#รีวิวหนังสือ เทคนิคโน้มน้าวใจ ด้วยการฟังไม่ใช่การพูด
รีวิวหนังสือ เทคนิคโน้มน้าวใจ ด้วยการฟังไม่ใช่การพูด พูดไม่เก่ง ขี้อาย ตื่นเต้นง่าย ไม่ใช่ปัญหา แค่นำเคล็ดลับ “การฟังเชิงรุก” ไปใช้ แล้วคุณจะทำให้คนคล้อยตามได้ แม้ว่าจะยังไม่ทันพูดอะไรออกมาสักคำ
เคยสงสัยไหม…ทำไมบางครั้งเวลาพยายามโน้มน้าวใจคน ยิ่งเราพูดมากเท่าไหร่ ผลลัพธ์กลับดูแย่ลงเท่านั้น? แล้วถ้าไม่พูดชักแม่น้ำทั้งห้า ยังมีวิธีอื่นที่ทำให้คนคล้อยตามได้อีกหรือ? หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ มาร่วมเรียนรู้เทคนิค “การฟังเชิงรุก” ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ชาวญี่ปุ่น เพียงนำไปใช้ แล้วคุณจะโน้มน้าวใจคนได้อย่างง่ายดาย โดยที่ยังไม่ทันพูดอะไรสักคำ ไม่ว่าอีกฝ่ายจะเป็นลูกค้า หัวหน้า คนรัก ลูก หรือใครก็ตาม!
ผู้เขียน : Yuka Tanimoto (ยุกะ ทะนิโมะโตะ 谷本 有香)
ผู้แปล : วีรวรรณ จารุโรจน์จินดา
ราคา : 250 บาท
จำนวนหน้า : 296 หน้า
รีวิวหนังสือ หมวด : จิตวิทยาพัฒนาตนเอง
บทที่ 1 เทคนิคการฟังเชิงรุก
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
- เตรียมตัว
- ลงสนามจริง
- ติดตามผล
คนที่พูดไม่เก่งจะกังวลกับ การพูด ของตัวเองมากเกินไป สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ฟัง เรื่องที่อีกฝ่ายพูด ไม่ว่าใครก็อยากให้คนอื่นสนใจฟังเรื่องที่ตัวเองพูด การสนทนาแบบญี่ปุ่นต้องเริ่มจากการ ตั้งใจฟัง
ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า คิคุ มี 2 ความหมาย 1.การตั้งใจฟัง และ 2.การถาม สิ่งสำคัญ คือ ต้องตั้งใจฟัง และถามให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มจาก ตั้งใจฟัง และตามด้วย ถาม การฟังเชิงรุก ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนซึ่งช่วยให้คุณทำทุกอย่างผ่านฉลุย ข้อดี 4 อย่างทึ่ได้เมื่อใช้ เทคนิคการฟังเชิงรุก
บทที่ 2 ทักษะการเตรียมตัว
เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้ ทักษะการเตรียมตัว 14 ทักษะ
- ตั้งเป้าหมาย
- กำหนดเป้าหมายรอง
- คำนึงถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออีกฝ่าย
- วางแผนว่าต้องค้นหาข้อมูลอะไร
- บอกการนัดหมายให้ทุกฝ่ายรับรู้
- พุ่งเป้าไปยังคนใกล้ชิดของอีกฝ่าย
- ค้าหาแต่ข้อมูลที่จำเป็นต่อเป้าหมาย
- ค้นหาข้อมูลเชิงลึก
- หาจุดแข็งจากจุดร่วมและจุดต่าง
- ตั้ง คำถามที่มีคุณภาพ
- คาดเดาความคิดของอีกฝ่าย
- นำคลิกของตัวเองมาใช้ตั้งคำถาม
- นำคำถามมาสรุปเป็นบทสนทนา
- คิดคำถามตอนตี 5
บทที่ 3 การ “ตั้งใจฟัง” และ “ถาม”
15 ทักษะตั้งใจฟัง
- ต้อนรับด้วยบรรยากาศที่ทำให้พูดคุยได้อย่างสบายใจที่สุด
- เมื่อต้องไปพบอีกฝ่าย จงทำให้เขาเห็นว่าคุณให้เกียรติ
- จิตนาการภาพตัวเองกับอีกฝ่ายพูดคุยกกันสนุกสนาน
- เมื่อพบกันครั้งแรกให้ทักทายด้วยการแสดงความดีใจมากกว่าปกติ
- พูดเกริ่นนำให้อีกฝ่ายรู้สึกผ่อนคลาย หรือ ตื่นเต้นที่จะได้พูดคุยกัน
- จำชื่อให้ได้ภายใน 10 วินาที แล้วเรียกชื่อเขาบ่อยๆ
- มองหาจุดที่เหมือนกัน
- ควบคุมความรู้สึกไม่ชอบเอาไว้ให้ได้
- ถ้ากระตือรือร้น และแน่วแน่ ก็จะแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในตัวเอง
- เผชิญหน้าด้วย ความจริงใจ
- มีปฏิกิริยาตอบกลับตอนที่อีกฝ่ายพูดถึงประเด็นสำคัญ
- สบตาพอประมาณ
- แสดงความรู้สีกให้อีกฝ่ายรับรู้ แม้ว่าจะนั่งฟังอยู่ท่ามกลางคนจำนวนมาก
- ใช้ประโยคและท่าทาง ที่ทำให้เกิดความรู้สึกร่วม
- พูดปิดการสนทนาได้อย่างน่าประทับใจ ให้หาจังหวะและปรับประโยค ให้หาจังหวะ และปรับประโยคคำถามให้เหมาะสม
15 ทักษะการถาม
- ใช้คำถามที่ดูไม่เป็นคำถาม
- ถ้ายังไม่คุ้นชินกับอีกฝ่ายให้ถามว่า และยังไงต่อ ซ้ำๆ
- วิธีถามกลับ เพื่อควบคุมทิศทางของการสนทนาอย่างเป็นธรรมชาติ
- วิธีเปลี่ยนเรื่องพูด เพื่อเปลี่ยนจังหวะของการสนทนาหรือเปลี่ยนหัวข้อ
- ตั้งคำถามและคอยสังเกตปฏิกิริยาที่เปลี่ยนไปเล็กน้อยของอีกฝ่าย
- เวลาจะถามคำถามยากๆให้เรียบเรียงประโยคใหม่ หรือเตรียมตัวเลือกไว้ 2 อย่าง
- เวลาจะถามคำถามที่อีกฝ่ายไม่อยากตอบ ให้ถามจากมุมมองที่ต่างออกไป
- ถามเรื่องสมัยเด็กเมื่อการคุยเริ่มกร่อย
- ถ่ายทอดความคิดเห็น หรือความรู้สึกด้วยประโยคคำถาม
- ใช้คำถามที่แสดงถึงความสามารถของตัวเอง เพื่อให้อีกฝ่ายรู้สึกว่า คนนี้เก่งใช้ได้
- ถามโดยสวมบทเป็นตำรวจดีกับตำรวจเลว
- ถามโดยสวมบทบาทที่ตัวเองถนัด
- ชวนคุยเรื่องสัมเพเหระ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันมากขึ้น
- แสดงความไม่เห็นด้วย หรือ ตั้งข้อสงสัยบ้างเป็นช่วงไหน
- เพิ่มประโยคประจำตัวให้มากขึ้น เพื่อใช้ในการถ่ายทอดความคิด ได้อย่างราบรื่น
บทที่ 4 สานสัมพันธ์ด้วยการ “ติตามผล”
4 ทักษะการติดตามผล
- ติดตามผล โดยติดต่อไปหาอีกฝ่ายอย่างรวดเร็ว ภายหลังจากสนทนาจบแล้ว
- กล่าวลาสั้น ก่อนแยกจากกัน
- กำหนดการบ้านให้ตัวเอง เพื่อสร้างโอกาสที่จะได้ติดต่อกับอีกฝ่าย
- เขียน จดหมายขอบคุณ จากความรู้สึกด้วยภาษาของตัวเองแล้วส่งไปให้ทันที
- ทำสิ่งเล็กๆน้อยๆที่เป็นประโยชน์ให้กับอีกฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ
- สร้างความสัมพันธ์กับคนรู้จัก ไว้ตามโอกาสต่างๆด้วย ระยะห่างที่พอดี
- เมื่ออีกฝ่ายเชื่อใจคุณมากขึ้น เขาก็จะเริ่มเข้ามาขอคำปรึกษาจากคุณ
- ก้าวไปสู่ชีวิตที่ดียิ่งกว่า
บทที่ 5 วิธีฝึกฝนเทคนิคการฟังเชิงรุก
9 วิธีฝึกฝน เพื่อให้มีเทคนิคการฟังเชิงรุกติดตัว
- นั่งฟังเงียบๆ จนกว่าอีกฝ่ายจะพูดจบ
- มองหาข้อดีของคนที่คุณไม่รู้จักมา 5 ข้อ
- คิดสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ 5 อย่างให้กับคนที่คุณอยากทำงานด้วย
- เขียนเป้าหมายและเรียงลำดับเรื่องที่จะพูดก่อนไปพบกับอีกฝ่าย
- หาวิธีสร้างความสนิทสนมกับคนที่คุณรู้สึกชอบ แล้วลองคิดคำถามดู
- มองในมุมมองที่ต่างคนรอบข้างแล้วยกเหตุผลขึ้นมา 3 ข้อ
- รวบรวมถ้อยคำที่ทำให้อีกฝ่ายจดจำคุณได้
- ระบุประธานและกริยา ให้ประโยคคำถามให้เจน
- ฝึกใช้ 3 ขั้นตอนของเทคนิคการฟังเชิงรุกกับคนใกล้ตัว
รีวิวหนังสือ โดย : ปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3p9AeJu