รู้แล้วนะ! 4 ปัญหาต้องปรับปรุงในระบบแฟรนไชส์ไทย

ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการและนักลงทุน เห็นได้จากจำนวนธุรกิจในระบบแฟรนไชส์มีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันไป โดยปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์ประมาณกว่า 562 กิจการ ในแต่ประเภทธุรกิจแฟรนไชส์ หลายๆ กิจการมีสาขานับร้อยสาขา มีแรงงานเฉลี่ยสาขาละ 3 คน

แต่ถึงอย่างไร หลายคนยังมองว่าธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยยังเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะแม้ว่าจะมีธุรกิจแฟรนไชส์ใหม่เกิดขึ้น แต่ก็มีธุรกิจแฟรนไชส์รายเก่าๆ ปิดกิจการไปมากเช่นเดียวกัน

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะขอนำเสนอปัญหาของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ที่ควรจะต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อรองรับการแข่งขันและขยายตัวของตลาดแฟรนไชส์ในภูมิภาค

1.เจ้าของธุรกิจเริ่มต้นเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ไม่ถูกต้อง

เจ้าของธุรกิจเริ่มต้นเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ไม่ถูกต้อง

ปัญหานี้เกิดจากเจ้าของธุรกิจ มีทัศนคติไม่ถูกต้องในเรื่องระบบแฟรนไชส์ มีแนวคิดทางธุรกิจไม่ชัดเจน รวมถึงลักษณะของธุรกิจไม่เหมาะสมกับระบบแฟรนไชส์ ที่สำคัญพื้นฐานทางการดำเนินธุรกิจไม่แข็งแรงพอ อันเนื่องมาจากการขาดการประเมินความพร้อมของธุรกิจ และความเหมาะสมของธุรกิจก่อนเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการธุรกิจมักทำตามคนอื่น เห็นคนอื่นทำระบบแฟรนไชส์แล้วดีจึงทำตาม ซึ่งรากเหง้าหลักของปัญหาก็คือ การขาดความรู้ความเข้าใจ และ การไม่มีวิสัยทัศน์ ในการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว

2.ระบบการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ

ระบบการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ

ปัญหานี้เกิดการบริหารจัดการตลาดไม่มีประสิทธิผล การบริหารงานสาขาบกพร่อง การจัดการแฟรนไชส์ซีไม่ดี และขาดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ และความสามารถทางทรัพย์สินทางปัญญา

รากเหง้าหลักของปัญหาก็คือ “การขาดความรู้ความเข้าใจ” “การขาดการปฏิบัติ และวิทยาการ (Know-how) ที่ดี” รวมถึง “การไม่มีการพัฒนาบุคลากรและทีมงาน” และ “การไม่มีวิสัยทัศน์ ในการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว”

3.ขาดทีมงานและระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์

ขาดทีมงานและระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์

เกิดจากเจ้าของแฟรนไชส์ออกแบบและวางระบบแฟรนไชส์ไม่ละเอียดรอบคอบ และไม่ทีมงานที่จะประสานงานระหว่างองค์กรกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ จึงทำให้ขาดการสื่อสารที่ชัดเจน ไม่สามารถถ่ายทอดถึงแนวคิดและการปฏิบัติที่ถูกต้องได้

รากเหง้าหลักของปัญหาก็คือ “การขาดความรู้ความเข้าใจ การขาดการปฏิบัติ และวิทยาการ (Know-how) ที่ดี” รวมถึงการไม่มีการพัฒนาบุคลากรและทีมงาน และ “การไม่มีวิสัยทัศน์ (Vision) ในการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว”

4.ธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดเล็กมีมากเกินไป

ธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดเล็กมีมากเกินไป

เกิดจากภาพรวมของธุรกิจในระบบ มีความแตกต่างมากเกินไป ธุรกิจที่มีศักยภาพมาตรฐานมีน้อย อีกทั้งธุรกิจขนาดเล็กในระบบแฟรนไชส์มีมากเกินไป ทำให้ขาดความเหมาะสม ไม่เกิดความคุ้มค่าของการลงทุน ลงทุนไปแล้วมีโอกาสเจ๊งสูง

นอกจากนี้ ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ขาดประสิทธิภาพในการบริการจัดการระบบ ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพและศักยภาพในการขยายตัว พร้อมทั้งขาดแนวทางการสร้างทางเลือกในการลงทุนให้กับประชาชน รูปแบบการลงทุนของธุรกิจขาดระบบการสนับสนุน เช่น การกำกับดูแล การจัดหาแหล่งเงินทุน และความเข้าใจของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ เป็นต้น

แนวทางปรับปรุงและแก้ไขด่วน!

แนวทางปรับปรุงและแก้ไขด่วน!

จากปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยจะต้องได้รับการปรับปรุง เพื่อการรองรับการขยายตัวในตลาดภูมิภาค ดังต่อไปนี้

1.การกำหนดทิศทางในการขยายตัวให้ชัดเจน โดยเฉพาะการขยายสาขาในประเทศ และขยายสาขาในต่างประเทศ รวมถึงแนวทางการสร้างระบบและมาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์

291

2.การสนับสนุนธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องมีการวางแผนในระยะยาวมากขึ้น เพื่อให้การเติบโตเป็นไปตามเป้าหมาย

292

3.การวางรูปแบบการพัฒนานักธุรกิจ และบุคลากรที่เกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์ ที่เป็นคนไทยและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจแฟรนไชส์ที่แท้จริง เพราะระบบแฟรนไชส์จะแข็งแกร่งได้ส่วนหนึ่งมาจากบุคลากร และทีมงาน

293

4.การสร้างยุทธศาสตร์ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์สู่ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยการระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันผลักกันยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ภาครัฐหาช่องทางในการเปิดตลาด ภาคเอกชนพร้อมให้การสนับสนุน โดยเฉพาะสถาบันการเงินต้องให้สินเชื่อแฟรนไชส์อัตราดอกเบี้ยต่ำ

สรุปก็คือ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจในระบบแฟรนไชส์แฟรนไชส์ของไทย ถ้าไม่เร่งปรับปรุงแก้ไข ก็จะส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยไม่เติบโตอย่างเต็มที่ เพราะแม้ว่าจะมีธุรกิจแฟรนไชส์เกิดใหม่เรื่อยๆ แต่ขณะเดียวกันก็มีธุรกิจแฟรนไชส์เก่าๆ ล้มหายตายจากไปก็มีจำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจรายเล็กๆ ที่ไม่แข็งแกร่งพอ แต่อยากเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ครับ


อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี http://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

Franchise Tips

  1. เจ้าของธุรกิจเริ่มต้นเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ไม่ถูกต้อง
  2. ระบบการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ
  3. ขาดทีมงานและระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์
  4. ธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดเล็กมีมากเกินไป

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3rCcOhV

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช