#รีวิวหนังสือ หลักคิดที่คนญี่ปุ่นพกไปทำงานทุกวัน
รีวิวหนังสือ หลักคิดที่คนญี่ปุ่นพกไปทำงานทุกวัน คนญี่ปุ่นทั้งมุ่งมั่น จริงจัง และพัฒนาตัวเองอย่เสมอด้วยหลักคิดที่เรียบง่าย “ทำสิ่งธรรมดาให้ดีที่สุด” หลักคิดนี้ถูกส่งต่อมาเรื่อย ๆ และได่หลายเป็นรากฐานของ “ความสำเร็จ” ปรับใช้กับชีวิต และการทำงาน คุณจะพบว่าตัวเองสามารถทำงานได้ดี มีความสุขมากขึ้น และประสบความสำเร็จ
รีวิวหนังสือ หลักคิดที่คนญี่ปุ่นพกไปทำงานทุกวัน ยิ่งตั้งใจทำอะไร ก็จะยิ่งรู้ว่าเรายังตั้งใจไม่มากพอ ไม่ว่าทำอะไร ต้องทุ่มสุดตัว
คาถา A.B.C
- Atarimae : อะตะริมะเอะ : เรื่องธรรมดา
- Baka ni nara : บะกะนินะรุ : ทุ่มสุดตัว
- Chanto suru : ชันโตะสุรุ : ทำให้ดีที่สุด
การทุ่มสุดตัวทำเรื่องธรรมดาให้ดีที่สุด ต้องทุ่มสุดตัวทำเรื่องธรรมดาให้ดีที่สุด มองไปข้างหน้าเสมอ ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นก็ตาม การมีชีวิตคิดที่ถูกต้อง การหมั่นศึกษาหาความรู้ เพิ่มทักษะ
เขียน : โคมิยะ คาสุโยชิ
ผู้แปล : วีรวรรณ จารุโรจน์จินดา
ราคา : 195
หน้า : 192 หน้า
สำนักพิมพ์ : WeLearn
บทที่ 1 ชีวิตมนุษย์เปรียบเหมือนท่อ
เราเลือกได้ว่าจะอยู่ส่วนไหนของท่อ คนที่ประสบความสำเร็จล้วนมีวิธีคิดที่เหมือนกัน นั้นคือ ทุ่มสุดตัวทำเรื่องธรรมดาให้ดีที่สุด
ชีวิตเปรียบเหมือนท่อ ที่ออกไปไม่ได้ แต่เลือกได้ว่าจะเดินไปอยู่จุดไหนของท่อ
- มีความสุข (คนรอบข้างคอยช่วยเหลือ)
- ไม่มีความสุข
คนที่คิดบวก จะอยู่ด้านบนสุดของท่อ
คนที่คิดลบ จะอยู่ด้านล่างสุดของท่อ
คิดว่าปัญหาตรงหน้าเป็นฟ้าลิขิต ไม่ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ทุกอย่างขึ้นอยู่กับว่าเราคิดยังไง มีจิตสำนึกต่อประโยชน์ส่วนรวม การคิดแบบก้าวหน้าช่วยให้ร่ำรวยได้ แต่ช่วยให้มีความสุขไม่ได้
ปัจจัยสำคัญของการประสบความสำเร็จคือ การคิดแบบก้าวหน้า แต่ถ้าอยากไปให้ถึงจุดสูงสุดของชีวิต นั้นคือการทำให้คนรอบข้างมีความสุข
แนวคิดเรื่อง ชีวิตเปรียบเหมือนขนมดังโงะ ของพระอาจารย์ฟูจิโมโตะ การมีจิตสำนึกต่อประโยชน์ส่วนรวม จึงไม่ใช่การเสียสละตัวเองเพื่อให้คนอื่นมีความสุข แต่เป็นการทำให้คนอื่นมีความสุขเพื่อที่ตัวเองจะได้มีความสุข
ชีวิตเปรียบเหมือนขนมดังโงะ 4 ลูก ที่เสียบอยู่บนไม้อย่างสมดุล
- ลูกที่ 1 ตัวเอง
- ลูกที่ 2 ครอบครัว และเพื่อนฝูง
- ลูกที่ 3 บริษัท หรือ งาน
- ลูกที่ 4 สังคมหรือประเทศชาติ
ชีวิตที่มีความสุข คือ ชีวิตที่สมดุล ให้ความสำคัญกับสิ่งอื่น เท่าๆกัน อุดมคติทำให้มนุษย์มีพลัง เมื่อมีฝั่งอุดมคติ ก็จะมีฝั่งความเป็นจริง โดยมีช่องว่างขนาดใหญ่แยกสองฝั่งนี้ออกจากกัน มีน้อยคนที่จะข้ามไปถึงฝั่งอุดมคติได้
สิ่งสำคัญจึงเป็นการ คิด ว่ามันเป็นเรื่องที่ทำได้ และพยายามทำความเป็นจริงให้เข้าใกล้อุดมคติมากที่สุด อย่าคิดว่า มีได้ก็ต้องมีเสีย โลกที่มีได้ย่อมมีเสีย คือโลกของสัตว์ป่า และการพนัน รวมถึงคนที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของตัวเอง โลกที่สร้างสรรค์ คือ โลกของมนุษย์ โลกที่ทุกคนร่วมมือกันเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์
Aufhebn เอาฟ์เฮเบน ของเฮเกิล นักปรัชญาชาวเยอรมัน นำมาใช้อธิบายสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อ บทเสนอ(Thesis) บทแย้ง(Antithesis) มามีปฏิสัมพันธ์กัน บทสรุปใหม่ที่ดีกว่าเดิมเกิดจากการผสมผสานข้อดีของบทเสนอ และบทแย้ง
โลกนี้ไม่ใช้โลกของปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่เป็นโลกที่ ผู้อยู่รอดคือผู้ที่เหมาะสมที่สุด ความปรารถนาเป็นเหมือนเครื่องยนต์ หากไม่มีความปรารถนาเลยก็ไปไหนไม่ได้
แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีพวกมาลัยและเบรก สิ่งนั้นคือ ความมีเหตุผล ที่ต้องมีประสิทธิภาพ ต้องใช้เหตุผล มาควบคุมปรารถนา และใช้ปรารถนานั้นให้เป็นประโยชน์
ทัศนคติและมุมมองเป็นตัวกำหนดสถานะทางสังคมของมนุษย์ จิตใจที่ซื่อตรง และ ทัศนคติที่ถูกต้อง จะช่วยให้ประสบความสำเร็จได้
บทที่ 2 คาถา ABC คือสิ่งที่ต้องมีในการทำงาน
คาถา A.B.C
- Atarimae : อะตะริมะเอะ : เรื่องธรรมดา
- Baka ni nara : บะกะนินะรุ : ทุ่มสุดตัว
- Chanto suru : ชันโตะสุรุ : ทำให้ดีที่สุด
การทุ่มสุดตัวทำเรื่องธรรมดาใหห้ดีที่สุด ต้องทุ่มสุดตัวทำเรื่องธรรมดาให้ดีที่สุด อย่าเสียดายเวลาในการพัฒนาตัวเอง อย่าเสียโอกาส เพียงเพราะคิดว่าเสียเวลาเข้าถึงแก่นของงานที่ทำให้ได้
- เวลา 3 ชั่วโมงทำให้คนเรียนรู้และเข้าใจหลักพื้นฐานได้
- เวลา 30 ชั่วโมงจะทำให้เข้าใจหลักการจนมีมุมมองของตัวเอง ยิ่งเป็นงานที่ไม่ได้เลือกเองยิ่งต้องทำให้ดีที่สุด
ถ้าไม่เช็ดโต๊ะและจะสะอาดได้อย่างไร ถ้าไม่ลงมือทำก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ต้องลองลงมือทำถึงจะเกิดผลลัพธ์ มนุษย์ขับเคลื่อนด้วยความรู้สึกไม่ใช่เหตุผล ถ้าอยากให้คนอื่นทำอะไรให้ ต้องทำให้เขามีความรู้สึกร่วม
มนุษย์ 95% ที่ฟังสัมมนาเรื่องเดิมๆนั้น ไม่ได้ต้องการเหตุผลแต่ต้องการความรู้สึกประทับใจ คนที่มองเห็นข้อดีของคนอื่นจะประสบความสำเร็จ มากกว่าคนที่มองเห็นแต่ข้อเสียของคนอื่น ควรชื่นชมเรื่องที่ควรชื่นชม ควรฝึกฝนเรื่องที่ถนัด จนเป็นมืออาชีพ นำความสามารถนั้นไปสร้างรายได้
- งานที่ทำแลิ้วอิ่มท้อง : งานที่ทำเพื่อเลี้ยงชีวิต
- งานที่ทำแล้วอิ่มใจ : งานที่ทำเพราะชอบ
เปลี่ยนวิธีคิดจะเป็นตัวกำหนดชีวิต รู้สึกอิ่มเอมใจที่ได้ทำงานนี้บ่อยครั้งแค่ไหนนี่คือตัวตัดสิน ว่าเรากำลังทำงานเพื่ออิ่มใจอยู่หรือไม่ ถ้าตอนนี้เริ่มทำกิจการใหม่ได้ จะยังทำกิจการเดิมต่อหรือไม่ ถ้าคำตอบคือไม่ ก็ควรเลิกทำซะ มนุษย์ทุกคนสามารถ เปล่งแสง หรือแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ ขึ้นอยู่กับว่าจะทำหรือไม่
บทที่ 3 การทุ่มสุดตัวทำกันอย่างไร
ไม่มีใครเดินเล่นแล้วแวะปีนภูเขาไฟฟูจิได้ เพราะการปีนภูเขาไฟฟูจิจำเป็นต้องเตรียมอุปกรณ์ และร่างกายให้พร้อม ถ้าไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะไปที่ไหน สุดท้ายเราก็จะได้เดินเล่นไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิตโดยไปไม่ถึงไหนเลยสักที่
- มองรายละเอียดให้เหมือนกล้องจุลทรรศน์
- มองภาพรวมให้เหมือนกล้องส่องทางไกล
ใช้ชีวิตโดยตระหนักถึงความตายอยู่เสมอ การตายคือการมีชีวิต การตระหนักถึงความตาย จึงเป็นการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ ช่วยให้เรา รู้จักใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย ทำเต็มที่หลับสนิท อยู่เต็มที่ตายสงบ คนที่เรารักไม่ใช่คนที่รักเรานะครับ
เราจะอยู่ในใจของคนที่ตัวเองรักตลอดไป คำสอนจากนักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี ในนิกายโรมันคาทอลิก บทภาวนาเพื่อสันติภาพ ข้าแต่พระบิดา โปรดให้ข้าพเจ้ารักผู้อื่นมากกว่าที่จะให้ผู้อื่นรักข้าพระเจ้า การทุ่มสุดตัวทำให้ดีที่สุดถือเป็นความภาคภูมิใจของมืออาชีพ
ถ้าอยากให้รางวัลตัวเองก็ควรสร้างผลงานให้ได้ ไม่เช่นนั้นรางวัลราคาแพงจะดูไม่เหมาะสมกับเจ้าของ
- ของราคาแพง มีผลงาน ให้รางวัลตัวเอง เป็นสิ่งที่ดี
- ของราคาแพง ไม่มีผลงาน ปลอบใจตัวเอง เป็นสิ่งที่แย่
- ของราคาถูก มีผลงาน ตระหนี่ถี่เหนียว
- ของราคาถูก ไม่มีผลงาน เหมาะสมฐานะ
เรียนรู้เพิ่มเติมนอกเวลางาน ให้ความสำคัญทั้งทฤษฎีและการปฎิบัติ
อัญมณีเปรียบเหมือนทฤษฎี การเจียะไนเปรียบได้กับการปฎิบัติ ต่อให้เป็นอัญมณีที่สมบูรณ์แบบ ถ้าไม่ผ่านการเจียระไน ก็ไม่ต่างจากก้อนหินธรรมดา และต่อให้เจียระไนได้ยอดเยี่ยมแค่ไหน ถ้าตัวอัญมณีเต็มไปด้วยตำหนิก็จะออกมาไม่สวยงามอยู่ดี
การสั่งสมความรู้ด้านทฤษฎีจึงเหมือนกับการเพิ่มคุณภาพให้กับเนื้ออัญมณี ในขณะที่การสั่งสมประสบการณ์ด้วยการปฎิบัติเหมือนกับการเจียระไน เราต้องทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไป
ตามองดาว เท้าติดดิน
- ดาว คือ สิ่งที่เราอยากเป็นเป้าหมายหรือความฝัน
- ดิน คือ การเดินไปตามทศทางที่มุ่งสู่ดาวหรือเป้าหมายอย่างไม่ย่อท้อ
หากไม่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ความรู้ก็ไม่มีคุณค่าอะไร การทำบางสิ่งบางอย่างต่อเนื่องและเฝ้าสังเกตที่จุดเดิมจะทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลง ได้อย่างรวดเร็ว ทบทวนตัวเอง เมื่อต้องตัดสินใจเรื่องเล็กๆ ยิ่งต้องรอบคอบ เพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำ
บทที่ 4 วิธีกำหนดโชคชะตา
ความบังเอิญถือเป็นโชคชะตาอย่างหนึ่ง และเมื่อชีวิตมาถึงจุดเปลี่ยน ผู้พลิกชะตาของเรามักปรากฏตัวขึ้น
ถ้าเตรียมใจไว้ว่าจะตาย ไม่ว่าอะไรก็ทำได้ เมื่อรู้สึกถูกบีบบังคับมากขึ้นเรื่อยๆ มีทางแก้ 2 วิธี
- เผชิญหน้าและจัดการต้นตอปัญหา
- เอาตัวเองออกจากปัญหา
โชคหรือโอกาสอย่างเดียวไม่ทำให้มีเงินใช้ตลอดไป จริงอยู่ว่าโชคหรือโอกาสเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเตรียมพร้อมรับโอกาสที่จะเข้ามา ต้องมั่นใจและรับฟังคนอื่น
เราควรอยู่ใกล้ๆคนที่ประสบความสำเร็จเพื่อเรียนรู้จากเขา ผู้นำที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักจะเป็นคนที่เห็นคุณค่าของเวลามนุษย์ทุกคนต้องพบความล้มเหลว แต่ต้องไม่ล้มเหลวเรื่องเดิมๆ คนที่เก่งคืนคนที่หาวิธีช่วยให้ตัวเองไม่ต้องเจอความลำบาก
รีวิวหนังสือ โดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3eaur28