ร้านค้า สาขาแฟรนไชส์ ต้องปรับตัวอย่างไร หลังห้างฯ เปิดบริการอีกครั้ง

หลังจากรัฐบาลได้มีการผ่อนปรนรอบแรก ให้ธุรกิจและร้านค้า รวมถึงร้านอาหารบางประเภท ที่มีลักษณะตรงตามที่รัฐระบุ กลับมาเปิดให้บริการและนั่งกินที่ร้านได้ ควบคู่ไปกับการซื้อกลับบ้าน ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นผู้คนทั่วไปเริ่มลองกลับไปใช้ชีวิตออกไปหาร้านอาหารกินนอกบ้านบ้าง หลังจากที่ต้องใช้บริการเดลิเวอรี่มาเป็นเวลานาน

ล่าสุดรัฐบาลได้มีการผ่อนผันให้ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง ในวันที่ 17 พ.ค.2563 ตั้งแต่ 10.00-20.00 น. พร้อมมีมาตรการในการป้องกันโรค ส่งผลให้ร้านค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม ในภัตตาคาร ศูนย์อาหาร ร้านอาหารขนาดใหญ่ สวนอาหาร ร้านไอศกรีม ร้านขนมหวาน ในอาคารสำนักงาน ร้านค้าปลีก ค้าส่งอื่นๆ

ได้กลับมาเปิดให้บริการลูกค้าอีกครั้งเช่นเดียวกัน แต่หลายคนมองว่าร้านค้าต่างๆ เหล่านี้ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคจะไม่เหมือนเดิม แต่ผู้ประกอบการต้องเดินหน้าต่อไป เปิดร้านให้บริการต่อไป

แต่ต้องมีมาตรการป้องกันโรค และรูปแบบบริการลูกค้าให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่พร้อมจะกลับมาระบาดอีกครั้ง แล้วร้านค้าในห้างฯ ต้องปรับตัวอย่างไร หลังห้างเปิดอีกครั้ง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อแนะนำมาให้ทราบ

ต้องปรับตัวอย่างไร

ภาพจาก bit.ly/3cxGqW4

1.ปลอดภัยสูงสุด

พนักงานในร้านต้องสวมหน้ากากอนามัย และเฟซชิลด์ตลอดเวลา ขณะปฏิบัติงาน และทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนและหลังบริการ และต้องตรวจวัดอุณหภูมิพนักงานในร้านทุกคนทุก 3 ชั่วโมง และควรมีระบบติดตาม (Tracking) ข้อมูลลูกค้าที่มาใช้บริการ รวมถึงพนักงานในร้าน

2.เคร่งครัด คัดกรอง

ให้บริการตรวจวัดอุณหภูมิ และบริการเจลแอลกอฮอล์ ก่อนเข้าร้านให้กับลูกค้า พนักงาน ทั้งหน้าร้าน ในร้าน และออกจากร้าน และถ้าลูกค้าหากมีอุณหภูมิเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ไม่อนุญาตให้เข้าร้าน และแนะนำให้ไปพบแพทย์ทันทีลูกค้า

41

ภาพจาก bit.ly/3cxGqW4

3.สะอาด ปลอดภัย ไร้กังวล

สินค้าที่จำเป็นต้องสัมผัสกับลูกค้าโดยตรง อาทิ ชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ เสื้อผ้า รองเท้า หรือแผนกเครื่องครัว ต้องนำสินค้าที่ลองหรือสัมผัสแล้ว ไปฆ่าเชื้อโรค รวมทั้งทำความสะอาดภายในห้องลองด้วยการฆ่าเชื้อโรคทุกครั้งหลังใช้บริการ ทำความสะอาดห้องน้ำทุก 30 นาที และติดตั้งเครื่องจ่ายเจลแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อโรคบนฝาสุขภัณฑ์ในห้องน้ำทำความสะอาดตามรอบความถี่ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

4.เว้นห่าง อย่างห่วงใย

ร้านค้าควรจำกัดจำนวนคนเข้าร้าน เว้นห่าง 1-2 เมตร โดยมีระบบในการนับที่เคร่งครัด ส่วนศูนย์อาหารควรมีการจัดที่นั่งเว้นระยะห่าง ณ พื้นที่ห้องบริการ และที่นั่งคอยในพื้นที่ขาย บริเวณเคาน์เตอร์ รวมถึงจุดบริการอาหารและเครื่องดื่ม

40

ภาพจาก bit.ly/3cxGqW4

5.ลดเสี่ยงจากสัมผัส

ผู้ประกอบการควรส่งเสริมการชำระเงินผ่านโมบายแบงกิ้ง หรืออีเพย์เมนต์ แทนการชำระเงินสด กรณีลูกค้าชำระเงินสด ทั้งธนบัตรและเหรียญที่ได้รับ ควรจะแยกไว้ เพื่อนำไปฆ่าเชื้อโรคโดยการอบโอโซน และเงินที่ทอนให้ลูกค้าจะมีการใส่แผ่นรองเงิน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง

ร้านค้าในเมืองไทย โดยเฉพาะร้านอาหาร ต้องดูตัวอย่างในจีน โดยธุรกิจร้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุด น่าจะเป็นการสร้างระยะห่าง ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างระหว่างลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการกับพนักงาน (ที่ต้องระวังความปลอดภัยของตัวเองเช่นกัน) หรือระยะห่างระหว่างลูกค้าด้วยกันที่มากันคนละกลุ่ม ร้านอาหารหลายแห่งในจีน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ จัดเว้นระยะห่างของการจัดโต๊ะอย่างชัดเจน บางร้านจัดที่นั่งให้การมานั่งเป็นกลุ่ม จำกัดจำนวนไม่เกิน 4 คน

เช่นที่ฮ่องกงเนื่องจากทางการห้ามการชุมนุมเกิน 4 คน และแต่ละโต๊ะก็ตั้งห่างกันเกือบๆ 5 ฟุต บางร้านยังไม่รับลูกค้านั่งร้าน แต่ให้บริการเฉพาะการสั่งอาหารและเครื่องดื่มออกไปรับประทานข้างนอกร้าน หรือบริการจัดส่งนอกสถานที่เท่านั้น

โดยหลายๆ ร้านจัดหาผ้าเช็ดทำความสะอาดมือแบบฆ่าเชื้อโรคได้ในตัว มาตั้งวางไว้ให้บนโต๊ะอาหารใกล้ๆ กล่องใส่ทิชชูแบบเดิมๆ พนักงานใส่หน้ากากอนามัย และมีการตรวจวัดอุณหภูมิลูกค้าก่อนเข้าร้าน

หวังว่าข้อแนะนำและกรณีศึกษาในการเปิดร้านอีกครั้งในต่างประเทศข้างต้น จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการร้านค้าต่างๆ สำหรับการเตรียมความพร้อมในการเปิดร้านให้บริการลูกค้าอีกครั้ง ซึ่งผู้ประกอบการที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์ จะทำให้คุณแข็งแกร่ง และ อยู่รอดได้ครับ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก  https://bit.ly/2Tiio9E

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช