#รีวิวหนังสือ เพราะชีวิต ดีได้กว่าที่เป็น ATOMIC HABITS
สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ เพราะชีวิต ดีได้กว่าที่เป็น ATOMIC HABITS เล่มนี้มีประโยชน์อย่างมาก เจมส์ เคลียร์ ได้กลั่นกรอง องค์ความรู้ด้านการปรับเปลี่ยนนิสัย ให้เป็นเนื้อหาที่เข้าใจได้ง่าย นำไปใช้ได้จริงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีสร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการช่วยในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นักเขียน : James Clear
นักแปล : ประพาฬรัตน์ ยงมานิตชัย
แนวคิดพื้นฐาน
- พลังอันน่าพิศวงของนิสัยเล็กๆ The aggregation of marginal gains หลักปรัชญาของการค้นหาจุดบกพร่องเล็กๆ แล้วปรับปรุงให้ดีขึ้นในทุกๆจุด ปรับปรุงทีละอย่างให้ได้เพียงอย่างละ 1% ซึ่งรวมกันแล้วสิ่งนั้นจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด
- ถ้าคุณพัฒนาตัวเองวันละ 1% ทุกวันเป็นเวลา 1 ปี ผลที่ได้ คือ คุณจะก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม 37 เท่า 1% อาจดูไม่มีสาระสำคัญในตอนแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปมันจะส่งผลต่อคุณไปทั้งชีวิต
- ความสำเร็จเป็นผลิตผลของนิสัยที่ทำเป็นกิจวัตร ไม่ใช่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอะไรเพียงครั้งเดียวในชีวิต
- ทุกสิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่างก็มาจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ทั้งสิ้น
- เป้าหมายเป็นเรื่องของผลที่คุณต้องการบรรลุ แต่กระบวนการคือขั้นตอนปฎิบัติที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น
- การเปลี่ยนแปลงแปลงพฤติกรรมคือการเปลี่ยนแปลงตัวตน คุณอาจจะเริ่มสร้างนิสัยบางอย่างเพราะมีแรงจูงใจ แต่เหตุผลเดียวที่คุณจะทำนิสัยนั้นได้อย่างต่อเนื่องก็คือ นิสัยนั้นต้องกล่ยเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นคุณ
กฎข้อที่ 1 ทำให้เห็นชัดเจน
- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต้องเริ่มจากการมีสติรู้ตัวเสมอ
- หากมีการฝึกพฤติกรรมนั้นซ้ำๆ มากพอ สมองของคุณจะเลือกปัจจัยกระตุ้นที่คาดเดาผลลัพธ์ได้โดยที่ไม่ต้องคิด
- เมื่อใดที่นิสัยของเราเกิดขึ้นได้เองโดยอัตโนมัติ เราก็จะลืมตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่
- การชี้และส่งเสียง ช่วยเพิ่มระดับความรู้ตัวในพฤติกรรมแบบอัตโนมัติ ด้วยการส่งเสียงพูด ออกมาควบคู่กับการกระทำนั้นๆ
- การประเมินนิสัยเป็นแบบฝึกง่ายๆ ที่คุณสามารถให้เพื่อช่วยสังเกตพฤติกรรมของคุณอย่างมีสติมากขึ้น
- แนวทางง่ายๆในการปรับนิสัยคือ ตั้งเป้าหมาย แล้วเขียนออกมาให้ชัดเจน เช่น ฉันจะทำ…ในเวลา…ณ… ฉันจะเรียนภาษาจีน 20 นาที เวลา 13:00 ที่ห้องนั่งเล่น
- การสร้างนิสัยใหม่ๆ คือ การวิเคราะห์นิสัยที่คุณทำอยู่แล้วในแต่ละวัน และเพิ่มเติมพฤติกรรมใหม่ๆเข้าไปเรื่อยๆ
- การมองเห็น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ เพราะการสร้างพฤติกรรมใหม่ในสิ่งแวดล้อมใหม่จะทำได้ง่ายกว่า
กฎข้อที่ 2 ทำให้น่าดึงดูดใจ
- ทำให้พฤติกรรมใหม่ติดเป็นนิสัยจนเลิกไม่ได้
- ใช้พฤติกรรมที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นมากกว่ามาเสริมแรงพฤติกรรมที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นได้น้อยกว่า ทำในสิ่งที่ต้องทำ แล้วทำในสิ่งที่อยากทำ
- นิสัยคือวงจรสะท้อนกลับจากแรงขับโดปามีน เมื่อโดปามีนเพิ่มขึ้นเราก็จะมีแรงจูงใจให้กระทำอะไรบางอย่าง ความคาดหวังที่จะได้รางวัลจะช่วยกระตุ้นให้เราลงมือทำ
- ยิ่งเราเข้าใกล้คนใดคนหนึ่งมากเท่าไหร่เรายิ่งดูเหมือนจะมีนิสัยเหมือนคนเหล่านั้นนิสัยใหม่ๆมักสร้างได้สำเร็จเมื่อคุณได้เห็นคนอื่นทำพฤติกรรมนั้นๆเป็นประจำ
- เมื่อไหร่ก็ตามที่เราไม่แน่ใจว่าจะทำตัวอย่างไร เราจะมองคนส่วนใหญ่ในกลุ่มเพื่อชี้นำการแสดงพฤติกรรมของเราเอง
กฎข้อที่ 3 ทำให้เป็นเรื่องง่าย
- ถ้าต้องการสร้างนิสัย สิ่งสำคัญคือ ต้องเริ่มด้วยการทำซ้ำๆ ฝึกฝนและลงมือทำ
- คนเรามักมีแรงจูงใจทำสิ่งที่ง่ายดายก่อนเสมอ
- เพิ่มอุปสรรคขัดขวางพฤติกรรมที่ไม่ดี เมื่อมีอุปสรรคมาก พฤติกรรมที่ไม่ดีก็เกิดขึ้นได้ยาก
- กฎ 2 นาที เมื่อใดที่คุณเริ่มนิสัยใหม่ๆ ควรฝึกฝนโดยใช้เวลาน้อยกว่า 2 นาที
- การสร้างนิสัยคือกระบวนการของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นการกระทำโดยอัตโนมัติ
- ระยะเวลาที่คุณกระทำพฤติกรรมใดๆ ไม่สำคัญเท่าจำนวนครั้งที่คุณกระทำพฤติกรรมนั้นๆ
- เมื่อคุณได้ทำสิ่งที่ชื่นชอบ พฤติกรรมที่ดีจะเกิดขึ้นได้เองโดยอัตโนมัติ
กฎข้อที่ 4 ทำให้น่าพึงพอใจ
- อัจฉริยะไม่ได้มีมาแต่กำเนิดแต่เกิดจากการเรียนรู้และฝึกฝน
- พฤติกรรมใดที่ทำแล้วได้รับรางวัล ก็จะเกิดการทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก
- แรงจูงใจอาจช่วยให้เริ่มพฤติกรรมและสร้างตัวตนใหม่ของคุณ แต่ความเป็นคุณต่างหากที่จะรักษานิสัยนั้นๆไว้ได้
- การทำให้นิสัยเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง คุณต้องรู้สึกได้ถึงความสำเร็จในทันทีจากการฝึกทำนิสัยนั้นๆ แม้จะในเรื่องที่เล็กน้อยก็ตาม
- วิธีการติดตามผลของนิสัยและการวัดผลเชิงประจักษ์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้การฝึกนิสัยของคุณเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมยินดี เพราะคุณได้เห็นหลักฐานชัดเจนที่แสดงถึงพัฒนาการของคุณ
- อย่าแหกกฎหยุดกลางคัน พยายามสร้างนิสัยที่ต้องการให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
- การรับรู้ว่ามีคนอื่นคอยสังเกตคุณอยู่เป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3qg5Kbc
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)