#รีวิวหนังสือ เขาตั้งราคากันอย่างไรถึงได้กำไรสูงสุด

รีวิวหนังสือ หลักเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการตั้งราคา หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมบางอย่างถึงมีราคาแปลก ๆ สินค้า บริการ แบบเดียวกัน แต่ราคาต่างกัน หนังสือเล่มนี้จะทำให้เข้าใจในการตั้งราคาสินค้า อธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่มีสูตรต่าง ๆ มากวนใจ

รีวิวหนังสือ

42

รีวิวหนังสือ หมวด : บริหารจัดการธุรกิจ
ผู้แต่ง : ดร. ยิ่งยศ เจียรวุฑฒิ

ราคา : 215 บาท
หน้า : 200 หน้า


บทที่ 1 ทำไมเราจ่ายแพง(หรือถูก) กว่าคนอื่น

41

เวลาซื้อของ หรือ บริการอะไรสักอย่าง “เคยถามตัวเองมั้ยว่าเราจ่ายราคาเดียวกับคนอื่นหรือไม่” หลายครั้ง การเลือกปฎิบัติ ก็ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด การตั้งราคา ก็มีการเลือกปฎิบัติเช่นกันการเลือกปฎิบัติทางราคา หรือ Price Discrimination เกิดขึ้นเมื่อผู้ขายสินค้าหรือบริการสามารถแยกผู้บริโภคหรือลูกค้าออกเป็นหลายกลุ่ม โดยมีการกำหนดราคาที่แตกต่างกันตาม “ความเต็มใจในการจ่าย” หรือ “Willingness to Pay”

ความเต็มใจในการจ่ายประกอบด้วย ความยินดีที่จะจ่าย + ความสามารถในการจ่าย ทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “อุปสงค์” หรือ “Demand” แต่ถ้ายินดีจ่าย แต่ไม่มีเงินหรือไม่มีกำลังซื้อ เรียกว่า “ความต้องการ” หรือ “Want”

ความเต็มใจในการจ่าย (Willingness to Pay)

  • ความยินดีที่จะจ่าย + ความสามารถในการจ่าย = อุปสงค์ (Demand)
  • ความยินดีที่จะจ่าย + ไม่มีความสามารถในการจ่าย = ความต้องการ (Want)

วิธีเลือกปฎิบัติทางราคา

ผู้ซื้อจะ ถูกแยกเป็น “กลุ่ม” ตามความเต็มใจในการจ่าย

  • กลุ่มที่มีความเต็มใจในการจ่ายสูงกว่า ก็ต้องจ่ายแพงกว่า
  • กลุ่มที่มีความเต็มใจในการจ่ายต่ำกว่า ก็จะจ่ายถูกกว่า

การกำหนดราคาให้เป็นไปตาม “ความยืดหยุ่นทางราคา” หรือ “Price Elasticity” กล่าวคือ ผู้บริโภคที่มี ความยืดหยุ่นทางราคาต่ำ คือ ผู้ซื้อที่ไม่อ่อนไหวไปกับราคา

ดังนั้น ผู้ขายก็สามารถตั้งราคาไว้สูงได้ส่วนผู้บริโภคที่มี “ความยืดหนุ่มทางราคาสูง”ซึ่งก็คือคนที่อ่อนไหวกับราคา กลุ่มนี้ต้องขายให้เขาถูกหน่อย

  • ภาษาทางเศรษฐศาสตร์ ความยืดหยุ่นทางราคาต่ำ ความยืดหยุ่นทางราคาสูง
  • ภาษาชาวบ้าน ความเต็มใจในการจ่ายสูง ความเต็มใจในการจ่ายต่ำ

จำไว้เสมอ “ถูก เร็ว ดี” ไม่มีทางเกิดขึ้นได้พร้อมกัน

  • อยากได้เร็วแต่จ่ายน้อย ก็ไม่มีทางได้ของดี
  • อยากได้เร็วก็ต้องจ่ายแพงกว่า
  • อยากได้ถูกก็ต้องรอ หรือวางแผนล่วงหน้า

บทที่ 2 ทำไมต้องคิดราคาแตกต่างกัน

40

ทำไมผู้ขายจึงตั้งราคาแตกต่างกันเหตุผลสำคัญของการเลือกปฎิบัติทางราคาก็คือการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือบริการมากกว่าการกำหนดเพียงราคาเดียว

การเลือกปฎิบัติทางราคาทำให้ผู้ขายได้รายได้มากขึ้นอย่างไร

สมมุติว่า มีผู้ขายสินค้าชนิดหนึ่ง ไม่มีต้นทุนในการผลิตและจำหน่าย

  • ต้นทุน 0 บาท ณ เวลาหนึ่ง มีคนต้องการสินค้า 2 คน
  • คนที่ 1 มีความเต็มใจในการจ่าย 200 บาท
  • คนที่ 2 มีความเต็มใจในการจ่าย 100 บาท

ผู้ขายมีสองทางเลือก คือ

  1. ไม่เลือกปฎิบัติ และคิดราคาเดียวกันทั้งสองคน
  2. เลือกปฎิบัติ และคิดราคาแตกต่างกัน

ราคาเดียว – ไม่เลือกปฏิบัติทางราคา

  • ขายราคา 200 บาท ขายได้ 1 ชิ้น รวมรายได้ 200 บาท
  • ขายราคา 100 บาท ขายได้ 2 ชิ้น รวมรายได้ 200 บาท

ราคาต่างกัน – เลือกปฎิบัติทางราคา

  • ขายราคา 200 บาท สำหรับผู้ซื้อคนที่ 1 : ขายได้ 1 ชิ้น 200 บาท
  • ขายราคา 100 บาท สำหรับผู้ที่ซื้อคนที่ 2 : ขายได้ 1 ชิ้น 100 บาท

รวมรายได้ 300 บาท

สำหรับทางที่ 1 คือ ไม่เลือกปฎิบัติ

ผู้ขายยังต้องคิดว่า จะคิดราคาเท่าไหร่ดี

  • ขายราคา 200 บาท คนที่ 1 จะซื้อ แต่คนที่ 2 จะไม่ซื้อ
  • ขายราคา 100 บาท ถึงขายได้ 2 ชิ้น แต่ก็เสียโอกาสขายในราคาสูงให้คนที่ 1

สำหรับทางที่ 2 คือ เลือกปฎิบัติ

  • ขายราคา 200 บาท ให้คนที่ 1
  • ขายราคา 100 บาท ให้คนที่ 2

การเลือกปฎิบัติทางราคาจะเกิดขึ้นได้เมื่อ

  1. ผู้ขายต้องมีอำนาจเหนือตลาดบางอย่าง
  2. ผู้ซื้อต้องไม่มีการขายต่อ
  3. ขายต้องสามารถแยกลูกค้าออกเป็นกลุ่มที่มีความเต็มใจในการจ่ายสูง และกลุ่มที่มีความเต็มใจในการจ่ายต่ำได้

รีวิวหนังสือ โดย คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ondVjF

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต