ร้านซ่อมพัดลมเล็กๆ สู่อาณาจักรธุรกิจพัดลม ยอดขาย 6,000 ล้าน
การเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ก็สามารถกลายเป็นธุรกิจใหญ่ได้ หลายคนอาจไม่เชื่อว่า แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง Hatari จะมีจุดเริ่มจากร้านซ่อมพัดลมเล็ก แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นอาณาจักรธุรกิจที่ยิ่งใหญ่
www.ThaiSMEsCenter.com มองว่านี่คือเรื่องราวที่จุดประกายไอเดียให้กับคนไทยในยุคนี้ได้อย่างดี การเริ่มต้นธุรกิจอาจไม่จำเป็นต้องมาจากเงินทุนมหาศาล เพียงใช้สิ่งที่เราถนัด สิ่งที่เรามี รู้จักต่อยอดจากสิ่งที่เราทำ สักวันหนึ่งธุรกิจเล็กๆของเราก็อาจจะเป็นแบรนด์ใหญ่ระดับประเทศได้
จากร้านซ่อมพัดลมเล็กๆ สู่อาณาจักรธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า
ภาพจาก https://bit.ly/3rQZtU7
ก่อนจะมาเป็นเจ้าตลาดพัดลมได้นั้น บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นร้านซ่อมพัดลม ผู้ก่อตั้งแบรนด์นี้คือคุณ จุน วนวิทย์ ที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับการจัดอันดับจาก Forbes Thailand เมื่อปี 2016 ว่าเป็นคนที่รวยในประเทศไทยซึ่งอยู่ในอันดับที่ 49 โดยมีทรัพย์สินรวมประมาณ 14,810 ล้านบาท
คุณจุน วนวิทย์ทำงานตั้งแต่อายุ 12 ปี เริ่มจากการเป็นลูกจ้างกวาดพื้นร้านขายข้าวสารที่ถนนสี่พระยา จากนั้นได้เปลี่ยนอาชีพมาเป็นลำดับ ตั้งแต่การเป็นช่างทำทอง , ขับรถโดยสารรับจ้าง , ลูกจ้างร้านทำป้ายพลาสติก , ลูกจ้างโรงกลึง , ช่างทำแม่พิมพ์สำหรับฉีดพลาสติก เป็นต้น
จากอาชีพที่หลากหลายทำให้มีความรู้ในหลายด้าน ต่อมาได้มีความคิดที่จะทำโครงพัดลมด้วยพลาสติก เพราะในยุคนั้นโครงกรอบพัดลมส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะอลูมิเนียม ซึ่งคุณจุน วนวิทย์ได้ไปเรียนการพันมอเตอร์จากไต้หวัน และกลับมาผลิตพัดลมชิ้นส่วนพลาสติกออกจำหน่ายเอง โดยเริ่มจาก “K” เป็นชื่อยี่ห้อแรก จากนั้นได้เปลี่ยนแบรนด์มาเป็น “TORY” จนกระทั่งอายุ 52 ปีจึงได้ผลิตพัดลมยี่ห้อ Hatari ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก
ทำไมต้องชื่อ “Hatari”
ภาพจาก https://bit.ly/3qWuW7T
จากที่คุณจุนมีความรู้ในด้านการขึ้นรูปพลาสติกและการทำพัดลม ในยุคนั้นตลาดพัดลมที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นกำลังได้รับความสนใจมาก ร้านซ่อมพัดลมก็มีลูกค้านำพัดลมมาซ่อมจำนวนมาก ทำให้คุณจุนมองว่าตลาดพัดลมในเมืองไทยยังโตได้อีก แถมยุคนั้นคู่แข่งแทบไม่มีเพราะส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้า นำมาสู่การตัดสินใจทำแบรนด์ของตัวเองอย่างเป็นทางการ โดยอิงชื่อแบรนด์ให้ดูเหมือนมาจากญี่ปุ่น
จึงกลายเป็นที่มาของ Hatari ที่ไม่ใช่สินค้าจากญี่ปุ่นแต่เป็นคนไทยที่ผลิตและทำออกจำหน่าย นอกจากจะมีโปรดักต์เป็นของตัวเองแล้ว Hatari ยังรับผลิตชิ้นส่วนให้แบรนด์พัดลมไทยเจ้าอื่นๆ ด้วย ส่วนของ Hatari มีการใช้ชิ้นส่วนที่ตัวเองผลิตราว 90% คือ แทบทั้งหมดที่ประกอบขึ้นมาเป็นพัดลม 1 ตัวนั้น มาจากโรงงานภายในเครือทั้งหมด
รายได้ของ Hatari ปีละกว่า 6,000 ล้านบาท
ภาพจาก https://bit.ly/3fWunF2
ธุรกิจพัดลม Hatari แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ การผลิตและการจัดจำหน่าย ผ่าน 2 บริษัทหลักๆ ในเครือวนวิทย์กรุ๊ป คือ บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด มีหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายพัดลม มีรายได้ปีละกว่า 6,000 ล้านบาท และบริษัท วนวิทย์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งมีหน้าที่เป็นบริษัทผู้ผลิต มีรายได้ต่อปีกว่า 5,000 ล้านบาท
โดยภาพรวมของธุรกิจปัจจุบันบริษัทในเครือวนวิทย์กรุ๊ป มีพนักงานรวมกว่า 2,000 คนส่งผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายทั่วประเทศไทยและต่างประเทศ มีผลประกอบการปีละกว่า 4,000 – 6,000 ล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาดในผลิตภัณฑ์พัดลมในประเทศประมาณร้อยละ 80 สามารถลดการนำเข้าพัดลมจากต่างประเทศได้เกือบทั้งหมดอีกด้วย
เคล็ดลับความสำเร็จแบบฉบับ “Hatari”
การจะมายืนถึงจุดนี้ไม่ใช่แค่เรื่องโชคช่วย ไม่ใช่เพราะว่าเขารวยมาแต่เกิด แต่ทุกสิ่งเกิดจากความพยายามและตั้งใจทำจริง การทะยานสู่การเป็นแบรนด์อันดับ 1 ได้นี้ มีเคล็ดลับที่น่าสนใจได้แก่
ภาพจาก facebook.com/HatariOfficial
1.เน้นการตลาดรับรู้เป็นวงกว้าง
โดยโฆษณาหลายตัวของ Hatari ที่ปล่อยออกมา ไม่ว่าจะบนทีวี หรือออนไลน์ เช่น YouTube จะมีคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ และแฝงไปด้วยเนื้อหาคลายเครียด ดูแล้วตลก สนุกจนสามารถเรียกความสนใจ และเสียงหัวเราะจากผู้ชมได้ถึงขนาดบางคนต้องกดดูโฆษณาซ้ำอีกรอบ
2.คุณภาพสินค้าและความหลากหลาย
Hatari เน้นเรื่องคุณภาพสินค้าอย่างมาก และมีสินค้าหลายชนิดตอบโจทย์ทุกกลุ่มลูกค้าเช่นพัดลมเคลื่อนที่, พัดลมติดตั้ง, พัดลมอุตสาหกรรม, พัดลมระบายอากาศ, พัดลมไอเย็น และเครื่องฟอกอากาศ
ภาพจาก facebook.com/HatariOfficial
3.สร้างการจดจำแบรนด์
สิ่งที่ทำให้ Hatari อยู่คู่คนไทยมานานและจะอยู่ต่อไปอีกนาน ก็เพราะภาพลักษณ์ที่ทำให้คนจดจำแบรนด์เมื่อทุกครั้งที่จะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเราจะนึกถึง Hatari ก่อนเป็นอันดับแรกนั่นคือการตลาดที่ได้สร้างมาในระยาวอย่างได้ผล
4.การปรับธุรกิจสู่ยุคสมัยใหม่
หลายธุรกิจที่ยังปรับตัวไม่ทันก็ทำให้มีผลกระทบกับยอดขาย แตกต่างจาก Hatari ที่รู้จักผสมผสานการใช้เทคโนโลยียุคใหม่ ให้เข้าถึงลูกค้าได้ทุกกลุ่ม
ภาพจาก facebook.com/HatariOfficial
5.การขยายธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากธุรกิจพัดลมแล้ว Hatari ยังขยายไปทำธุรกิจอื่นๆ ด้วย เช่น การจัดตั้ง บริษัท ฮาตาริ ไวร์เลสเพื่อดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาซอฟต์แวร์ รวมไปถึงขาย-ให้เช่าระบบอุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น
Hatari ถือเป็นแบรนด์ที่คนไทยที่อยากมีธุรกิจควรศึกษาไว้เป็นกรณีตัวอย่าง และเชื่อว่าแบรนด์นี้จะอยู่คู่สังคมไทยไปอีกนาน ด้วยการตลาดที่รู้จักก้าวตามกระแส สินค้าที่มีคุณภาพ และการขยายธุรกิจอย่างมีระบบ เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดแห่งการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ใครที่อยากมีธุรกิจ หรือใครที่อยากลงทุนควรเรียนรู้ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จของ Hatari แล้วนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3IvsBqx , https://bit.ly/3H2A008 , https://bit.ly/35mhNNi
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3fZRQoC
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)