#รีวิวหนังสือ หลังบ้าน YouTuber

สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ หลังบ้าน YouTuber เล่มนี้ หนังสือเล่มแรกของ “กานต์” และ “ซารต์” 2 ยูทูบเบอร์ จากช่อง Bearhug (แบร์ฮัก) ที่มีผู้ติดตามกว่า 3 ล้านคน พวกเขามาพร้อมวิธีการเป็นยูทูบเบอร์ วิธีทำคลิปวิดีโอ วิธีทำเงินจากยูทูบ ถ้อยคำสร้างแรงบันดาลใจ รวมทั้งเรื่องราวดี ๆ

และภาพน่ารัก ๆ อัดแน่นทั้งเล่ม กว่าจะมาเป็น “แบร์ฮัก” ในวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย อะไรคือความลับที่ทำให้คนธรรมดา และช่องยูทูบที่ดูเหมือนธรรมดาแต่ไม่ธรรมดานี้ประสบความสำเร็จ

รีวิวหนังสือ หลังบ้าน

รีวิวหนังสือ เล่มนี้จะชวนมาดูเบื้องหลังวิธีคิด วิธีการทำงาน และวิธีการทำเงินของแบร์ฮัก รวมทั้งมุมมองความคิดดี ๆ ที่นำไปปรับใช้กับงานได้ แม้คุณจะไม่ใช่ยูทูบเบอร์!

26 25

นามปากกาผู้เขียน : Bearhug


1.”ซารต์” นักบัญชีสายเนิร์ด สู่ยูทูบเบอร์สายกิน

24

ซารต์ คอนเทนต์ออนไลน์ที่ดีต้องจริงใจกับคนดูเพราะเชื่อว่าคนดูต้องสัมผัสได้แน่ๆ

  • ตอนเด็กๆฝันอยากเป็นดารา
  • ตอนเด็กเป็นเด็กเนิร์ดตั้งใจเรียน
  • เวลาว่างอ่านหนังสือ และเรียนพิเศษ
  • พอจบม.6 เลือกเข้าคณะบัญชีและบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ได้เกียรตินิยมอันดับ 1
  • รู้สึกเครียดกับเอกสารและความรับผิดชอบในการเป็น ออดิทฝึกหัด
  • เปิดเพจขายเสื้อผ้ามือสอง แต่ขายไม่ออก
  • โดนต่อราคาขาดทุน พอขายหมดก็ปิดเพจไปเลย
  • ขยันหาเงินและประหยัดสุดๆ
  • หลังเรียนจบมีเงินเก็บถึง 50,000 บาท
  • กลับไปเป็นออดิท(พนักงานบัญชี)อีกรอบ
  • กานต์ชวนไปทำ ยูทูบเบอร์ แต่ปฏิเสธไป
  • ลาออกจากงานบัญชี ไปสมัครเป็น ผู้ช่วยโบรกเกอร์
  • ลาออกจากผู้ช่วยโบรกเกอร์ ไปทำยูทูปกับกานต์
  • ทำอาชีพเซลล์ขายประกันและเครื่องกรองน้ำ คู่กับเป็นผู้จัดการให้กานต์
  • กานต์อาสาทำช่องให้ นั้นคือช่อง Sunbeary
  • จากรีวิวของเล่นเปลี่ยนมาเป็นกินและเที่ยว

2.”กานต์” รู้ตัวอีกที เราก็เป็นยูทูบเบอร์ซะแล้ว

23

  • กานต์ โชคดีที่ผมในตอนนั้นไม่คิดอะไรเพราะถ้าคิด น่าจะไม่ได้ลองทำแน่ๆเลย
  • ทำไมถึงมาเป็นยูทูปเบอร์ ไม่รู้
  • เริ่มทำเพราะความ อยาก
  • รูมเมทชวนดูคลิปฝรั่งคนหนึ่ง เพื่อความบันเทิงและฝึกภาษา
  • ได้รู้จักว่านี่คือ ยูทูปเบอร์
  • ติดยูทูปเบอร์ 2 คน คือ Nigahiga และ Pewdipie
  • เริ่มฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่อง เริ่มหลงใหลในอาชีพนี้
  • เริ่มหาอุปกรณ์เพื่อใช้ถ่ายทำและตัดต่อ
  • ศึกษา ถ่ายทำ เริ่มตัดต่อ
  • เริ่มมีผู้ติดตามหลัก 1000 รายได้ 15,000/เดือน
  • ปี 2014 ยูทูปประเทศไทยเปิดทำการ เรตรายได้ถูกปรับ
  • รายได้เหลือ 600/เดือน
  • 4 เดือนให้หลัง ลองผิดลองถูกจนไม่ต้องขอเงินจากทางบ้านอีกเลย

3.กว่าจะเป็น “แบร์ฮัก”

22

  • ออกจากเซฟโซนที่ไม่สบายใจ มันคือโอกาสพาชีวิตไปเจอสิ่งใหม่
  • ช่อง Sunbeary มีผู้ติดตามถึง 2 ล้านคน
  • กานต์ดูแลเรื่องคอนเทนต์(ครีเอทีฟ) ของทั้ง 2 ช่อง
  • ซารต์กลายเป็นที่รู้จักของเอเจนซี่ใหญ่
  • Sunbeary ถือเป็น Top 5 Influencer ด้านการกิน
  • มีลูกค้าเข้ามา 4-5 ราย/เดือน
  • กานต์เข้าสู่ภาวะ Burn Out เพราะงานเยอะไป
  • Burn Out ภาวะที่คนเราทำงานเครียดจัดมากๆเป็นเวลานาน
  • ซารต์แฮปปี้จากการที่มีงานเข้ามารัวๆ
  • กานต์และซารต์ตัดสินใจรวมช่องกัน เป็น แบร์ฮัก Bearhug ในปี 2018
  • จากที่เคยขายงานได้ 100% กลับขายได้แค่ 10-20%
  • ทั้งคู่เรียนรู้ที่จะทำงานรวมกัน และพัฒนาตัวเอง
  • จนมีผู้ติดตามและรายได้มากกว่า สองช่องเก่ารวมกันอีกด้วย

4.How to be a YouTuber (ที่มีคนติดตามเป็นล้าน)

21

  • แบร์ฮักมีการเขียน Business Model มีการวางแผน วางตำแหน่งแชแนลของเราอย่างดี ไม่ต่างกับการบริหารหนึ่งธุรกิจเลย
  • ถ้าจะเริ่มทำอย่าเพิ่งจริงจังกับคำว่า ผู้ติดตามหลักล้าน
  • ความรักvsความหลงใหล ถ้าอยากทำอาชีพนี้จริงๆอย่าเอาแค่สิ่งที่รักมาทำ
  • ต้องรักการทำวิดีโอด้วย อัดวิดีโอ วางสตอรี่ ตัดต่อ เอนเตอร์คนดู ขายของ ฯลฯ
  • ต้องมีความหลงใหลในสิ่งที่ทำด้วย
  • ความเป็นตัวเอง ความไม่เป็นตัวเอง
  • ความเป็นตัวเองที่เกินพอดีแต่ไม่ได้รับผิดชอบสังคม ได้ยอดวิวและเงินเยอะจริง
  • แต่สุดท้ายคุณจะรู้สึกว่ามันไม่ถูกต้อง แถมยังได้ฟีดแบ็กเชิงลบกลับมาด้วย
  • แต่กลับกันถ้าแสดงความเป็นตัวเองแค่ 50% เพื่อให้คนดูรู้จักในตัวตน และเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม จะทำให้เป็นที่รักของคนหมู่มาก และรู้จักกาลเทศะ

ปัจจัยหลัก คือ การเลือกแสดงอารมณ์ให้คนดูเห็น เลือกด้านที่เป็นประโยชน์ต่อคนดู โดยคงความเป็นธรรมชาติของเราไว้ วางกลยุทธ์ให้เหมือนธุรกิจ นั้นคือ Business Model คือชุดคำถามเกี่ยวกับการวางแผนธุรกิจที่เราต้องตอบให้ได้ เมื่อแรกเริ่มทำกิจการ ทั้ง 9 หัวข้อ

  1. Parther ( Partner) หรือพาร์เนอร์ทางธุรกิจ
  2. Activities หรือ กิจกรรม หรือการดำเนินงานที่เราต้องทำ
  3. Resources หรือทรัพยากรที่เราต้องมี
  4. Costs หรือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้
  5. Value หรือ คุณค่าที่ลูกค้าจะได้จากสินค้าของเรา
  6. Relations หรือ ความสัมพันธ์ที่เราจะมีกับลูกค้า
  7. Channels หรือ เส้นทาง วิธีนำคุณค่าของสินค้าเราส่งต่อไปถึงลูกค้า
  8. Customers หรือ กลุ่มลูกค้าของเรา
  9. Revenues หรือ รายได้ที่เราจะได้จากธุรกิจนี้

เริ่มต้นให้ลองตอบแค่ 4 ข้อก่อน

  1. คุณค่า Value เราให้คุณค่าอะไรกับคนดู อะไรที่ทำให้ต้องดูช่องเรา
  2. ทรัพยากร Resources เรามีทรัพยากรอะไรที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร
  3. คนดูของเราคือใคร Customer ทำออกมาให้ใครดู
  4. รายได้ Revenue ยอดวิว สปอนเซอร์ การขายสินค้า ขายบริการ

คนดูคือหัวใจ คนที่ตัดสินใจติดตามเรา คือคนที่ผู้สร้างอย่างเราควรแคร์ที่สุด


5.ก้าวแรกบนเส้นทางของ “ยูทูบเบอร์”

20

  • สิ่งที่หลายคนก้าวข้ามได้ยากมากๆ คือการทำความรู้จักกับยูทูบ
  • ต้องทำความรู้จักกับ ยูทูบ และโซเชียลอื่นๆ
  • นักทำวิดีโอ

แบบที่ 1 ไม่อยากตัดเอง มีงานอื่น ไม่มีเวลาตัด (จ้างทีมตัดต่อ)

  • ข้อดี : ประหยัดเวลา รวดเร็ว ผลงานระดับมืออาชีพ ผลิตผลงานได้เนอะ ไม่ต้องลงทุนกล้อง
  • ข้อเสีย : ต้องมีเงินทุนจ้างงาน หาคนที่เข้าใจสไตล์ตัวเองยาก ควบคุมยาก

แบบที่ 2 มีความรู้เรื่องการโปรดัคชั่นส์ หรือเรียนรู้โปรแกรมด้วยตัวเอง (ตัดต่อด้วยตัวเอง)

  • ข้อดี : ลงทุนน้อย ได้ความรู้ติดตัว สไตล์ถูกใจตัวเองแน่นอน ถ่ายทำสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องขึ้นกับคนอื่น ติสต์แตกได้เต็มที่
  • ข้อเสีย : ใช้เวลาศึกษา เก็บรอบบินนาน อาจต้องลงทุนซื้อคอม กล้อง ไมค์เพิ่ม ต้องใช้ความเพียร ความอดทน

6.กว่าจะออกมาเป็น 1 คลิป (แบบเจาะลึก)

19

การทำคลิปที่ตอบ why ได้

  • จะทำให้สปอนเซอร์เข้าเยอะมากๆ
  • ทำไมต้องเป็นร้านนี้ ทำไมต้องเป็นผลิตภัณฑ์นี้

เทคนิคตัดต่อแบบแบร์ฮัก

  • เบื้องหลังการทำงานแบร์ฮักจะให้ความสำคัญกับการตัดต่อเยอะมาก
  • เติมนู้นตัดนี่คลอดเวลากว่าจะได้ดราฟค์ที่สมบูรณ์ที่สุด

ตัดต่อในยูทูปต่างจากทีวีตรงที่ ไม่ต้องเป๊ะ

  • ชื่อและปกคลิป ควรใช้ชื่อที่อ่านง่ายแล้วรู้ได้ว่าเข้ามาดูแล้วจะเจออะไร

ไอเดียของแบร์ฮักมาจากไหน

  1. เกิดจากความฟุ้งซ่านของซารต์
  2. โอกาสที่เข้ามา

7.สิ่งที่แบร์ฮักทำ และจะไม่ทำเด็ดขาด!

18

ทั้งกานต์และซารต์ต่างคุยกันว่ามีอะไรที่ไม่ชอบ และอะไรที่ชอบ เพื่อตีกรอบการทำคอนเทนต์ให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น และที่สำคัญคือ จะไม่โกหก


8.สารพัดปัญหาบนเส้นทางที่เรียกว่า “ยูทูบเบอร์”

17

  1. นักเลงคีย์บอร์ดไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือตัวเราต่างหากที่ตอบโต้พวกเขา
    • จัดการง่ายๆคือ มองข้ามไป หรือ บล็อค
  2. ต้นทุนเรื่องหน้าตา
    • หากไม่มั่นใจ ก็ถ่ายวิวมากกว่าคน ใช้เลนส์วาย อย่าจัดไฟ เน้นตัดต่อ
  3. ว่าด้วยเรื่องความรู้
    • อยากรู้อะไรก็เสิร์ซ กูเกิล
  4. การพัฒนาตัวเอง
    • ไม่ว่าจะเจอเรื่ออะไรก็ ลองผิดลองถูก เรียนรู้เรื่อยมา

9.วิธีทำเงินจากยูทูบเบอร์

16

ทำไมยูทูบเบอร์ถึงไม่ทำคลิปบอกรายได้ตัวเอง

  • เพราะ มันไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย
  • แถมยังทำให้โดนเปรียบเทียบและถูกตัดสินคุณค่าจากรายได้

รายได้ของแบร์ฮัก

  • มีพอเก็บ เพื่อต่อยอดทำธุรกิจร้านของหวาน
  • ต้นทุนการเป็นยูทูปเบอร์นั่นน้อย แต่กำไรเยอะกว่าหลายๆกิจการ

เคล็ดลับเป็นยูทูบเบอร์ที่ได้ยอดวิวเยอะ 

  1. คอนเทนต์ที่เกี่ยวกับความรัก
  2. คอนเทนต์เกี่ยวกับความรวย
  3. คอนเทนต์เกี่ยวกับความบันเทิง
  4. คอนเทนต์เกี่ยวกับเด็ก

วิธีเป็นยูทูบเบอร์ที่สปอนเซอร์พร้อมเปย์

  • นั้นคือการ ตอบโจทย์ได้มากกว่า ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่า
  • ยูทูปเบอร์ที่หารายได้จากการขายสินค้า ส่วนมากจะเป็นคนที่เชี่ยวชาญในบางอย่าง และขายสินค้าเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญ

10.ในวันที่ชีวิตมีขึ้นมีลง รับมือยังไง จะไปต่อยังไง

15

เตรียมตัวรับมือ

  • ยอดวิวน้อย : ไม่มีคนดู ไม่มีรายได้ การสร้างฐานแฟนคลับที่เหนียวแน่นและกว่าจะได้รับเงินจากกูเกิลใช้เวลามากกว่า 3 เดือน ควรมีแผนสำรองไว้
  • ดราม่า : รับมือกับดราม่าโดยการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น
  • หมดไอเดีย : พกสมุดจดติดตัวเสมอ เพราะไอเดียสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
  • หลงทาง : ให้นึกถึงเสมอว่า ทำวิดีโอเพื่ออะไร ทำไปทำไม
  • ทีมงานไม่ได้ดั่งใจ : วิธีแก้คือ หันหน้าคุยกัน หรือไม่ก็จบกัน

11.จากใจแบร์ฮักถึงแฟนคลับ

14

ขอบคุณทุกคนจริงๆ ที่อยู่เคียงข้างกันเรื่อยมา

พิเศษ

  • Bearhouse ร้านชานม ซารต์ อยากเปิดแฟรนไชส์ ชานมไข่มุกของไต้หวัน
  • ตื้อจนทางเจ้าของแฟรนไชส์ยอมขาย มาสเตอร์แฟรนไชส์ให้
  • Master Franchise คือ การให้สัญญาว่า จะเป็นรายเดียวในไทย
  • ที่ได้สิทธิ์เปิดร้านชานมชื่อนี้ รวมถึงได้สูตรทั้งหมดของไต้หวัน
  • แต่เงื่อนไขที่กำกวมและต่อรองไม่ได้จึงได้ล้มเลิก
  • และไปตามหาสูตรชานมไข่มุกถึงที่เชียงใหม่

 

รีวิวหนังสือ โดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2FNdNZb

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต