ร้านก็เงียบ! ทุนก็น้อย! ทำยังไงถึงจะไปรอด?
อยากมีธุรกิจ! อยากเปิดร้าน! ถ้าคิดง่ายๆว่าเปิดร้านแล้วขายดีแน่ แสดงว่าคุณคิดผิด!สมัยนี้ปัจจัยเสี่ยงมีเยอะทั้ง เศรษฐกิจตกต่ำ ค่าครองชีพสูง รายได้ต่อหัวลดลง ทำคนใช้จ่ายน้อยลง ตอกย้ำจากผลสำรวจที่ระบุว่า 35% ของผู้บริโภคไทยยังคงมองว่าในปีนี้สภาพคล่องทางการเงินของตนแย่ลง และไม่ใช่แค่ในเมืองไทยค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวัน เฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้นกว่าปีก่อนๆ หน้าถึง 17% สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคต้องจ่ายเงินมากกว่าเดิม เพื่อสิ่งตอบแทนที่เท่าเดิม
แม้แต่ในวงการร้านอาหารที่ใครๆก็คิดว่า “ขายง่าย ขายดี” ไม่ว่าจะยากดีมีจนแค่ไหน คนเราก็ยังต้องกิน ซึ่งความคิดนี้ถือว่าอันตรายถ้าไม่มีการวางแผนก่อนเริ่มธุรกิจที่ดี หากไปดูตัวเลขบรรดาร้านอาหารในตอนนี้ส่วนใหญ่ยอดขายลดลงไปเฉลี่ยประมาณ 30% โดยขึ้นอยู่กับแบรนด์และการบริหารเป็นสำคัญด้วย
มีหลายคนบอกว่ายุคนี้ธุรกิจไหนที่มีทุนหนา สายป่านยาวก็อยู่ได้นาน เพราะมีกำลังเงินเพื่อทำการตลาด อัดแคมเปญโปรโมชัน และสามารถแบกรับความเสี่ยงได้นานกว่า ถ้าร้านไหนเงินน้อย ทุนน้อย เปิดร้านครั้งแรกหวังสร้างกระแสให้ปังๆ ดังๆ เงินทองไหลมาเทมา ก็อาจจะยากสักหน่อย
ถ้าพูดแบบนี้ก็เท่ากับตัดสิทธิ์ธุรกิจที่ “ทุนน้อย” กลายเป็นเรื่อง ธุรกิจของนายทุนใหญ่ที่จะกลืนกินร้านเล็กๆ ให้หมดไป แต่ในความเป็นจริง หากมีกลยุทธ์ในการทำตลาดดีๆ มีไอเดียเจ๋งใช้ในการทำตลาด แม้ทุนน้อยก็มีหวังรอดและเติบโตได้เช่นกัน
1. ให้ของแถม แทนการ “ลดราคา”
กลยุทธ์ราคาคือสิ่งที่คนส่วนใหญ่นึกถึงอันดับแรกแต่ในภาวะที่ต้นทุนทุกอย่างสูงปรี๊ดจะให้ขายถูก ก็เท่ากับว่าทุนหายกำไรหด หมดตัวกันพอดี วิธีเรียกลูกค้าถ้าร้านเราเงียบ ทุนก็น้อย อาจเลือกใช้วิธีการให้ “ของแถม” ก็นับเป็นการตลาดที่ดีและถูกใจคนไทยเช่นกัน ไม่ว่าจะร้านค้า ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ก็นำวิธีนี้ไปใช้ได้ขึ้นอยู่กับไอเดียเป็นสำคัญ เช่น ร้านสเต็กเราคิดราคาต่อจานเท่าเดิม แต่อาจเพิ่มเฟรนฟรายด์ให้ลูกค้ามากขึ้น เป็นต้น
2. เน้นบริการเป็นเลิศ
ด้วยจำนวนคู่แข่งที่มากมองทางไหนก็เจอ วิธีจะดึงดูดลูกค้าให้สนใจเพื่อเพิ่มยอดขายแบบคนทุนน้อย ก็อาจต้องลงแรงมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเน้นบริการที่สุดแสนประทับใจ พนักงานในร้านใส่ใจต่อลูกค้า เป็นอย่างดีเริ่มตั้งแต่การพูดจา ท่าทีในการรับออร์เดอร์
สิ่งเหล่านี้ถ้าเราแสดงออกถึงความจริงใจอย่างเต็มเปี่ยม จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเป็นคนที่พิเศษ เท่ากับว่าลูกค้าประทับใจร้านเรามากและมีโอกาสสูงมากที่จะกลายมาเป็นลูกค้าประจำได้การจะเอาชนะร้านใหญ่ๆได้มีแค่เรื่องเดียว คือ การบริการที่ทำให้คนรู้สึกประทับใจ
3. แช๊ะ&แชร์ ของดีต้องบอกต่อ
กลยุทธ์จะใช้ได้ผลดีต้องเริ่มจากคุณภาพสินค้าในร้านเป็นสำคัญก่อน โดยเฉพาะถ้าเป็นร้านอาหารเปิดใหม่ วิธีนี้น่าสนใจมาก ไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนในการอัดโฆษณา เพียงใช้ลูกค้าที่มานั่งทานในร้านเป็นคน แช๊ะ&แชร์ โดยทางร้านอาจให้รางวัลพิเศษเป็นเครื่องดื่มเพิ่ม
เรียกว่าลงทุนน้อยแต่ได้มาก เพราะลูกค้า 1 คนมีเพื่อนในโซเชี่ยลมากน้อยแตกต่างกันไป แต่อย่างน้อยวิธีนี้คือทำให้คนได้เห็นร้านของเรามากขึ้น เมื่อเปิดการรับรู้ได้มากขึ้น โอกาสในการเพิ่มยอดขายก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน
4. เจาะกลุ่มหมู่บ้าน สถานที่ทำงาน
การทำตลาดอีกรูปแบบที่ทุนน้อยก็เริ่มได้ทันที อาศัยความขยันและใจกล้าให้มากขึ้น โดยการไปเปิดตัวในกลุ่มหมู่บ้าน สถานที่ทำงาน ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีไลน์กรุ๊ปเป็นของตัวเอง หากโชคดีได้เข้าร่วมไลน์กรุ๊ปก็สามารถแนะนำเมนูซิกเนเจอร์ที่น่าสนใจ
ซึ่งมีโอกาสในการเพิ่มยอดขายได้ หรือถ้าไม่อาจเข้าร่วมในไลน์กรุ๊ปได้ อาจใช้วิธีการสร้างพันธมิตรเพื่อแนะนำให้คนในหมู่บ้าน ในออฟฟิศได้รู้จักร้านเรา หวังประโยชน์ในตอนที่ต้องการสั่งอาหารจะได้นึกถึงร้านเราเป็นอันดับแรก ด้วยิธีนี้ก็มีโอกาสเพิ่มยอดขายโดยที่ไม่ต้องใช้งบลงทุนสูง
5.ส่งฟรีเมื่อสั่งครบตามที่กำหนด
เป็นอีกหนึ่งการทำตลาดที่ซื้อใจลูกค้าเพราะสังเกตให้ดีว่าตอนนี้ก่อนกดสั่งสินค้าอะไรก็ตาม จะดูก่อนเลยว่าเสียค่าจัดส่งเท่าไหร่บางทีคิดแล้วราคาอาหารจานเดียวบวกค่าจัดส่งแล้วสูงขึ้นมาก ลูกค้าก็เปลี่ยนใจไม่สั่ง นั่นคือโอกาสที่ร้านแบบทุนน้อยจะใช้เป็นช่องทางในการทำตลาด แต่ต้องไปนำเสนอตัวตนให้ลูกค้ารู้จักและ มีเงื่อนไข “ส่งฟรี” เมื่อสั่งครบตามจำนวนเช่น มากกว่า 3 กล่องส่งฟรีทันที
แน่นอนว่าในแง่ของลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่าเพราะไม่ต้องเสียค่าส่ง ยังไงก็ต้องกินอยู่แล้ว เอาค่าส่งที่จะต้องจ่าย เก็บไปซื้อน้ำดื่มก็ยังได้ เมื่อลูกค้ามีความรู้สึกคุ้มก็จะเลือกสั่งสินค้ากับร้านเราเหนือสิ่งอื่นใดก็ต้องเน้นที่คุณภาพและบริการเป็นสำคัญด้วย
อาจจะมีอีกหลายไอเดียที่ใช้ได้ซึ่งวิธีที่เรานำเสนออาจเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ในยุคที่คู่แข่งเยอะ รายได้ของคนลดลง การทำตลาดก็ต้องให้เหมาะสม เหนือสิ่งอื่นใดคือการบริหารจัดการและการวางแผนสำรองรับมือกรณีฉุกเฉินถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)