“ร้านสะดวกซื้อ” VS “สมาร์ทโชห่วย” ใครรวยกว่ากัน?

ถ้าพูดถึง “ค้าปลีก” เราต้องนึกถึง ร้านสะดวกซื้อ หลายคนถึงกับยกให้เป็นธุรกิจอันดับ1 กันเลยทีเดียว ในแง่ของความปัง ความดัง ชื่อเสียงของแบรนด์ ไม่ปฏิเสธว่าต้องยกให้บรรดา ร้านสะดวกซื้อ ซึ่งในที่นี้ก็หมายความรวมไปทุกแบรนด์ตั้งแต่ 7-Eleven , Lotus’s , Big C Mini , CJ MORE เป็นต้น

แต่ถ้าไปดูในแง่ของจำนวนต้องบอกว่า “โชห่วย” ยังไม่ตาย! และกลายเป็นว่ามีอัตราส่วนมากสุดในตลาดเหนือกว่าร้านสะดวกซื้ออีกด้วย ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการธุรกิจโชห่วยขนาดเล็กประมาณ 410,000 ราย และโชห่วยขนาดกลาง จำนวนกว่า 18,000 ราย

MIXUE vs 7-Eleven

ธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย กลุ่มใหญ่ยังคงอยู่ที่ “ร้านโชห่วย” ในสัดส่วนแบ่งทางการตลาด 44% รองลงมาคือร้านสะดวกซื้อ 31.8% และไฮเปอร์มาร์เกต 24.1% ซึ่งร้านโชห่วยยังคงมีทั้งร้านที่เก่าแก่อยู่มานานส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ถึงแม้จะมีจำนวนของร้านที่ปิดตัวลงไปบ้าง แต่ในเวลาเดียวกันก็มีร้านเกิดใหม่ตลอดเวลา

และถ้ามองในแง่ของตัวเลขร้านโชห่วยในแต่ละปีสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่า 3 แสนล้านบาท โดยในปี 2566 สามารถสร้างรายได้ให้แก่ระบบเศรษฐกิจกว่า 370,000 ล้านบาท

สถิติ

  • ปี 2564 มีจำนวน 394,601 ร้านค้า
  • ปี 2565 มีจำนวน 410,585 ร้านค้า
  • ปี 2566 มีจำนวน 410,769 ร้านค้า

ถ้าแยกย่อยไปตามแต่ละจังหวัด ข้อมูลอ้างอิงจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า กรุงเทพฯ มีมากที่สุด จำนวน 109,742 ร้านค้า , สมุทรปราการ มีจำนวน 18,654 ร้านค้า และนนทบุรี มีจำนวน 18,508 ร้านค้า เป็นต้น

ภาพจาก www.facebook.com/Donjaith

แต่ทั้งนี้เราก็ไม่ได้หมายความว่าร้านโชห่วยคือธุรกิจที่สร้างรายได้อันดับ 1 เพราะหากไปวัดพลังสู้กับบรรดาร้านสะดวกซื้อแล้วน่าจะสู้ได้ยาก ด้วยกลยุทธ์การตลาด และการพัฒนาด้านธุรกิจที่ดีอย่างต่อเนื่อง ยังไงร้านสะดวกซื้อทั้งหลายก็ได้เปรียบกว่าแต่ในแง่ของการเข้าถึงลูกค้าต้องบอกว่าโชห่วยยังทำได้ดีเพราะนี่คือธุรกิจเริ่มมีตั้งแต่สมัยอยุธยาในย่านที่คนจีนเข้ามาอาศัย

ซึ่งคำว่าโชห่วยมาจากภาษาจีน “ชู” หรือ “โช” ที่แปลว่า ทั่วไป คำว่า “ฮั่ว” ที่แปลว่า สินค้า และต่อให้กาลเวลาเปลี่ยนแปลงแค่ไหน โชห่วยก็ยังใกล้ชิดคนไทยในชุมชนต่างๆ ได้

ถึงขนาดที่ว่าบรรดายักษ์ใหญ่ร้านสะดวกซื้อทั้งหลายหันมาให้น้ำหนักกับการพัฒนาโมเดลใหม่ สนับสนุนร้านโชห่วยมากขึ้น แต่ยังคงความเป็นเจ้าของร้านค้าเดิมไว้ ก็มีหลายกลยุทธ์ที่นำมาใช้ทั้งการจัดตั้งทีมงานลงพื้นที่โปรโมตเพื่อหาร้านค้ารายย่อยมาเป็นพันธมิตร พร้อมการงัดข้อเสนอและโปรโมชันราคาที่เข้าถึงง่าย พร้อมดึงสถาบันการเงินเข้ามาช่วยซัพพอร์ตเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยให้ร้านค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไปทำให้โชห่วยเองก็ต้องปรับตัวตาม ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง ดังนั้นการเข้าไปเป็นพันธมิตรกับรายใหญ่อาจเป็นอีกหนึ่งหนทางรอด

ภาพจาก www.td.co.th/partner

ถ้าไปดูในมุมของจำนวนสาขาที่เป็น “สมาร์ทโชห่วย” ซึ่งอัพเกรดมาจากร้านโชห่วยทั่วไปพบว่า

  • ร้านถูกดีมีมาตรฐาน (กลุ่ม TD ตะวันแดง) ตั้งเป้ามีสาขา 8,000 แห่ง
  • ร้านค้าโดนใจ (Big C) ตั้งเป้ามีสาขา 6,000 แห่ง
  • ร้านนี้ขายดี (Lotus’s) ตั้งเป้ามีสาขา 30,000 แห่ง
  • Buddy mart (Makro) ตั้งเป้ามีสาขา 2,000 แห่ง
ภาพจาก https://bit.ly/4dPYrOf

ซึ่งจุดเด่นของโชห่วย ที่ยังกล้าพูดได้ว่าครองใจลูกค้าในชุมชน และมีกลุ่มลูกค้าในหลายพื้นที่ เนื่องด้วยปัจจัยได้แก่

  • จำนวนร้านค้ามากกว่าลูกค้าเดินเข้าถึงง่ายกว่า
  • กระจายสินค้าไปยังชุมชนได้ดีกว่าร้านสะดวกซื้อ
  • จุดพบปะพูดคุยของคนในชุมชน
  • ขายในราคาถูกได้เพราะมีการแบ่งขายตามปริมาณ
  • ใกล้ชิดคนในชุมชนได้มากกว่า
  • มีสินค้าที่ต้องการเฉพาะ หรือสินค้าที่เป็นที่ต้องการในชุมชนนั้นๆ
  • มีความคุ้นเคยหรือมีความสัมพันธ์ที่ดีเสมือนญาติพี่น้อง

ถ้าจะพูดให้ถูกก็คือปัจจุบันธุรกิจร้านสะดวกซื้อทั้งหลายที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนายทุนก็มีความตั้งใจที่จะเข้าครองส่วนแบ่งการตลาดในทุกภูมิภาค กลไกลสำคัญคือการผนวกรวมบรรดาโชห่วยที่อยู่ในพื้นที่ให้กลายเป็นพันธมิตร นำเทคโนโลยีและระบบบริหารจัดการไปพัฒนาจนรูปแบบของโชห่วยดั้งเดิมเหลือน้อยเต็มที่

ภาพจาก https://bit.ly/4f1MFkC

สิ่งเหล่านี้คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย จนทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ก็มีภาพจำว่าโชห่วยก็คือร้านสะดวกซื้ออีกรูปแบบหนึ่งด้วย 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด