#รีวิวหนังสือ ในโลกที่มีแต่คนเก่ง อยากสำเร็จต้องกล้าฉีก (Disrupt Yourself)
รีวิวหนังสือ เล่มนี้รวบรวมเคล็ดลับทั้งหมดไว้ให้คุณ เคล็ดลับที่เรียนรู้มาจากศาสตร์จารย์ของฮาร์วาร์ด เหมือนคุณได้นั่งอยู่แถวหน้าในคลาสเรียนที่ใครก็แย่งกันเข้าเรียน ไม่ว่าคุณจะเป็นหน้าใหม่จากวงการไหนก็ตาม แค่อ่านเล่มนี้ คุณจะก้าวสู่ประตูบานถัดไปของชีวิต และคว้าความสำเร็จในแบบที่คุณต้องการ!!
คุณจะสำเร็จแซงหน้าคนที่ทำงานมานานกว่าคุณ 10 ปีได้อย่างไร? “วิทนี่ จอห์นสัน” เคยเป็นสาวออฟฟิศปลายแถวที่ไม่มีทั้งความรู้และเส้นสาย แต่เธอกลับก้าวมาเป็นนักวิเคราะห์หุ้นชื่อดังเหนือกว่ารุ่นใหญ่ในวอลสตรีท ทั้งหมดนี้มาจากเคล็ดลับที่เธอเรียนรู้มาจากศาสตราจารย์ของฮาร์วาร์ด รีวิวหนังสือ นี้รวบรวมเคล็ดลับทั้งหมดนั้นไว้ให้คุณ
รีวิวหนังสือ เผยเคล็ดลับจากคลาสเรียนที่โด่งดังของฮาร์วาร์ด เหมือนคุณได้นั่งอยู่แถวหน้าในคลาสที่ใครก็แย่งกันเข้าเรียน พร้อมตัวอย่างความสำเร็จของธุรกิจและบุคคลที่น่าสนใจ เช่น บริษัทที่ไร้การเติบโตมานานนับปี หันมาขายมือถือในราคาขาดทุน ทำให้พุ่งทะยานขึ้นมาเป็นที่ 1 ในวงการอย่างรวดเร็ว โค้ชเบสบอลที่พาทีมนอกสายตาล้มทีมยักษ์ใหญ่ในวงการ
ด้วยเทคนิคกระตุ้นลูกทีมแบบใหม่ที่ไม่เคยมีใครใช้มาก่อน ผู้หญิงที่ไม่มีความรู้เรื่องแฟชั่น กลับปฏิวัติการขายเสื้อผ้าบนอินเทอร์เน็ต จนแบรนด์ดังต้องหันมาทำตาม ไม่ว่าคุณจะเป็นหน้าใหม่จากวงการไหนก็ตาม แค่อ่าน รีวิวหนังสือ เล่มนี้ คุณจะก้าวสู่ประตูบานถัดไปของชีวิต และคว้าความสำเร็จในแบบที่คุณต้องการ!
ผู้เขียน Whitney Johnson
ผู้แปล อิทธิพล จึงวัฒนาวงศ์
ราคาหนังสือ : 215 บาท
จำนวนหน้า : 210
รีวิวหนังสือ หมวด : จิตวิทยาพัฒนาตนเอง
บทที่ 1 เลือกความเสี่ยงที่ใช่
ถ้าคุณรู้สึกว่ากิจกรรมที่ทำอยู่ไม่ได้มีความสำคัญหรือมีคุณค่าแล้ว สมองของคุณจะขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ คำถามแรกที่คุณต้องถาม คือ เรากำลังพยายามทำอะไรอยู่ หรือ พูดอีกอย่างคือ งานอะไรที่เราทำแล้วรู้สึกว่ามีคุณค่า
จงเลือกทำงานที่คุณรู้สึกว่ามีคุณค่า แนวคิด ทำงานที่มีคุณค่า(Jobs to Be Done) ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยแอนโทนี่ อูลวิก จากนั้นเคลย์ตัน คริสเตนเซ่น เป็นคนตั้งชื่อ และเผยแพร่แนวคิดนี้ให้ผู้คนทั่วไปรู้จัก ให้เราเลือกทำสิ่งที่ผู้คนต้องการและมองว่ามีคุณค่า
งานที่ผู้คนต้องการนั้น อาจเป็นได้ทั้ง
- งานที่ให้คุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอย (Functional)
- งานที่ให้คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึก (Emotional)
กำหนดให้ได้ว่าคุณทำงานไปเพื่ออะไร ต้องถามตัวเองว่า งาน ที่ลงแรงไปนั่นจะให้อะไรกับคุณบ้าง ทั้งด้านผลตอบแทน ทั้งด้านความรู้สึก ธรรมชาติคัดเลือกผู้ที่ชอบความเสี่ยง
คนเรามี 2 ประเภท คือ
- คนที่ก้าวไปข้างหน้า ชอบแสวงหาโอกาส ชอบทำงานให้เร็ว ฝันให้ใหญ่ และคิดอย่างสร้างสรรค์ พวกเขา คือ ผู้ชอบความเสี่ยงโดยธรรมชาติ และพวกเขาจะให้ความสำคัญกับผลตอบแทนสูงสุด
- คนที่รักษาสิ่งที่มีอยู่ มักจะให้ความสำคัญกับการอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ทำงานอย่างพิถีพิถัน กลัวความผิดพลาดที่ตามมาจากความไม่ระวัง และมองไปที่การรักษาสิ่งที่มีอยู่แล้ว ไม่ชอบความเสี่ยง
ให้มองหาความเสี่ยงที่ใช่ คุณควรแยกความเสี่ยงทางการแข่งขัน กับ ความเสี่ยงทางการตลาดให้ออกก่อน บริษัทที่หวังจะโตจากการขายสินค้าตัวใหม่ และ สร้างตลาดมารองรับสินค้านั้นขึ้นใหม่ ความเสี่ยงด้านการตลาด
บริษัทที่หวังจะโตด้วยสินค้าเดิม และขายให้ลูกค้าที่ใช้สินค้าอยู่ก่อนแล้ว ความเสี่ยงด้านการแข่งขัน ถ้าคุณอยากเติบโตก้าวหน้า คุณก็ควรเลือกความเสี่ยงด้านการตลาด
หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ผิด เลือกก้าวไปยังพื้นที่ที่ยังไม่มีใครปักธงแสดงความเป็นเจ้าของ จึงมีคู่แข่งน้อย ทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
