดประสงค์ของแบรนด์มากที่สุด และนอกจาก 2 โปรโมชันที่พูดถึงนี้ก็ยังมีอีกหลายรูปแบบการตลาดที่ควรนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการขายได้มากขึ้น
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3Y6NvFc , https://bit.ly/3VIksWT , https://bit.ly/3HoiMxo
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3HGCDIm
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)