รู้หรือยัง! ขั้นตอนและหลักฐานที่สำคัญ สำหรับการขอ อย.
การทำธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับ เรื่องของกฏหมาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดก็ตามจะต้องมีกฏหมายและมีมาตรฐานของธุรกิจนั้นๆที่ผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เห็นแก่ตัวเอาแต่ได้เข้ามาหากำไรจากการขายสินค้าและบริการที่ไม่มีคุณภาพอันจะส่งผลเสียต่อภาพรวมของเศรษฐกิจในระยะยาว
โดยเฉพาะในหมวดหมู่ของอาหารเราจะคุ้นหูและรู้จักกันดีกับหน่วยงานที่เรียกว่าสำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขผู้มีหน้าที่ให้การรับรองแก่สินค้าประเภทอาหารในลักษณะของเครื่องหมาย อย. คำถามคือว่าแล้วจำเป็นแค่ไหนที่หากเราจะทำธุรกิจอาหารขึ้นมาจะต้องขออนุญาติทุกครั้งไปหรือไม่ และเพื่อให้ทุกคนเข้าใจในเรื่องนี้ตรงกัน
www.ThaiSMEsCenter.com พาทุกท่านไปดูทีละขั้นตอนกับบทนิยมแห่งคำว่าอาหารไปจนถึงขั้นตอนการขอใบอนุญาต เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินธุรกิจของทุกคน
นิยามคำว่าอาหารตามพระราชบัญญัติ
ภาพจาก goo.gl/ksuxA8
อาหาร ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง “วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างการ แต่ ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสด้วย
โดยปัจจุบันนี้ประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ได้รวมตัวกันเป็นชมรมหรือสหกรณ์ นำวัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นการช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น เครื่องดื่มทำจากผลไม้ท้องถิ่น เครื่องดื่มจากสมุนไพร กะปิ น้ำปลา ขนมหวาน อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น
ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ผู้ผลิตอาจต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไปซึ่งก็มีคำถามตามมาอีกว่าอ้าว! แล้วอาหารแบบไหนละที่ต้องขออนุญาตในการผลิต โดยในที่นี้ได้แบ่งไว้เป็น 2 หมวดหลักๆคือ
1.กลุ่มอาหารที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย.
ภาพจาก goo.gl/PxaVLe
อาหารกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ไม่แปรรูปหรือถ้าแปรรูปก็จะใช้กระบวนการผลิตง่าย ๆ ในชุมชน ผู้บริโภคจะต้องนำมาปรุงหรือผ่านความร้อนก่อนบริโภค อาหารกลุ่มนี้ผู้ผลิตที่มีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่าย โรงงาน
(ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือคนงานน้อยกว่า 7คน) สามารถผลิตจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมาขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แต่ต้องแสดงฉลากอาหารที่ถูกต้องไว้ด้วย
2.กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย.
ภาพจาก goo.gl/DlqenH
อาหารกลุ่มนี้เป็นอาหารที่มีการแปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูปหรืออาหารสำเร็จรูปแล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับต่ำ ปานกลางหรือสูง แล้วแต่กรณี ได้แก่ อาหารที่ต้องมีฉลาก อาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน หรืออาหารควบคุมเฉพาะ
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือจดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดของอาหารแต่ละชนิดแล้วแต่กรณี ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
ภาพจาก goo.gl/9ixshW
เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียมเพื่อขอจัดตั้งโรงงาน/สถานที่ผลิต
- สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคลล)
- สำเนา ภพ.20 (เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล)
- สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือบริษัท (กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ)
- แผนที่ตั้งของร้าน หรือบริษัท
- แผนผังภายในร้าน หรือบริษัท ระบุ สถานที่ผลิต, บรรจุ, เก็บสินค้า ให้ชัดเจน
- สินค้าตัวอย่างพร้อม ฉลาก
ภาพจาก goo.gl/aLQjA8
อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตอาหาร
- ใช้คนงานตั้งแต่ 7 -19 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักร จนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 3,000 บาท
- ใช้คนงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 5,000 บาท
- ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5- 91 แรงม้า 6,000 บาท
- ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 10 -24 แรงม้า 7,000 บาท
- ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 25 – 49 แรงม้า 8,000 บาท
- ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 50 แรงม้า ขึ้นไป 10,000 บาท
สำหรับกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น (ฟรี)
หลักฐานสำคัญเพื่อใช้ขอรับเลขสารบบอาหาร (อย.)
- ใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียดอาหาร (แบบ สบ.5) จำนวน 2 ฉบับ
- สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต
- ใบรับรองสถานที่ผลิตอาหารที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP
ภาพจาก goo.gl/kh2tba
สรุป 4 ขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.
- จัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: GOOD MANUFACTURING PRACTICE)
- จัดเตรียมเอกสารโดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารทุกแห่ง
- ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจสถานที่
- ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ, อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก
สถานที่ยื่นคำขออนุญาต
- ในกรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (0ne stop service center )สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้นๆ
นี่คือเรื่องพื้นฐานในทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สันทัดในการเดินเอกสารก็มีหลายบริษัทที่เข้าทำหน้าที่รับดำเนินการแทน
แต่เราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางที่ดีเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยากทำเองก็จะช่วยลดต้นทุนได้ดีกว่าสำคัญคือสินค้าเรามีคุณภาพสถานที่ผลิตได้มาตรฐานทุกอย่างก็ผ่านอนุมัติง่ายและเร็วแน่นอน
แต่สำหรับท่านใดที่มองว่าอยากเริ่มธุรกิจแบบที่ไม่ต้องยุ่งยากไม่ต้องขอจดทะเบียนให้วุ่นวายก็อาจจะเลือกลงทุนในรูปแบบแฟรนไชส์ซึ่งเรามีให้เลือกมากมายตามความต้องการของทุกท่าน
ดูรายละเอียดที่ goo.gl/AhPTzh
อ้างอิงจาก https://bit.ly/351xOG0