แสวงหางานที่ยังไม่มีใครทำได้ ถ้าคุณเชี่ยวชาญในทางใดทางหนึ่งที่ไม่มีใครอื่นทำได้ ความสามารถพิเศษจะช่วยให้คุณเติบโตไปได้อย่างต่อเนื่อง ถ้าต้องเพิ่มคุณค่าให้กับงานใดสักงาน นั่นแหละคือความเสี่ยงทางการตลาด
เมื่อคุณตัดสินใจจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ อย่างแรกคุณจะต้อง คิดให้ตกก่อนว่าคุณอยากทำอะไร จากนั้นให้เลือกความเสี่ยงด้านการตลาด โดยลงเล่นในจุดที่ยังไม่มีใครเคยลงไปเล่น การลองทำสิ่งใหม่ๆ นั้นเสี่ยงน้อยกว่า และสร้างความพึงพอใจได้มากกว่า
บทที่ 2 ใช้จุดแข็งที่เฉพาะตัว
จุดแข็งที่ว่านี้คือสิ่งที่คุณทำได้ดีขณะที่คนอื่นๆ ในวงการเดียวกันทำไม่ได้ คู่จุดแข็งเข้ากับสิ่งที่ยังไม่มีใครทำ หรือปัญหาที่ยังไม่มีใครมาแก้ ก่อให้เกิดแรงหนุนให้คุณเติบโตอย่างรวดเร็ว
ค้นหาสิ่งที่คุณทำได้ดีสิ
- ทักษะอะไรที่ช่วยให้คุณอยู่รอด
- ตอนไหนที่คุณรู้สึกเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง
- คุณรู้สึกหงุดหงิดกับการทำงานของคนอื่นหรือเปล่า
- อะไรทำให้คุณแตกต่างรวมถึงพฤติกรรมแปลกๆตั้งแต่เด็ก
- คุณเมินใส่คำชมแบบไหน
- ทักษะอะไรที่คุณต้องฝึกฝนอย่างหนัก
ค้าหาจุดแข็งเฉพาะตัวของคุณ
เมื่อหาจุดแข็งของตัวเองเจอแล้ว คุณยังต้องทำให้มันโดดเด่นออกมา หมายถึง คุณต้องทำสิ่งนั้นได้ดีกว่าคนอื่นในสายงานเดียวกัน
นำจุดแข็งของคุณมาทำในสิ่งที่ยังไม่มีใครทำ นึกถึงงานที่คุณจะกลายเป็นผู้สมัครที่น่าจับตามอง มองหาเส้นทางที่เข้ากับความมุ่งมั่นของคุณได้ หรือ มองดูปัญหาที่บริษัทต้องแก้ไขสิ แล้วถามตัวเองว่าฉันแก้ปัญหานั้นได้รึเปล่า
เตรียมตัวเจอกับการเริ่มต้นที่แสนยากลำบาก คุณจะพบว่าการค้นหางานที่ยังไม่มีใครทำ และจับคู่มันได้อย่างเหมาะเจาะกับทักษะพิเศษของคุณ เป็นเรื่องที่ยากมาก
บทที่ 3 ยิ้มรับข้อจำกัด
ข้อจำกัด ขีดจำกัด ข้อห้าม การผูกมัด เพดาน กรอบ ขอบเขต และการควบคุม เราผู้ใช้ชีวิตอยู่ในโลกเสรี ต่างไม่ชอบคำเหล่านี้ แต่เมื่อเรากำลังมองหาความท้าทายใหม่ๆ ข้อจำกัดจะทำให้เราเห็นวิธีแก้ปัญหาและลดความผิดพลาดที่เกิดจากความไร้ระเบียบ
ข้อจำกัดช่วยให้เราเรียนรู้ได้เร็วขึ้น การตั้งข้อจำกัดให้ตัวเองเป็นวิธีที่จะทำให้ เราเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำที่สุด
ข้อจำกัดช่วยเราแก้ปัญหาไปทีละอย่าง ขณะที่พัฒนาตัวเองตามเส้นโค้งการเรียนรู้ ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกบีบด้วยข้อจำกัดต่างๆ อาจเป็นสัญญาณว่า คุณกำลังต่อสู้กับข้อจำกัดตัวเอง เมื่อเราค่อยๆแยกข้อจำกัดที่มีออกจากกัน เราจะ พลิกชีวิต ได้ง่ายขึ้น
ข้อจำกัดช่วยให้เราจดจ่อได้มากขึ้น เช่นกฎหมายว่าด้วยเรื่องกิจกรรมที่ทำได้ในขณะขับรถ ถ้าคุณขาดการจดจ่อกับการขับรถ คุณอาจกำลังพาตัวเองไปสู่หายนะ คุณอาจใช้ข้อจำกัดมาช่วยแก้ปัญหาได้ดีถ้าคุณกำลังรู้สึกว่าชีวิตไร้จุดหมาย
การตั้งข้อจำกัด
คนเราทุกคนต้องการทรัพยากรบางอย่างเพื่อก้าวเดินต่อไป การขาดทรัพยากรทำให้สมองต้องรับหน้าที่หนัก และการมีทรัพยากรมากเกินไปก็อาจจะลดความสามารถลง
เงิน : คนส่วนใหญ่มีข้อจำกัดเรื่องเงิน แต่การขาดแคลนเงินทุนอาจเป็นเรื่องดี เพราะการขาดเงินทุนทำให้เจ้าของธุรกิจต้องกระตือรือร้นหากำไร
ความรู้ : คุณสามารถหาข้อได้เปรียบจากขาดประสบการณ์ของตัวเอง เมื่อคุณลงมือทำอะไรสักอย่างเป็นครั้งแรก วิธีการในแบบของตัวเองนั้นอาจก่อให้เกิดแนวทางที่สดใหม่ขึ้นมาก็เป็นได้
เวลา : ไม่มีเวลาจนต้องหาวิธีอื่น ทำให้ได้พบสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งกว่า
ข้อจำกัดที่มองไม่เห็น
เช่น อาการติดยา ความรู้สึกไม่ปลอดภัย อาการซึมเศร้า และการเจ็บป่วย ข้อจำกัดแต่ละตัว ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดทางด้านร่างกาย หรือจิตใจ ภายในหรือภายนอก ก็สามารถเป็นพลังให้เราเคลื่อนที่ขึ้นไปบนเส้นโค้งการเรียนรู้ของเราได้
เปลี่ยนอุปสรรคให้กลายเป็นพลัง ข้อจำกัดที่คุณไม่มองมันอย่างสร้างสรรค์และคิดแบบมีแผนการแล้วล่ะก็ จะเป็นได้แค่ปัญหาอีกอย่างเท่านั้น
6 ขั้นตอนเพื่อเปลี่ยนข้อจำกัดให้กลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์
- เปลี่ยนจากคนเคราะห์ร้ายไปสู่นักสู้ชีวิต และนำอุปสรรคมาเป็นพลัง แต่ถ้าเรามาถึงขั้น นักสู้ชีวิต เราจะรู้สึกว่าความทะเยอทะยานมีความสำคัญ มากเกินกว่าจะปล่อยให้ข้อจำกัดยับยั้งความต้องการของเรา และเราจะเริ่มมองหากลยุทธ์ที่เอาชนะอุปสรรคนั้น
- ปลดแอกจากแนวทางเดิม
- ตั้งคำถามที่ช่วยสร้างแรงกระตุ้น
- นิยามคำว่า “ทำได้-ถ้า” เสียใหม่ แทนที่จะคิดว่า ฉันทำไม่ได้เพราะ ให้เริ่มต้นทุก/ประโยคด้วยคำว่า “ผมทำได้ ถ้า”
- ให้หาแหล่งทรัพยากรใหม่ที่เหลือเฟือ
- ปลุกความรู้สึกภายในของคุณ อย่าถามว่า ทำไมสิ่งนี้จึงเกิดขึ้นกับฉัน แต่ควรถามว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะช่วยฉันได้อย่างไร
ข้อจำกัดทำให้เราพยายามผลักดันตัวเองตลอดเวลา
ยิ่งตั้งข้อจำกัดเข้าไปมากเท่าไหร่ คนคนนั้นก็ยิ่งเป็นอิสระจากตัวเองมากขึ้นเท่านั้น
บทที่ 4 เอาชนะความยึดมั่นถือมันในตัวเอง
ความยึดถือมั่น คือความเชื่อว่าบางอย่างเป็นของเรา เมื่อเราพัฒนาตัวเองมาถึงช่วงที่อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น เราจะมีความมั่นใจมากขึ้นและการยึดมั่น ถือมั่นในตัวเอง คือความเสี่ยงที่พวกเราทุกคนต้องเผชิญ
ความยึดติดทางวัฒนธรรม เป็นม่านบังตาไม่ให้เรามองเห็นโลกภายนอก การมองเห็นโลกเพียงมุมมองเดียว ทำให้เราเชื่อว่าเราเข้าใจทุกอย่างถูกต้อง การทำโดยไม่คิดก่อนเป็นเรื่องง่าย หากลองทำตามแบบที่บทแรกๆ ได้บอกไว้ เราจะเริ่มมองเห็นผลทั้งจากการเลือก ความเสี่ยงที่ถูกต้อง การใช้จุดแข็งของเรา การยอมรับข้อจำกัด เรามักมองไม่เห็นอันตรายในตอนที่ทุกอย่างกำลังไปได้สวย
วิธีแก้ไข : ย้ายตัวเองไปสู่วัฒนธรรมใหม่
พวกเราอาจชอบพื้นที่ ที่หล่อเลี้ยงวัฒนธรรมปัจจุบันของเรา แต่ถ้าเราไม่อยากหยุดนิ่งกับที่บางครั้งเราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของเราซะใหม่
เลิกคิดถึงแต่ตัวเอง คนเรามักยึดติดว่าตัวเราต้องมาก่อนเสมอ ถ้ายึดติดมากเกินไ จะทำให้หลงตัวเอง ทำให้ไม่สามารถ พลิกชีวิตตัวเอง ได้
วิธีแก้ไข : จงรู้สึกยินดี
ให้กำหนดว่าจะพูด ขอบคุณ แก่คนรอบข้าง เพราะว่าการจะแสดงความรู้สึกขอบคุณได้นั้น คุณต้องยอมรับก่อนว่าคุณต้องพึ่งพาคนอื่น ถ่อมตัวเพื่อนเรียนรู้ข้อด้อยของตัวเอง
เลิกยึดติดว่าตัวเองเก่งที่สุด คนเรามักไม่รู้ตัวว่ากำลังยึดติดว่าตัวเองเก่ง ความยึดติดนี้คือการดูแคลนความคิดของคนอื่นที่เรามองว่าอยู่ต่ำกว่าเรา
วิธีแก้ไข : ฝึกฟังเสียงความเห็นที่แตกต่าง
การรู้จักรับฟังความเห็นต่างไม่ได้เกิดขึ้นได้เอง ทักษะนี้ต้องอาศัยการฝึกฝน
พลิกชีวิตตัวเอง ก่อนจะไปพลิกชีวิตให้คนอื่น การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อเราเริ่มจากเปลี่ยน วิธีคิดของตัวเองก่อน เพราะการสร้างวัตกรรมเริ่มต้นจากภายในนั่นเอง
บทที่ 5 ก้าวถอยหลังเพื่อเติบโต
บางครั้งต้องยอมถอยเพื่อให้ได้ไปต่อ
ประโยชน์ของการก้าวถอยหลัง การถอยหลังช่วยให้คุณกลับมาคิดทบทวนว่าคุณหวังจะ เรียนรู้หรือค้นพบอะไรต่อไป ในแง่ธุรกิจก็เช่นกัน เมื่อเริ่มงานใหม่ที่ทำเงินและให้ผลตอบแทนทางความรู้สึก การก้าวถอยหลัง จะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมล่วงหน้าได้
เมื่อไหร่คุณควรจะถอยหลัง เมื่อไหร่ควรจะสู้ต่อ บางครั้งเราอาจได้ประโยชน์จากการถอยหลังอย่างมีกลยุทธ์ แต่การถอยหลังก็ไม่ได้ดีเสมอไป ถ้ากำลังทำงานอย่างทะเยอทะยาน และมีโอกาสบรรลุเป้าหมาย ก็ไม่มีความจำเป็นต้องถอยหลัง แต่ถ้าเดินมาถึงบันไดขั้นสุดท้าย มันก็ถึงเวลาที่จะมองหาบันไดใหม่แล้ว
เตรียมพร้อมถอยหลัง สิ่งที่ยากและท้าทายที่สุด คือ การรวบรวมความกล้า เพื่อกระโดดไปสู่เส้นทางชีวิตเส้นใหม่ในตอนที่สบายใจ
กำหนดตัวชี้วัดให้ชีวิต เมื่อกำลังพลิกชีวิตตัวเอง ต้องหาตัวชี้วัดที่เหมาะสม มาวัดตัวคุณ ต้องทำมันด้วยตัวคุณเอง ลงมือทำ
บทที่ 6 ชื่นชมความล้มเหลว
ความผิดพลาดเป็นโอกาสเพียงหนึ่งเดียว ที่เราจะได้เริ่มต้นใหม่อย่างฉลาดกว่าเดิม
ทำไมเราถึงเกลียดความล้มเหลว เมื่อคนเราอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด และรู้สึกว่า กำลังเสียเปรียบ สมองจะสร้างสารเคมีเพื่อปกป้องตัวเอง จากการเป็นฝ่ายผิดที่ทำให้เสียหน้า สมองจะคิดตามหลักเหตุผลได้น้อยลง
เรียนรู้ที่จะล้มเหลว คนเราล้มเหลวได้ ถึงความล้มเหลวจะทำให้คุณเกิดข้อสงสัย ในเส้นทางที่ตัวเองเลือกเดิน หรือสงสัยในความสามารถของตัวเอง แต่ก็ต้องหาวิธีรับมือ และเปลี่ยนให้เป็นบันไดสู่ความสำเร็จ
จำไว้ว่าความผิดพลาดจะเกิดขึ้นแน่นอน ให้นิยามคำว่าความสำเร็จเสียใหม่ ผู้ชนะไม่จำเป็นต้องเป็นที่หนี่งเสมอไป
ยอมรับและแบ่งปันความเศร้า คนที่ทุกข์ทรมานจากความสูญเสียต้องการใครสักคน มาช่วยรับฟังเพื่อให้พวกเขาก้าวผ่านและเรียนรู้จากความสูญเสียนั้น
โยนความอับอายทิ้งไปซะ ถ้าคุณยอมให้ความล้มเหลวมาเป็นตัวตัดสินความสามารถของคุณ ความอับอายจะทำให้คุณไม่สามารถก้าวไปตามฝันของตัวเองได้
เรียนรู้จากความล้มเหลว ให้ถามตัวเองว่า ค้นพบอะไรบ้างจากความล้มเหลวครั้งนี้ และคุณจะนำสิ่งที่เรียนรู้มานั้นไปใช้ได้อย่างไร
บทที่ 7 จงเป็นนักสำรวจ
หนึ่งในคุณลักษณะพิเศษของ นัดพลิกชีวิต ก็คือ พวกเขาจะเล่นในจุดที่ไม่มีใครลงเล่น จงวางแผนตามแบบนักสำรวจที่โด่งดัง
เริ่มต้นจากจุดที่ปลอดภัยไปสู่ดินแดนที่ไม่รู้จัก วางแผนตามขั้นตอน
จงวางแผนแบบนักสำรวจ ถ้าคุณวางแผนจะออกเดินทางเพื่อค้นพบอะไรสักอย่าง คุณจะเริ่มต้นด้วยความรู้ที่มีอยู่น้อยนิดและต้องเดาทางไปเรื่อย
แผนนี้มี 4 ขั้นตอน
- เขียนงบกำไรขาดทุนแบบกลับด้าน
- คำนวณต้นทุน
- เขียนรายการสิ่งที่ต้องทำไว้
- ให้เขียนแผนภูมิกำหนดเป้าหมาย
สำรวจเส้นทางอาชีพ ลองทำแผนที่อาชีพขึ้นมา ดูว่าต้องทำอะไรผ่านอะไรมาบ้าง อาชีพนั้นตอบสนองความต้องการของคุณได้แค่ไหน ทั้งด้านเงินและด้านความรู้สึก จงเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณทำ ถ้าคุณไม่กล้าเริ่มทำสิ่งใหม่ คุณจะเจอกับความเสี่ยง จากการหยุดนิ่งในขณะที่คนอื่นก้าวไปข้างหน้า
รีวิวหนังสือ โดย: คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)
อ้างอิงจาก https://bit.ly/38qnhFu